1,243 รวมเข้าชม
พระพรหมบัณฑิต บรรยาย”การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน”พระพรหมบัณฑิต บรรยาย”การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน”
1,260 รวมเข้าชม
พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. อธิการบดี มจรบรรยาย..”การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน” จัดโดยสาขาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มจร ในวันอังคารที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐- ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเธียเตอร์โซน D อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
ท่านกล่าวว่า….คนที่ฉลาดจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนเอง แต่คนฉลาดกว่าจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของคนอื่น เราเรียนระดับมหาบัณฑิตต้องพิจารณาให้ดี ไม่ใช้อารมณ์ “รู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข” เหมือนรู้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ มีระบบป้องกัน รู้เท่า ตรวจสอบ ป้องกัน รู้ทันเพื่อแก้ไข ตั้งสติ รู้เท่ารู้ล่วงหน้า เช่น คนขับรถที่ชำนาญงานเวลาขึ้นภูเขา รู้ทัน เช่น สุนัขวิ่งตัดหน้า จะแก้ปัญหาเฉพาะอย่างไร คือ ต้องมีสติรู้ทันปัจจุบัน เกิดอะไรขึ้นในปัจจุบัน ต้องมีสติในการแก้ปัญหา เราจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือแย่ลง เมื่อเกิดสถานการณ์ ต้องดูตาม้าตาเรือ
ท่านจะทราบว่าใครมิตรใครคือศัตรู เกิดความขัดแย้งพยายามหามิตรหาแนวร่วมเยอะๆ สถานการณ์ปัจจุบัน คนพยายามยุให้แตกแยกกัน เราอย่าตกเป็นเครื่องมือให้การแบ่งแยก เราอย่าหลงกล ไทยเราถนัดเรื่องการแบ่งแยก หรือยุยง เราในฐานะนักจัดการเชิงพุทธ เราจะทำอย่างไร เราจะใช้พระพุทธศาสนาไปแก้ปัญหาอย่างไร ไทยเรามีนักมวยเยอะ แต่ไม่มีกรรมการห้ามมวย
เรามองปัญหา “แบ่งแยกแล้วปกครอง” ยุให้แตกกันก่อนเพื่อเกิดความระแวง เหมือน วัสสการพราหมณ์ ในมหาปรินิพพานสูตร เริ่มจากวัสสการพราหมณ์ ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อปรึกษาว่า “สมควรยกทัพไปตีวัชชีได้หรือยัง” แทนที่พระพุทธเจ้าจะตอบ”Yes หรือ No” เพราะบางอย่างตอบตรงไม่ได้ บางอย่างต้องตอบตรง บางอย่างต้องย้อนถามกลับ บางอย่างให้แยกตอบตามมุมมองต่าง ตอบปัญหาเหมือน “ตาบอดคลำช้าง” แล้วแต่มุมมองของคนนั้นๆ มีนักข่าวไปถามท่านพุทธทาส ระหว่าง ทานมังสวิรัติกับเนื้อ พุทธทาสตอบว่า “ทานอะไรก็ได้ถ้าทานด้วยจิตว่าง ไม่ยึดติดรสอร่อย” ท่านพุทธทาสแยกตอบไม่ตอบตรง และปัญหาบางอย่างไม่ต้องตอบ ต้องนิ่ง เพราะบางเรื่องตอบไปจะเป็นการเติมเชื้อไฟให้เกิดสถานการณ์ร้อน เช่น พระพนรัตน์ไปขอไว้ชีวิตแม่ทัพนายกองจากสมเด็จพระนเรศวร “แต่มีข้อแม้ว่า แม่ทัพนายกองต้องไปรบให้ชนะ” ท่านตอบว่า “ไม่ใช่กิจของสงฆ์” อะไรที่ไม่กิจของสงฆ์ก็อย่ายุ่ง
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสตอบวัสสการพราหมณ์..”ด้วยการถามพระอานนท์ ว่าวัชชียังปฏิบัติตามอปริหานิยธรรมไหม?” คำตอบคือ วัชชียังปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมากๆ แสดงว่าวัชชียังสามัคคีกันดีเพราะปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม แค่นั้น วัสสการพราหมณ์ได้คำตอบทันที สุดท้าย “วัสสการพราหมณ์ใช้วิธียุแยง” จนสุดท้ายสามารถตีวัชชีได้ เพราะวัชชีขาดความสามัคคี
“ต้นไม้ใหญ่เวลาล้มไม่ใช่เพราะลมพายุเท่านั้น แต่มีมอดกันกินต้นไม้ พระพุทธศาสนา คือ ต้นไม้ใหญ่” ภาวะทางซ้ายมีปัญหา ทางขวาก็มีปัญหา เหมือนอยู่ตรงกลางเขาควาย ปะทะกันอยู่เรื่อยๆ อยู่ตรงกลางต้องเป็นกลาง พูดง่ายๆ คือ ชาวบ้านทะเลาะกัน เหมือนมคธกับวัชชีทะเลาะกันจะดึงพระพุทธเจ้าไปร่วมกัน
ฉะนั้น เราต้องไม่โดดลงไปรบกับชาวบ้าน ที่น่าสงสารคือคนไทยด้วยกันทะเลาะกัน กฏข้อข้อสำคัญจะต้องไม่ลงไปคลุกฝุ่น ทำไมพระพุทธเจ้าไปไหนมีดอกบัวมารองรับตลอด ดอกบัวเกิดจากโคลนตมแต่เบ่งบานสวยงาม อยู่ในโลกแต่ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม ดอกบัวเกิดท่ามกลางความไม่สวยงาม แต่ทำตนเองให้สวยงาม พระพุทธเจ้า ถือว่าเป็น “พุทธะ” เกิดในโลกแต่ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม ฉะนั้น ต้องเดินตามรอยพระพุทธเจ้า โลกจะเดือดร้อน วุ่นวายเท่าไหร่ก็ตาม แต่เราต้องอยู่เหนือโลก
ภัยพระพุทธศาสนามี ๒ ประเภท คือ ๑ ภัยภายนอก ๒ภัยภายใน
ในฐานะสถาบันการศึกษา มจร. เราจะค้นหาคำตอบได้อย่างไร ค้นหาคำตอบ เราจึงทำวิจัย “เราต้องสร้างความสามัคคี” เราจะทำอย่างไรให้คนรักกันสามัคคีกัน ชาวพุทธทะเลาะกันมันน่าเศร้า เราในฐานะนักจัดการเชิงพุทธจะทำอย่างไร ที่ต่างประเทศใช้สร้างความสามัคคีกับการศึกษาแก้ปัญหาความขัดแย้ง “เราอยากให้คนสามัคคีกัน” ให้ทำสองเรื่อง คือ ยุทธศาสตร์สร้างความสามัคคี คือ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ กระบวนการให้การให้ข้อมูล ขยาย “ขอบฟ้าแห่งความรู้” ขยายไปรู้จักผู้อื่น วัดต้องรู้จักชุมชน รู้จักศาสนาอื่นด้วย ศึกษาเกี่ยวกับคนอื่น คนสมัยอดีตเราสามัคคีกัน เพราะหมูไปไก่มา แต่ตอนนี้เราไม่รู้จักกัน จึงระแวงกันและกัน จึงเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” เหมือนระเบิดครั้งเดียว ทำให้คนจดจำเพื่อเกิดความระแวงกัน “แบ่งแยกแล้วปกครอง” แม้แต่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังถูกสร้างความระแวงต่อกัน “เราเรียนมหาจุฬาอย่าโง่ ต้องฉลาด” ข่าวสารทำให้เกิดความเกลียดชัง เกิดความหวาดระแวง เราจะทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดความระแวงกันเอง ในฐานะที่เราเป็นสถาบันการศึกษาต้องเผยแพร่ให้คนสามัคคีกันให้มากที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ทำงานร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน หาทางให้เขาอยู่ร่วมกัน พุทธเถรวาทและพุทธมหายาน จัดงานวิสาขโลกบูชาพระพุทธเจ้า ฝึกความอดทนคือ ยอมรับความแตกต่าง “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” ต้องสร้างการมีส่วนร่วม
ในสถานการณ์ปัจจุบันต้องตั้งหลักให้ดี “การมีส่วนร่วม” เพื่อแก้ปัญหา หรือเพิ่มปัญหา ทุกวันนี้ใช้คำว่า “การมีส่วนร่วม” ส่วนร่วมเพื่อให้ดีขึ้น หรือแย่ลง ถ้ารัฐธรรมนูญผ่าน เราจะทำงานร่วมกันอย่างไร การมีส่วนร่วมที่ปลอดภัย คือ ใช้ ” หลักธรรมาภิบาล ” รัฐธรรมนูญปัจจุบันคือ “ปราบโกง” ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการ ซึ่งธนาคารโลกใช้และแนะให้ไทยใช้ “สาขาการจัดการเชิงพุทธ” ต้องจับประเด็นเรื่อง “ธรรมาภิบาล” ให้เข้าสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง บริหารวัด บริหารชุมชน บริหารองค์กร บริหารประเทศ ด้วยหลัก “ธรรมาภิบาล” ต้องมีส่วนร่วม ถ้าเราบริหารวัด บริหารมจร. ด้วยธรรมาภิบาล ไม่มีใครมาแตะต้อง เพราะเรามีความสามัคคีกัน รวมถึงความรับผิดชอบ และเรื่อง “ความโปร่งใส” เป็นการแก้เรื่องโกงโดยเฉพาะ “คนจึงต้องการอำนาจเพราะมันมีผลประโยชน์มหาศาล” ใช้กฏหมายให้เสมอภาคกัน ไม่มีสองมาตรฐาน
สรุปโดย…พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร
——————————-
( กองสื่อสารองค์กร มจร รายงาน )
พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. อธิการบดี มจรบรรยาย..”การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน” จัดโดยสาขาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มจร ในวันอังคารที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐- ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเธียเตอร์โซน D อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
ท่านกล่าวว่า….คนที่ฉลาดจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนเอง แต่คนฉลาดกว่าจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของคนอื่น เราเรียนระดับมหาบัณฑิตต้องพิจารณาให้ดี ไม่ใช้อารมณ์ “รู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข” เหมือนรู้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ มีระบบป้องกัน รู้เท่า ตรวจสอบ ป้องกัน รู้ทันเพื่อแก้ไข ตั้งสติ รู้เท่ารู้ล่วงหน้า เช่น คนขับรถที่ชำนาญงานเวลาขึ้นภูเขา รู้ทัน เช่น สุนัขวิ่งตัดหน้า จะแก้ปัญหาเฉพาะอย่างไร คือ ต้องมีสติรู้ทันปัจจุบัน เกิดอะไรขึ้นในปัจจุบัน ต้องมีสติในการแก้ปัญหา เราจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือแย่ลง เมื่อเกิดสถานการณ์ ต้องดูตาม้าตาเรือ
ท่านจะทราบว่าใครมิตรใครคือศัตรู เกิดความขัดแย้งพยายามหามิตรหาแนวร่วมเยอะๆ สถานการณ์ปัจจุบัน คนพยายามยุให้แตกแยกกัน เราอย่าตกเป็นเครื่องมือให้การแบ่งแยก เราอย่าหลงกล ไทยเราถนัดเรื่องการแบ่งแยก หรือยุยง เราในฐานะนักจัดการเชิงพุทธ เราจะทำอย่างไร เราจะใช้พระพุทธศาสนาไปแก้ปัญหาอย่างไร ไทยเรามีนักมวยเยอะ แต่ไม่มีกรรมการห้ามมวย
เรามองปัญหา “แบ่งแยกแล้วปกครอง” ยุให้แตกกันก่อนเพื่อเกิดความระแวง เหมือน วัสสการพราหมณ์ ในมหาปรินิพพานสูตร เริ่มจากวัสสการพราหมณ์ ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อปรึกษาว่า “สมควรยกทัพไปตีวัชชีได้หรือยัง” แทนที่พระพุทธเจ้าจะตอบ”Yes หรือ No” เพราะบางอย่างตอบตรงไม่ได้ บางอย่างต้องตอบตรง บางอย่างต้องย้อนถามกลับ บางอย่างให้แยกตอบตามมุมมองต่าง ตอบปัญหาเหมือน “ตาบอดคลำช้าง” แล้วแต่มุมมองของคนนั้นๆ มีนักข่าวไปถามท่านพุทธทาส ระหว่าง ทานมังสวิรัติกับเนื้อ พุทธทาสตอบว่า “ทานอะไรก็ได้ถ้าทานด้วยจิตว่าง ไม่ยึดติดรสอร่อย” ท่านพุทธทาสแยกตอบไม่ตอบตรง และปัญหาบางอย่างไม่ต้องตอบ ต้องนิ่ง เพราะบางเรื่องตอบไปจะเป็นการเติมเชื้อไฟให้เกิดสถานการณ์ร้อน เช่น พระพนรัตน์ไปขอไว้ชีวิตแม่ทัพนายกองจากสมเด็จพระนเรศวร “แต่มีข้อแม้ว่า แม่ทัพนายกองต้องไปรบให้ชนะ” ท่านตอบว่า “ไม่ใช่กิจของสงฆ์” อะไรที่ไม่กิจของสงฆ์ก็อย่ายุ่ง
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสตอบวัสสการพราหมณ์..”ด้วยการถามพระอานนท์ ว่าวัชชียังปฏิบัติตามอปริหานิยธรรมไหม?” คำตอบคือ วัชชียังปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมากๆ แสดงว่าวัชชียังสามัคคีกันดีเพราะปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม แค่นั้น วัสสการพราหมณ์ได้คำตอบทันที สุดท้าย “วัสสการพราหมณ์ใช้วิธียุแยง” จนสุดท้ายสามารถตีวัชชีได้ เพราะวัชชีขาดความสามัคคี
“ต้นไม้ใหญ่เวลาล้มไม่ใช่เพราะลมพายุเท่านั้น แต่มีมอดกันกินต้นไม้ พระพุทธศาสนา คือ ต้นไม้ใหญ่” ภาวะทางซ้ายมีปัญหา ทางขวาก็มีปัญหา เหมือนอยู่ตรงกลางเขาควาย ปะทะกันอยู่เรื่อยๆ อยู่ตรงกลางต้องเป็นกลาง พูดง่ายๆ คือ ชาวบ้านทะเลาะกัน เหมือนมคธกับวัชชีทะเลาะกันจะดึงพระพุทธเจ้าไปร่วมกัน
ฉะนั้น เราต้องไม่โดดลงไปรบกับชาวบ้าน ที่น่าสงสารคือคนไทยด้วยกันทะเลาะกัน กฏข้อข้อสำคัญจะต้องไม่ลงไปคลุกฝุ่น ทำไมพระพุทธเจ้าไปไหนมีดอกบัวมารองรับตลอด ดอกบัวเกิดจากโคลนตมแต่เบ่งบานสวยงาม อยู่ในโลกแต่ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม ดอกบัวเกิดท่ามกลางความไม่สวยงาม แต่ทำตนเองให้สวยงาม พระพุทธเจ้า ถือว่าเป็น “พุทธะ” เกิดในโลกแต่ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม ฉะนั้น ต้องเดินตามรอยพระพุทธเจ้า โลกจะเดือดร้อน วุ่นวายเท่าไหร่ก็ตาม แต่เราต้องอยู่เหนือโลก
ภัยพระพุทธศาสนามี ๒ ประเภท คือ ๑ ภัยภายนอก ๒ภัยภายใน
ในฐานะสถาบันการศึกษา มจร. เราจะค้นหาคำตอบได้อย่างไร ค้นหาคำตอบ เราจึงทำวิจัย “เราต้องสร้างความสามัคคี” เราจะทำอย่างไรให้คนรักกันสามัคคีกัน ชาวพุทธทะเลาะกันมันน่าเศร้า เราในฐานะนักจัดการเชิงพุทธจะทำอย่างไร ที่ต่างประเทศใช้สร้างความสามัคคีกับการศึกษาแก้ปัญหาความขัดแย้ง “เราอยากให้คนสามัคคีกัน” ให้ทำสองเรื่อง คือ ยุทธศาสตร์สร้างความสามัคคี คือ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ กระบวนการให้การให้ข้อมูล ขยาย “ขอบฟ้าแห่งความรู้” ขยายไปรู้จักผู้อื่น วัดต้องรู้จักชุมชน รู้จักศาสนาอื่นด้วย ศึกษาเกี่ยวกับคนอื่น คนสมัยอดีตเราสามัคคีกัน เพราะหมูไปไก่มา แต่ตอนนี้เราไม่รู้จักกัน จึงระแวงกันและกัน จึงเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” เหมือนระเบิดครั้งเดียว ทำให้คนจดจำเพื่อเกิดความระแวงกัน “แบ่งแยกแล้วปกครอง” แม้แต่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังถูกสร้างความระแวงต่อกัน “เราเรียนมหาจุฬาอย่าโง่ ต้องฉลาด” ข่าวสารทำให้เกิดความเกลียดชัง เกิดความหวาดระแวง เราจะทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดความระแวงกันเอง ในฐานะที่เราเป็นสถาบันการศึกษาต้องเผยแพร่ให้คนสามัคคีกันให้มากที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ทำงานร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน หาทางให้เขาอยู่ร่วมกัน พุทธเถรวาทและพุทธมหายาน จัดงานวิสาขโลกบูชาพระพุทธเจ้า ฝึกความอดทนคือ ยอมรับความแตกต่าง “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” ต้องสร้างการมีส่วนร่วม
ในสถานการณ์ปัจจุบันต้องตั้งหลักให้ดี “การมีส่วนร่วม” เพื่อแก้ปัญหา หรือเพิ่มปัญหา ทุกวันนี้ใช้คำว่า “การมีส่วนร่วม” ส่วนร่วมเพื่อให้ดีขึ้น หรือแย่ลง ถ้ารัฐธรรมนูญผ่าน เราจะทำงานร่วมกันอย่างไร การมีส่วนร่วมที่ปลอดภัย คือ ใช้ ” หลักธรรมาภิบาล ” รัฐธรรมนูญปัจจุบันคือ “ปราบโกง” ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการ ซึ่งธนาคารโลกใช้และแนะให้ไทยใช้ “สาขาการจัดการเชิงพุทธ” ต้องจับประเด็นเรื่อง “ธรรมาภิบาล” ให้เข้าสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง บริหารวัด บริหารชุมชน บริหารองค์กร บริหารประเทศ ด้วยหลัก “ธรรมาภิบาล” ต้องมีส่วนร่วม ถ้าเราบริหารวัด บริหารมจร. ด้วยธรรมาภิบาล ไม่มีใครมาแตะต้อง เพราะเรามีความสามัคคีกัน รวมถึงความรับผิดชอบ และเรื่อง “ความโปร่งใส” เป็นการแก้เรื่องโกงโดยเฉพาะ “คนจึงต้องการอำนาจเพราะมันมีผลประโยชน์มหาศาล” ใช้กฏหมายให้เสมอภาคกัน ไม่มีสองมาตรฐาน
ช่วงบ่าย พระเมธีธรรมาจารย์ พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย ดร. บรรยาย..”การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน” และ ผศ.(พิเศษ) ร.อ.ดร. ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล บรรยายเรื่อง “กฤหมายและมิติของพระพุทธศาสนา” โดยมี ดร.ยุทธนา ปราณีต เป้นผู้ดำเนินรายการ จัดโดยสาขาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มจร ในวันอังคารที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเธียเตอร์โซน D อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
——————————-
( กองสื่อสารองค์กร มจร รายงาน )
ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมอภิปรายวิชาการนิสิตคณะมนุยศาสตร์ ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมอภิปรายวิชาการนิสิตคณะมนุยศาสตร์
371 รวมเข้าชม
อภิปรายวิชาการนิสิตคณะมนุษยศาสตร์
เรื่อง บันเทิงภาษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมอภิปรายวิชาการนิสิตคณะมนุยศาสตร์ อภิปรายเรื่อง บันเทิงภาษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ในวันที่พุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ น. และพบกับครูเพลง ตลกชื่อดัง ศิลปินอาวุโส MR.Darky ไพฑูรย์ ขันทอง เจ้าของผลงานเพลง “มีเมียเด็ก” และผลงานเพลงชื่อดังอีกมากมาย ณ ห้องเธียเตอร์โซน A อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
(กองสื่อสารองค์กร มจร รายงาน )
พิธีบำเพ็ญกุศลวันครบ ๕๒ ปี แห่งการก่อตั้งมูลนิธิมหาจุฬาพิธีบำเพ็ญกุศลวันครบ ๕๒ ปี แห่งการก่อตั้งมูลนิธิมหาจุฬา
1,044 รวมเข้าชม
พิธีบำเพ็ญกุศลวันครบ ๕๒ ปี แห่งการก่อตั้งมูลนิธิมหาจุฬา
มูลนิธิมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ปีที่ ๕๒ ประจำปี ๒๕๕๙ เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่เจ้าของทุนผู้วายชนม์ และถวายทุนการศึกษาแด่พระนิสิต ในช่วงเช้า ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ได้เป็นประธานในพิธีเปิด จากนั้นพระพรหมบัณฑิตได้กล่าวสัมโมทนียกถา โดยมีพระราชวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นผู้กล่าวถวายรางาน ในงานมูลนิธิวันนี้ได้รับเกียรติจากพระธรรมสุธี นายกสภา ในวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๙ ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
กองสื่อสารองค์กร มจร รายงาน ภาพ/Mcu tv
ทำบุญปีใหม่ มจร.๕๙ทำบุญปีใหม่ มจร.๕๙
491 รวมเข้าชม
ทำบุญปีใหม่ มจร.๕๙
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดงานเลี้ยงฉลองปีใหม่ ๒๕๕๙ ในวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. ณ หอประชุม มวก. ๔๘ พรรษา มจร. วังน้อย มีการจับแจกแลกของขวัญของ ผู้บริหาร ส่วนงาน ต่างๆ และได้ทำบุญเลี้ยงพระ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย
โดยมีพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. องค์อธิการบดีมาเป็นประธานในพิธี และให้โอวาท พร้อมกับอวยพรในวันขึ้นปีใหม่ให้กับทุกท่านที่มาร่วมในพิธี บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกและตื่นเต้นไปกับการจับสลากรับรางวัลพิเศษจากผู้ บริหาร เช่นสร้อยคอทองคำกว่า ๑๐ เส้น และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย แฮปปี้กันถ้วนหน้าครับ.
ดาวน์โหลดเเบบฟอร์มการกรอกข้อมูล ชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ผู้บริหาร ปี 59ดาวน์โหลดเเบบฟอร์มการกรอกข้อมูล ชื่อ-เบอร์โทรศัพท์ผู้บริหาร ปี 59
1,011 รวมเข้าชม
แบบฟอร์มกรอกข้อมูลผู้บริหาร ปี2559
รวบรวมข้อมูล ชื่อ ตำแหน่ง เบอร์โทรศัพท์ พ.ศ. 2559
ขอความร่วมมือทุกท่านสำรวจในส่วนงานของท่านและรวบรวมข้อมูล ชื่อ ตำแหน่งและเบอร์โทรศัพท์ที่อัพเดต
จัดส่งข้อมูลชื่อ ฉายา นามสกุล ตำแหน่ง เบอร์โทรศัพท์ ภายใน เบอร์สำนักงาน เบอร์มือถือ และ E-mail
ของผู้บริหารตั้งแต่ระดับรองอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าหัวหน้าฝ่าย
และรูปถ่ายผู้บริหาร (ระดับรองอธิการ) ภาพถ่ายอาคารสถานที่ในส่วนที่เป็นวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์
ห้องเรียนหน่วยวิทยบริการ และที่ตั้งสถานที่ตั้งสำนักงาน
ดาวโหลดข้อมูลได้ที่ >>
คลิกเพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มกรอกข้อมูลผู้บริหาร ปี 59
แล้วส่งไฟล์ข้อมูลกลับที่ได้ที่นางสาว นภัสสร กัลปนาท กองสื่อสารองค์กร (ก้อย) ชั้น 1 ห้อง 101 หรือ
E-mail: napassorn020335@gmail.com หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 087-566-4335
ID Line : koyslowly FB : koy Slowly
* ภายในวันอังคาร ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เพื่อนำมาดำเนินการต่อไป *
Conclusion of the 3rd Thai-Sino Buddhism Seminar สรุปงานสัมมนาวิชาการพระพุทธศาสนา ไทย-จีน ครั้งที่ ๓
2,195 รวมเข้าชม
สรุปงานสัมมนาวิชาการพุทธศาสนาไทย – จีน ครั้งที่ ๓ (The 3rd Thai – Sino Conference on Buddhism) ซึ่งจัดขึ้นในวันอังคารที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ณ ศูนย์วัฒนธรรมจีนประจำประเทศไทย เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยความร่วมมือระหว่าง คณะพุทธศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ, สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และศูนย์วัฒนธรรมจีนประจำประเทศไทย
ในช่วงเช้าเวลาประมาณ ๐๙.๓๐ น. พระธรรมาจารย์เต้าจิน (Most Ven. Daojin) เป็นประธานนำบูชาพระรัตนตรัย และกล่าวเปิดการสัมมนา หลังจากนั้น นาย Qin Yusen, Chief Consultant ประจำศูนย์วัฒนธรรมจีน กรุงเทพมหานคร กล่าวต้อนรับแขกผู้เข้าร่วมการสัมมนา และตามด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปาฐกถาในช่วงเช้าเป็นคนแรก จากนั้นได้มีการถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึก ก่อนจะพักรับประทานอาหารกลางวัน
ในช่วงบ่ายเวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. มีการสัมมนากลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ในช่วงแรกประกอบไปด้วย ๑) Prof.Dr. Wang Bangwei จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ๒) Prof. Liu Chengyou จากมหาวิทยาลัยมินซู ๓) พระอาจารย์ Dr. W. Piyaratana อาจารย์จาก มจร และ ๔) พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร
ในช่วงที่ ๒ ประกอบไปด้วย ๑) Assoc.Prof.Dr. Xuanfang จากมหาวิทยาลัยเรนมิน ๒) ดร.เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๓) ภิกษุณี Prof.Dr. Li Silong จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ๔) ผศ.ดร. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ ๕) ผศ.ดร. สุดารัตน์ บันเทากุล ผู้อำนวยการหลักสูตรนานาชาติ คณะพุทธศาสตร์ มจร
จนถึงเวลา ๑๖.๓๐ น. พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน,ดร. รองคณบดีคณะพุทธศาสตร์ กล่าวสรุปโครงการสัมมนา กล่าวขอบคุณนักวิชาการผู้เข้าร่วมการสัมมนา และกล่าวปิดโครงการสัมมนา ก่อนจะมอบของเป็นที่ระลึกเป็นลำดับสุดท้าย
Full Album
*Click the picture you want to see and save a full size.
*Pictures by… MCU-IT
ในช่วงเช้าเวลาประมาณ ๐๙.๓๐ น. พระธรรมาจารย์เต้าจิน (Most Ven. Daojin) เป็นประธานนำบูชาพระรัตนตรัย และกล่าวเปิดการสัมมนา หลังจากนั้น นาย Qin Yusen, Chief Consultant ประจำศูนย์วัฒนธรรมจีน กรุงเทพมหานคร กล่าวต้อนรับแขกผู้เข้าร่วมการสัมมนา และตามด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปาฐกถาในช่วงเช้าเป็นคนแรก จากนั้นได้มีการถ่ายรูปหมู่เป็นที่ระลึก ก่อนจะพักรับประทานอาหารกลางวัน
ในช่วงบ่ายเวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. มีการสัมมนากลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง ในช่วงแรกประกอบไปด้วย ๑) Prof.Dr. Wang Bangwei จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ๒) Prof. Liu Chengyou จากมหาวิทยาลัยมินซู ๓) พระอาจารย์ Dr. W. Piyaratana อาจารย์จาก มจร และ ๔) พระมหาสุทิตย์ อาภากโร, ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร
ในช่วงที่ ๒ ประกอบไปด้วย ๑) Assoc.Prof.Dr. Xuanfang จากมหาวิทยาลัยเรนมิน ๒) ดร.เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๓) ภิกษุณี Prof.Dr. Li Silong จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ๔) ผศ.ดร. จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ ๕) ผศ.ดร. สุดารัตน์ บันเทากุล ผู้อำนวยการหลักสูตรนานาชาติ คณะพุทธศาสตร์ มจร
จนถึงเวลา ๑๖.๓๐ น. พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน,ดร. รองคณบดีคณะพุทธศาสตร์ กล่าวสรุปโครงการสัมมนา กล่าวขอบคุณนักวิชาการผู้เข้าร่วมการสัมมนา และกล่าวปิดโครงการสัมมนา ก่อนจะมอบของเป็นที่ระลึกเป็นลำดับสุดท้าย
อัลบั้มภาพทั้งหมด
*คลิกที่ภาพที่ต้องการเพื่อรับชมและบันทึกภาพขนาดใหญ่
*ภาพถ่ายโดย ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
โครงการอบรมเจ้าหน้าที่ทะเบียน ๔ ภาคโครงการอบรมเจ้าหน้าที่ทะเบียน ๔ ภาค
1,063 รวมเข้าชม
โครงการอบรมเจ้าหน้าที่ทะเบียน ๔ ภาค โดยสำนักทะเบียนและวัดผล ซึ่งโครงการนี้มีเจ้าหน้าที่ทะเบียนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น ๑๑๕ รูป/คน การอบรมในครั้งนี้แบ่งออกเป็น ๒ กิจกรรม คือ การอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาการใช้ระบบทะเบียนร่วมกัน การอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยระบบทะเบียนออนไลน์ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับภาระงาน โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม – ๑ กันยายน ๒๕๕๘
ภาคเช้าของวันจันทร์ ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. พระสุวรรณเมธาภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมให้โอวาทและมีพระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม,ผศ.ดร. รักษาการผู้อำนวยสำนักทะเบียนและวัดผล จากนั้นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนามีปาฐกถาพิเศษเกี่ยวกับ เจ้าหน้าที่ทะเบียนเพื่อให้เห็นความสำคัญของเจ้าหน้าที่ทะเบียน
ต่อมามีการบรรยายพิเศษเรื่อง สำนักทะเบียนและวัดผลที่พึงประสงค์ โดยพระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺดม,ผศ.ดร.รก.ผอ. สำนักทะเบียนและวัดผล ต่อด้วย การบรรยายเรื่อง การจัดการงานทะเบียนและวัดผล การจัดเก็บข้อมูล สกอ. โดยพระมหาถวิล กลฺยาณธมฺโม รก.ผอ.ส่วนทะเบียนนิสิต ท้ายสุดมีการบรรยายเรื่อง การกรอกเกรดผ่านระบบทะเบียนออนไลน์สำหรับอาจารย์และการประเมินอาจารย์ออนไลน์ โดยพระมหาปัญญา ปญฺญาสิริ ดร.รก.ผอ. ส่วนประเมินผลการศึกษา ณ ห้องประชุมเธียเตอร์โซน D อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
จากนั้นในวันที่ ๒ ของการอบรม คือวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๘ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. มีการอบรม การลงทะเบียนออนไลน์โดยนิสิตและการสร้างผังบัญชีการเงิน โดยพระมหากฤษฎา กิตตฺโสภโณ ดร. และบ่ายมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้ระบบทะเบียนสำหรับเจ้าหน้าที่ใหม่ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ C๑๑๕ จากนั้นพิธีปิด พระราชวรเมธี,ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีปิดและกล่าวให้โอวาท ณ เธียเตอร์ โซนD อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
————————————–
( กองสื่อสารองค์กร มจร รายงาน )
สามารถดูภาพการเข้ารับวุฒิบัตรได้จากในอัลบั้มภาพ
“ยุวชนอาเซียนเพื่อสันติภาพ ภาษา และวัฒนธรรม” ครั้งที่ ๓ ในหัวข้อ “พหุวัฒนธรรม” (Multi-Culturalism) “ยุวชนอาเซียนเพื่อสันติภาพ ภาษา และวัฒนธรรม” ครั้งที่ ๓ ในหัวข้อ “พหุวัฒนธรรม” (Multi-Culturalism)
1,756 รวมเข้าชม
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการสถาบันภาษา และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาสันติศึกษา ร่วมกับศูนย์อาเซียนศึกษา ได้นำยุวชนอาเซียนจาก ๑๐ ประเทศ บวก ๓ คือ จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ได้ร่วมกันทำกิจกรรม ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ บ้านท่าคอยนาง จ.ศรีสะเกษ ภายใต้โครงการ “ยุวชนอาเซียนเพื่อสันติภาพ ภาษา และวัฒนธรรม” ครั้งที่ ๓ ในหัวข้อ “พหุวัฒนธรรม” (Multi-Culturalism) ระหว่าง ๑ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๘
ระหว่างวันที่ ๕ – ๘ สิงหาคม กลุ่มยุวชนอาเซียนบวก ๓ ได้เดินทางไปยังจังหวัดศรีสะเกษ บ้านท่าคอยนาง เพื่อไปทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมกัน โดยประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆมากมาย เริ่มจากการเดินชมวิถีชีวิตของชาวหมู่บ้านท่าคอยนาง ซึ่งทำให้ยุวชนอาเซียนได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตที่แตกต่าง เป็นสิ่งใหม่ที่ จากนั้นได้มีการแบ่งกลุ่ม ทำความรู้จักกับน้องๆนักเรียนบ้านท่าคอยนาง มีการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง พระมหาหรรษาได้นำยุวชนอาเซียนบวก ๓ ทั้งหมด ทำวัตรเย็น ณ สวนสันติภาพ บ้านท่าคอยนาง ซึ่งมีชาวบ้านร่วมทำวัตรเย็นกันอย่างพร้อมเพรียง เป็นภาพที่น่าประทับใจ
เริ่มต้นของวันที่ ๒ กิจกรรมแรกคือการเข้าวัด และมีการให้ยุวชนอาเซียนได้มีโอกาสได้ตักบาตร จากนั้นมีการดำนาอาเซียน ซึ่งเป็นการสอนให้ยุวชนทุกคนในค่ายได้ร่วมกันเรียนรู้ถึงการปลูกข้าว วิธีการทำนา สอนให้เรียนรู้และเข้าใจถึงที่มาที่ไปของเม็ดข้าว ให้รู้ถึงความลำบากและทำให้เห็นคุณค่าของเม็ดข้าวที่รับประทานกัน ต่อด้วยการทำกิจกรรมขนมไปรกะสังและขนมต้ม และได้เยี่ยมชมวัฒนธรรมเขมร ลาว และกูย พร้อมทั้งมีการแสดงวัฒนธรรมต่างๆจากยุวชนอาเซียนบวก๓ ให้ชาวบ้านในหมู่บ้านได้เรียนรู้และศึกษารวมถึงนักเรียนบ้านท่าคอยนางซึ่งต่อไปจะเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันอาเซียน
ทั้งนี้มหาจุฬาฯ ได้สนับสนุนโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนานิสิต คณาจารย์และผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ และพัฒนาตัวเองเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และอยู่ร่วมกับประชาคมอาเซียนบวกสามได้อย่างสันติสุขต่อไป
Pictures of Purabacharn Day at MCUอัลบั้มภาพงานวันบุรพาจารย์ ๒๕๕๘
901 รวมเข้าชม
๑๘ กรกฎาคมของทุกปี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดงานวันบุรพาจารย์ประจำปี ในปีนี้ก็เช่นกัน โดยเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. ได้มีพิธีวางพวงมาลาบวงสรวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ พระองค์ผู้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เป็นประธาน ณ หอพิพิธภัณฑ์พระไตรปีฎก
จากนั้นเวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. รศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ นายกสมาคมศิษย์เก่า มจร แถลงผลงานในรอบปี
จากนั้นเวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีเดินทางมาถึงพิธี เป็นประธานจุดธูปเทียนนำบูชาพระรัตนตรัย จากนั้น พระราชวรเมธี ประธานกรรมการจัดงาน ได้กล่าวรายงาน จากนั้น รศ.ดร. สมศักดิ์ บุญปู่ ได้ขานรายนามผู้ได้รับเกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ ประจำปี ๒๕๕๘ (พระสงฆ์) จำนวน ๑๐ รูป ดังนี้
๑. พระราชวิสุทธิเมธี (ปัญญา วิสุทฺธิปญฺโญ) ป.ธ.๙, พธ.บ., M.A. ผู้อำนวยการหน่วยวิทยบริการวัดไชยชมพุลชนะสงคราม, รองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี
๒. พระราชวิสุทธิมุนี (บุญชิต ญาณสํวโร) ป.ธ.๙, พธ.บ., อ.ม., พธ.ด. เจ้าคณะภาค ๓
๓. พระราชปริยัติโมลี (สุทัศน์ วรทสฺสี) ป.ธ.๙, ป.วค., พธ.บ., ศษ.บ., อ.ม., ค.ม., Ph.D. เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม, เจ้าคณะเขตบางกอกใหญ่
๔. พระราชรัตนโสภณ (ธนัญชัย ขนฺติโก) ป.ธ.๖, น.ธ.เอก, พธ.บ., รป.ม. เจ้าอาวาสวัดบางนานอก, เจ้าคณะเขตพระโขนง-บางนา
๕. พระราชปริยัติวิธาน (สุนทร สุนฺทรเมธี) ป.ธ.๗, พธ.บ., ศษ.ม. รองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
๖. พระวิมลธรรมคณี (เลี่ยว ยโสธโร), น.ธ.เอก, พธ.บ., ศษ.ม., ศษ.ด. เจ้าคณะจังหวัดกระบี่
๗. พระบุรเขตธรรมคณี (บังคม รกฺขิตธมฺโม) ป.ธ.๕, พธ.บ., พธ.ม. เจ้าคณะจังหวัดตราด
๘. พระโกศัยเจติยารักษ์ (วิชาญ กิตฺติปญฺโญ) น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, Ph.D.) รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่
๙. พระปัญญานันทมุนี (สง่า สุภโร) ป.ธ.๓, น.ธ.เอก, พธ.บ., พธ.ม.(รุ่นที่ ๑) เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์
๑๐. พระวิสุทธิวรกิจ (เสน่ห์ ธมฺมรํสี) น.ธ.เอก, ป.บส., พธ.บ. เจ้าอาวาสวัดคงคารามวรวิหาร เพชรบุรี
ศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี ๒๕๕๘ (ฆราวาส) จำนวน ๑๕ คน ในด้านต่างๆ ดังนี้
– ด้านความสำเร็จในอาชีพและหน้าที่การงาน
๑. พลเรือตรีมนูญ จันทร์นวล
๒. ดร. บุญจิระ บุญปัญญา
๓. นายเอกราช ช่างเหลา
– ด้านผลงานและวิชาการดีเด่น
๑. ศ.ดร. สมภาร พรมทา
๒. รศ.ดร. กิตติทัศน์ ผกาทอง
๓. รศ. เวทย์ บรรณกรกุล
– ด้านสร้างคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
๑. ผศ. สมหมาย ดูยอดรัมย์
๒. อ. บุญนาค เนียมมาก
๓. ผศ.ดร. สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
– ด้านพัฒนาสังคมและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
๑. นายตรีรัช ภูคชสารศีล
๒. นายเรือน ชนะวาที
๓. นายวิชัย ใจมุ่ง
– ด้านส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๑. พ.ท. ไชโย นามนนท์
๒. ดร. นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
๓. นายวุฒิชัย อ่ำบำรุง
จากนั้น ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป ได้ขานรายนามผู้ได้รับผู้ที่เข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
พระพรหมบัณฑิต ให้โอวาทและให้พรแก่ผู้เข้าร่วมงาน ณ อาคารมหาจุฬาบรรณาคารชั้น ๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย พระนครศรีอยุธยา
จากนั้นเวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. รศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ นายกสมาคมศิษย์เก่า มจร แถลงผลงานในรอบปี
เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีเดินทางมาถึงพิธี เป็นประธานจุดธูปเทียนนำบูชาพระรัตนตรัย จากนั้น พระราชวรเมธี ประธานกรรมการจัดงาน ได้กล่าวรายงาน โดยมี รศ.ดร. สมศักดิ์ บุญปู่ ได้ขานรายนามผู้ได้รับเกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ ประจำปี ๒๕๕๘ (พระสงฆ์) จำนวน ๑๐ รูป ดังนี้
๑. พระราชวิสุทธิเมธี (ปัญญา วิสุทฺธิปญฺโญ) ป.ธ.๙, พธ.บ., M.A. ผู้อำนวยการห้องเรียนวัดไชยชมพุลชนะสงคราม, รองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี
๒. พระราชวิสุทธิมุนี (บุญชิต ญาณสํวโร) ป.ธ.๙, พธ.บ., อ.ม., พธ.ด. ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ
๓. พระราชปริยัติโมลี (สุทัศน์ วรทสฺสี) ป.ธ.๙, ป.วค., พธ.บ., ศษ.บ., อ.ม., ค.ม., Ph.D. เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม, เจ้าคณะเขตบางกอกใหญ่
๔. พระราชรัตนโสภณ (ธนัญชัย ขนฺติโก) ป.ธ.๖, น.ธ.เอก, พธ.บ., รป.ม. เจ้าอาวาสวัดบางนานอก, เจ้าคณะเขตพระโขนง-บางนา
๕. พระราชปริยัติวิธาน (สุนทร สุนฺทรเมธี) ป.ธ.๗, พธ.บ., ศษ.ม. รองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์
๖. พระวิมลธรรมคณี (เลี่ยว ยโสธโร), น.ธ.เอก, พธ.บ., ศษ.ม., ศษ.ด. เจ้าคณะจังหวัดกระบี่
๗. พระบุรเขตธรรมคณี (บังคม รกฺขิตธมฺโม) ป.ธ.๕, พธ.บ., พธ.ม. เจ้าคณะจังหวัดตราด
๘. พระโกศัยเจติยารักษ์ (วิชาญ กิตฺติปญฺโญ) น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, Ph.D.) รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่
๙. พระปัญญานันทมุนี (สง่า สุภโร) ป.ธ.๓, น.ธ.เอก, พธ.บ., พธ.ม.(รุ่นที่ ๑) เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์
๑๐. พระวิสุทธิวรกิจ (เสน่ห์ ธมฺมรํสี) น.ธ.เอก, ป.บส., พธ.บ. เจ้าอาวาสวัดคงคารามวรวิหาร เพชรบุรี
ศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี ๒๕๕๘ (ฆราวาส) จำนวน ๑๕ คน ในด้านต่างๆ ดังนี้
– ด้านความสำเร็จในอาชีพและหน้าที่การงาน
๑. พลเรือตรีมนูญ จันทร์นวล
๒. ดร. บุญจิระ บุญปัญญา
๓. นายเอกราช ช่างเหลา
– ด้านผลงานและวิชาการดีเด่น
๑. ศ.ดร. สมภาร พรมทา
๒. รศ.ดร. กิตติทัศน์ ผกาทอง
๓. รศ. เวทย์ บรรณกรกุล
– ด้านสร้างคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
๑. ผศ. สมหมาย ดูยอดรัมย์
๒. อ. บุญนาค เนียมมาก
๓. ผศ.ดร. สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
– ด้านพัฒนาสังคมและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
๑. นายตรีรัช ภูคชสารศีล
๒. นายเรือน ชนะวาที
๓. นายวิชัย ใจมุ่ง
– ด้านส่งเสริมพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
๑. พ.ท. ไชโย นามนนท์
๒. ดร. นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
๓. นายวุฒิชัย อ่ำบำรุง
จากนั้น ผศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป ได้ขานรายนามผู้ได้รับผู้ที่เข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
พระพรหมบัณฑิต ให้โอวาทและให้พรแก่ผู้เข้าร่วมงาน ณ อาคารมหาจุฬาบรรณาคารชั้น ๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย พระนครศรีอยุธยา
*คลิกที่ภาพเพื่อขยายภาพขนาดเต็ม
โครงการพัฒนาศักยภาพ การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อความก้าวหน้าในประชาคมอาเซียน โครงการพัฒนาศักยภาพ การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อความก้าวหน้าในประชาคมอาเซียน
579 รวมเข้าชม
โครงการพัฒนาศักยภาพ การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อความก้าวหน้าในประชาคมอาเซียน จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ( สำหรับวิทยาเขต และวิทยาลัยสงฆ์ เท่านั้น ) โดยมี พระราชวรเมธี,ดร. ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร เป็นประธานกล่าวเปิดงานและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมประชุม ระยะที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๔๐๒ อาคารสำนักงานอธิการบดี
————————————-