1,190 รวมเข้าชม, 1 เข้าชมวันนี้
พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. อธิการบดี มจรบรรยาย..”การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน” จัดโดยสาขาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มจร ในวันอังคารที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐- ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเธียเตอร์โซน D อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
ท่านกล่าวว่า….คนที่ฉลาดจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนเอง แต่คนฉลาดกว่าจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของคนอื่น เราเรียนระดับมหาบัณฑิตต้องพิจารณาให้ดี ไม่ใช้อารมณ์ “รู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข” เหมือนรู้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ มีระบบป้องกัน รู้เท่า ตรวจสอบ ป้องกัน รู้ทันเพื่อแก้ไข ตั้งสติ รู้เท่ารู้ล่วงหน้า เช่น คนขับรถที่ชำนาญงานเวลาขึ้นภูเขา รู้ทัน เช่น สุนัขวิ่งตัดหน้า จะแก้ปัญหาเฉพาะอย่างไร คือ ต้องมีสติรู้ทันปัจจุบัน เกิดอะไรขึ้นในปัจจุบัน ต้องมีสติในการแก้ปัญหา เราจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือแย่ลง เมื่อเกิดสถานการณ์ ต้องดูตาม้าตาเรือ
ท่านจะทราบว่าใครมิตรใครคือศัตรู เกิดความขัดแย้งพยายามหามิตรหาแนวร่วมเยอะๆ สถานการณ์ปัจจุบัน คนพยายามยุให้แตกแยกกัน เราอย่าตกเป็นเครื่องมือให้การแบ่งแยก เราอย่าหลงกล ไทยเราถนัดเรื่องการแบ่งแยก หรือยุยง เราในฐานะนักจัดการเชิงพุทธ เราจะทำอย่างไร เราจะใช้พระพุทธศาสนาไปแก้ปัญหาอย่างไร ไทยเรามีนักมวยเยอะ แต่ไม่มีกรรมการห้ามมวย
เรามองปัญหา “แบ่งแยกแล้วปกครอง” ยุให้แตกกันก่อนเพื่อเกิดความระแวง เหมือน วัสสการพราหมณ์ ในมหาปรินิพพานสูตร เริ่มจากวัสสการพราหมณ์ ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อปรึกษาว่า “สมควรยกทัพไปตีวัชชีได้หรือยัง” แทนที่พระพุทธเจ้าจะตอบ”Yes หรือ No” เพราะบางอย่างตอบตรงไม่ได้ บางอย่างต้องตอบตรง บางอย่างต้องย้อนถามกลับ บางอย่างให้แยกตอบตามมุมมองต่าง ตอบปัญหาเหมือน “ตาบอดคลำช้าง” แล้วแต่มุมมองของคนนั้นๆ มีนักข่าวไปถามท่านพุทธทาส ระหว่าง ทานมังสวิรัติกับเนื้อ พุทธทาสตอบว่า “ทานอะไรก็ได้ถ้าทานด้วยจิตว่าง ไม่ยึดติดรสอร่อย” ท่านพุทธทาสแยกตอบไม่ตอบตรง และปัญหาบางอย่างไม่ต้องตอบ ต้องนิ่ง เพราะบางเรื่องตอบไปจะเป็นการเติมเชื้อไฟให้เกิดสถานการณ์ร้อน เช่น พระพนรัตน์ไปขอไว้ชีวิตแม่ทัพนายกองจากสมเด็จพระนเรศวร “แต่มีข้อแม้ว่า แม่ทัพนายกองต้องไปรบให้ชนะ” ท่านตอบว่า “ไม่ใช่กิจของสงฆ์” อะไรที่ไม่กิจของสงฆ์ก็อย่ายุ่ง
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสตอบวัสสการพราหมณ์..”ด้วยการถามพระอานนท์ ว่าวัชชียังปฏิบัติตามอปริหานิยธรรมไหม?” คำตอบคือ วัชชียังปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมากๆ แสดงว่าวัชชียังสามัคคีกันดีเพราะปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม แค่นั้น วัสสการพราหมณ์ได้คำตอบทันที สุดท้าย “วัสสการพราหมณ์ใช้วิธียุแยง” จนสุดท้ายสามารถตีวัชชีได้ เพราะวัชชีขาดความสามัคคี
“ต้นไม้ใหญ่เวลาล้มไม่ใช่เพราะลมพายุเท่านั้น แต่มีมอดกันกินต้นไม้ พระพุทธศาสนา คือ ต้นไม้ใหญ่” ภาวะทางซ้ายมีปัญหา ทางขวาก็มีปัญหา เหมือนอยู่ตรงกลางเขาควาย ปะทะกันอยู่เรื่อยๆ อยู่ตรงกลางต้องเป็นกลาง พูดง่ายๆ คือ ชาวบ้านทะเลาะกัน เหมือนมคธกับวัชชีทะเลาะกันจะดึงพระพุทธเจ้าไปร่วมกัน
ฉะนั้น เราต้องไม่โดดลงไปรบกับชาวบ้าน ที่น่าสงสารคือคนไทยด้วยกันทะเลาะกัน กฏข้อข้อสำคัญจะต้องไม่ลงไปคลุกฝุ่น ทำไมพระพุทธเจ้าไปไหนมีดอกบัวมารองรับตลอด ดอกบัวเกิดจากโคลนตมแต่เบ่งบานสวยงาม อยู่ในโลกแต่ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม ดอกบัวเกิดท่ามกลางความไม่สวยงาม แต่ทำตนเองให้สวยงาม พระพุทธเจ้า ถือว่าเป็น “พุทธะ” เกิดในโลกแต่ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม ฉะนั้น ต้องเดินตามรอยพระพุทธเจ้า โลกจะเดือดร้อน วุ่นวายเท่าไหร่ก็ตาม แต่เราต้องอยู่เหนือโลก
ภัยพระพุทธศาสนามี ๒ ประเภท คือ ๑ ภัยภายนอก ๒ภัยภายใน
ในฐานะสถาบันการศึกษา มจร. เราจะค้นหาคำตอบได้อย่างไร ค้นหาคำตอบ เราจึงทำวิจัย “เราต้องสร้างความสามัคคี” เราจะทำอย่างไรให้คนรักกันสามัคคีกัน ชาวพุทธทะเลาะกันมันน่าเศร้า เราในฐานะนักจัดการเชิงพุทธจะทำอย่างไร ที่ต่างประเทศใช้สร้างความสามัคคีกับการศึกษาแก้ปัญหาความขัดแย้ง “เราอยากให้คนสามัคคีกัน” ให้ทำสองเรื่อง คือ ยุทธศาสตร์สร้างความสามัคคี คือ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ กระบวนการให้การให้ข้อมูล ขยาย “ขอบฟ้าแห่งความรู้” ขยายไปรู้จักผู้อื่น วัดต้องรู้จักชุมชน รู้จักศาสนาอื่นด้วย ศึกษาเกี่ยวกับคนอื่น คนสมัยอดีตเราสามัคคีกัน เพราะหมูไปไก่มา แต่ตอนนี้เราไม่รู้จักกัน จึงระแวงกันและกัน จึงเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” เหมือนระเบิดครั้งเดียว ทำให้คนจดจำเพื่อเกิดความระแวงกัน “แบ่งแยกแล้วปกครอง” แม้แต่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังถูกสร้างความระแวงต่อกัน “เราเรียนมหาจุฬาอย่าโง่ ต้องฉลาด” ข่าวสารทำให้เกิดความเกลียดชัง เกิดความหวาดระแวง เราจะทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดความระแวงกันเอง ในฐานะที่เราเป็นสถาบันการศึกษาต้องเผยแพร่ให้คนสามัคคีกันให้มากที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ทำงานร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน หาทางให้เขาอยู่ร่วมกัน พุทธเถรวาทและพุทธมหายาน จัดงานวิสาขโลกบูชาพระพุทธเจ้า ฝึกความอดทนคือ ยอมรับความแตกต่าง “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” ต้องสร้างการมีส่วนร่วม
ในสถานการณ์ปัจจุบันต้องตั้งหลักให้ดี “การมีส่วนร่วม” เพื่อแก้ปัญหา หรือเพิ่มปัญหา ทุกวันนี้ใช้คำว่า “การมีส่วนร่วม” ส่วนร่วมเพื่อให้ดีขึ้น หรือแย่ลง ถ้ารัฐธรรมนูญผ่าน เราจะทำงานร่วมกันอย่างไร การมีส่วนร่วมที่ปลอดภัย คือ ใช้ ” หลักธรรมาภิบาล ” รัฐธรรมนูญปัจจุบันคือ “ปราบโกง” ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการ ซึ่งธนาคารโลกใช้และแนะให้ไทยใช้ “สาขาการจัดการเชิงพุทธ” ต้องจับประเด็นเรื่อง “ธรรมาภิบาล” ให้เข้าสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง บริหารวัด บริหารชุมชน บริหารองค์กร บริหารประเทศ ด้วยหลัก “ธรรมาภิบาล” ต้องมีส่วนร่วม ถ้าเราบริหารวัด บริหารมจร. ด้วยธรรมาภิบาล ไม่มีใครมาแตะต้อง เพราะเรามีความสามัคคีกัน รวมถึงความรับผิดชอบ และเรื่อง “ความโปร่งใส” เป็นการแก้เรื่องโกงโดยเฉพาะ “คนจึงต้องการอำนาจเพราะมันมีผลประโยชน์มหาศาล” ใช้กฏหมายให้เสมอภาคกัน ไม่มีสองมาตรฐาน
สรุปโดย…พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร
——————————-
( กองสื่อสารองค์กร มจร รายงาน )
พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. อธิการบดี มจรบรรยาย..”การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน” จัดโดยสาขาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มจร ในวันอังคารที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐- ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเธียเตอร์โซน D อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
ท่านกล่าวว่า….คนที่ฉลาดจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของตนเอง แต่คนฉลาดกว่าจะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของคนอื่น เราเรียนระดับมหาบัณฑิตต้องพิจารณาให้ดี ไม่ใช้อารมณ์ “รู้เท่าเอาไว้ป้องกัน รู้ทันเอาไว้แก้ไข” เหมือนรู้ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ มีระบบป้องกัน รู้เท่า ตรวจสอบ ป้องกัน รู้ทันเพื่อแก้ไข ตั้งสติ รู้เท่ารู้ล่วงหน้า เช่น คนขับรถที่ชำนาญงานเวลาขึ้นภูเขา รู้ทัน เช่น สุนัขวิ่งตัดหน้า จะแก้ปัญหาเฉพาะอย่างไร คือ ต้องมีสติรู้ทันปัจจุบัน เกิดอะไรขึ้นในปัจจุบัน ต้องมีสติในการแก้ปัญหา เราจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือแย่ลง เมื่อเกิดสถานการณ์ ต้องดูตาม้าตาเรือ
ท่านจะทราบว่าใครมิตรใครคือศัตรู เกิดความขัดแย้งพยายามหามิตรหาแนวร่วมเยอะๆ สถานการณ์ปัจจุบัน คนพยายามยุให้แตกแยกกัน เราอย่าตกเป็นเครื่องมือให้การแบ่งแยก เราอย่าหลงกล ไทยเราถนัดเรื่องการแบ่งแยก หรือยุยง เราในฐานะนักจัดการเชิงพุทธ เราจะทำอย่างไร เราจะใช้พระพุทธศาสนาไปแก้ปัญหาอย่างไร ไทยเรามีนักมวยเยอะ แต่ไม่มีกรรมการห้ามมวย
เรามองปัญหา “แบ่งแยกแล้วปกครอง” ยุให้แตกกันก่อนเพื่อเกิดความระแวง เหมือน วัสสการพราหมณ์ ในมหาปรินิพพานสูตร เริ่มจากวัสสการพราหมณ์ ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อปรึกษาว่า “สมควรยกทัพไปตีวัชชีได้หรือยัง” แทนที่พระพุทธเจ้าจะตอบ”Yes หรือ No” เพราะบางอย่างตอบตรงไม่ได้ บางอย่างต้องตอบตรง บางอย่างต้องย้อนถามกลับ บางอย่างให้แยกตอบตามมุมมองต่าง ตอบปัญหาเหมือน “ตาบอดคลำช้าง” แล้วแต่มุมมองของคนนั้นๆ มีนักข่าวไปถามท่านพุทธทาส ระหว่าง ทานมังสวิรัติกับเนื้อ พุทธทาสตอบว่า “ทานอะไรก็ได้ถ้าทานด้วยจิตว่าง ไม่ยึดติดรสอร่อย” ท่านพุทธทาสแยกตอบไม่ตอบตรง และปัญหาบางอย่างไม่ต้องตอบ ต้องนิ่ง เพราะบางเรื่องตอบไปจะเป็นการเติมเชื้อไฟให้เกิดสถานการณ์ร้อน เช่น พระพนรัตน์ไปขอไว้ชีวิตแม่ทัพนายกองจากสมเด็จพระนเรศวร “แต่มีข้อแม้ว่า แม่ทัพนายกองต้องไปรบให้ชนะ” ท่านตอบว่า “ไม่ใช่กิจของสงฆ์” อะไรที่ไม่กิจของสงฆ์ก็อย่ายุ่ง
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสตอบวัสสการพราหมณ์..”ด้วยการถามพระอานนท์ ว่าวัชชียังปฏิบัติตามอปริหานิยธรรมไหม?” คำตอบคือ วัชชียังปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดมากๆ แสดงว่าวัชชียังสามัคคีกันดีเพราะปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม แค่นั้น วัสสการพราหมณ์ได้คำตอบทันที สุดท้าย “วัสสการพราหมณ์ใช้วิธียุแยง” จนสุดท้ายสามารถตีวัชชีได้ เพราะวัชชีขาดความสามัคคี
“ต้นไม้ใหญ่เวลาล้มไม่ใช่เพราะลมพายุเท่านั้น แต่มีมอดกันกินต้นไม้ พระพุทธศาสนา คือ ต้นไม้ใหญ่” ภาวะทางซ้ายมีปัญหา ทางขวาก็มีปัญหา เหมือนอยู่ตรงกลางเขาควาย ปะทะกันอยู่เรื่อยๆ อยู่ตรงกลางต้องเป็นกลาง พูดง่ายๆ คือ ชาวบ้านทะเลาะกัน เหมือนมคธกับวัชชีทะเลาะกันจะดึงพระพุทธเจ้าไปร่วมกัน
ฉะนั้น เราต้องไม่โดดลงไปรบกับชาวบ้าน ที่น่าสงสารคือคนไทยด้วยกันทะเลาะกัน กฏข้อข้อสำคัญจะต้องไม่ลงไปคลุกฝุ่น ทำไมพระพุทธเจ้าไปไหนมีดอกบัวมารองรับตลอด ดอกบัวเกิดจากโคลนตมแต่เบ่งบานสวยงาม อยู่ในโลกแต่ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม ดอกบัวเกิดท่ามกลางความไม่สวยงาม แต่ทำตนเองให้สวยงาม พระพุทธเจ้า ถือว่าเป็น “พุทธะ” เกิดในโลกแต่ไม่เปื้อนด้วยโลกธรรม ฉะนั้น ต้องเดินตามรอยพระพุทธเจ้า โลกจะเดือดร้อน วุ่นวายเท่าไหร่ก็ตาม แต่เราต้องอยู่เหนือโลก
ภัยพระพุทธศาสนามี ๒ ประเภท คือ ๑ ภัยภายนอก ๒ภัยภายใน
ในฐานะสถาบันการศึกษา มจร. เราจะค้นหาคำตอบได้อย่างไร ค้นหาคำตอบ เราจึงทำวิจัย “เราต้องสร้างความสามัคคี” เราจะทำอย่างไรให้คนรักกันสามัคคีกัน ชาวพุทธทะเลาะกันมันน่าเศร้า เราในฐานะนักจัดการเชิงพุทธจะทำอย่างไร ที่ต่างประเทศใช้สร้างความสามัคคีกับการศึกษาแก้ปัญหาความขัดแย้ง “เราอยากให้คนสามัคคีกัน” ให้ทำสองเรื่อง คือ ยุทธศาสตร์สร้างความสามัคคี คือ
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ กระบวนการให้การให้ข้อมูล ขยาย “ขอบฟ้าแห่งความรู้” ขยายไปรู้จักผู้อื่น วัดต้องรู้จักชุมชน รู้จักศาสนาอื่นด้วย ศึกษาเกี่ยวกับคนอื่น คนสมัยอดีตเราสามัคคีกัน เพราะหมูไปไก่มา แต่ตอนนี้เราไม่รู้จักกัน จึงระแวงกันและกัน จึงเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” เหมือนระเบิดครั้งเดียว ทำให้คนจดจำเพื่อเกิดความระแวงกัน “แบ่งแยกแล้วปกครอง” แม้แต่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังถูกสร้างความระแวงต่อกัน “เราเรียนมหาจุฬาอย่าโง่ ต้องฉลาด” ข่าวสารทำให้เกิดความเกลียดชัง เกิดความหวาดระแวง เราจะทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดความระแวงกันเอง ในฐานะที่เราเป็นสถาบันการศึกษาต้องเผยแพร่ให้คนสามัคคีกันให้มากที่สุด
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ทำงานร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน หาทางให้เขาอยู่ร่วมกัน พุทธเถรวาทและพุทธมหายาน จัดงานวิสาขโลกบูชาพระพุทธเจ้า ฝึกความอดทนคือ ยอมรับความแตกต่าง “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” ต้องสร้างการมีส่วนร่วม
ในสถานการณ์ปัจจุบันต้องตั้งหลักให้ดี “การมีส่วนร่วม” เพื่อแก้ปัญหา หรือเพิ่มปัญหา ทุกวันนี้ใช้คำว่า “การมีส่วนร่วม” ส่วนร่วมเพื่อให้ดีขึ้น หรือแย่ลง ถ้ารัฐธรรมนูญผ่าน เราจะทำงานร่วมกันอย่างไร การมีส่วนร่วมที่ปลอดภัย คือ ใช้ ” หลักธรรมาภิบาล ” รัฐธรรมนูญปัจจุบันคือ “ปราบโกง” ใช้หลักธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการ ซึ่งธนาคารโลกใช้และแนะให้ไทยใช้ “สาขาการจัดการเชิงพุทธ” ต้องจับประเด็นเรื่อง “ธรรมาภิบาล” ให้เข้าสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง บริหารวัด บริหารชุมชน บริหารองค์กร บริหารประเทศ ด้วยหลัก “ธรรมาภิบาล” ต้องมีส่วนร่วม ถ้าเราบริหารวัด บริหารมจร. ด้วยธรรมาภิบาล ไม่มีใครมาแตะต้อง เพราะเรามีความสามัคคีกัน รวมถึงความรับผิดชอบ และเรื่อง “ความโปร่งใส” เป็นการแก้เรื่องโกงโดยเฉพาะ “คนจึงต้องการอำนาจเพราะมันมีผลประโยชน์มหาศาล” ใช้กฏหมายให้เสมอภาคกัน ไม่มีสองมาตรฐาน
ช่วงบ่าย พระเมธีธรรมาจารย์ พระมหาโชว์ ทสฺสนีโย ดร. บรรยาย..”การปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน” และ ผศ.(พิเศษ) ร.อ.ดร. ประมาณเลิศ อัจฉริยปัญญากุล บรรยายเรื่อง “กฤหมายและมิติของพระพุทธศาสนา” โดยมี ดร.ยุทธนา ปราณีต เป้นผู้ดำเนินรายการ จัดโดยสาขาการจัดการเชิงพุทธ คณะสังคมศาสตร์ มจร ในวันอังคารที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมเธียเตอร์โซน D อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา
——————————-