1,663 รวมเข้าชม,  1 เข้าชมวันนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น โดยให้ย้ายการสอนพระปริยัติธรรมจากศาลาบอกพระปริยัติธรรมภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปตั้งที่วัดมหาธาตุ เพื่อเป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและคฤหัสถ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ และโปรดให้เรียกว่า มหาธาตุวิทยาลัย มหาธาตุวิทยาลัยได้เปิดทำการสอนเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ และมีพระบรมราชโองการเปลี่ยนนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์สืบไป ดังปรากฏในประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆิกเสนาศน์ราชวิทยาลัยต่อไปนี้

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนเดิมในนามมหาธาตุวิทยาลัยตลอดมา จนกระทั่งวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระมหาเถรานุเถระ ฝ่ายมหานิกายจำนวน ๕๗ รูป มีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตตเถร) เป็นประธานได้ประชุมกัน ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ ประกาศให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัย ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เปิดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนเดิมในนามมหาธาตุวิทยาลัยตลอดมา จนกระทั่งวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระมหาเถรานุเถระ ฝ่ายมหานิกายจำนวน ๕๗ รูป มีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตตเถร) เป็นประธานได้ประชุมกัน ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ ประกาศให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัย ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เปิดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา

ตามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปณิธานในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีความสามารถในการรักษา และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ พระพิมลธรรม อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ รูปที่ ๑๕ มีความประสงค์จะปรับปรุงการศึกษา ภายในสถาบันการศึกษาที่เป็นอยู่ในขณะนั้นให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ต่อมาพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จึงจัดประชุมพระเถรานุเถระฝ่ายมหานิกาย จำนวน ๕๗ รูป เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ และประกาศให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงในระดับมหาวิทยาลัย เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ หลังจากนั้น พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบการวัดผลมาเป็นระบบหน่วยกิต โดยกำหนดให้นิสิตต้องศึกษา อย่างน้อย ๑๒๖ หน่วยกิต และปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปีก่อนรับปริญญาบัตร

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เปิดสอนคณะครุศาสตร์ และในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เปิดสอนหลักสูตรแผนกอบรมครูศาสนศึกษา ระดับประกาศนียบัตรและเปิดสอน คณะเอเชียอาคเนย์ และเปลี่ยนเป็นคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ และในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ปรับหลักสูตรแผนกอบรมครู ศาสนศึกษาเป็นวิทยาลัยครูศาสนศึกษา และปรับเปลี่ยนหน่วยกิตเป็น ๒๐๐ หน่วยกิต อย่างไรก็ดี การจัดการเรียนการสอนช่วง ๒ ทศวรรษแรก ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากคณะสงฆ์และรัฐเท่าที่ควร ทำให้ประสบปัญหาด้านสถานะของมหาวิทยาลัย และงบประมาณเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถจัดการศึกษามาได้อย่างต่อเนื่อง

ในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ วุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบผ่านร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยมีพลเอกประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๗ พระราชบัญญัติฉบับนี้มี ๑๓ มาตรา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๔๐ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๗

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือรับรองวิทยฐานะเปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งให้มีศักดิ์และสิทธิเท่าปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยทั่วไปและให้มีคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์เป็นผู้ควบคุมดูแลการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์

พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา พ.ศ.๒๕๒๗ ทำให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเติบโตอย่างรวดเร็ว จากที่เคยมีวิทยาเขตเพียงหนึ่งแห่งใน พ.ศ.๒๕๒๗ ได้มีวิทยาเขตเพิ่มขึ้นเป็น ๙ แห่งใน พ.ศ.๒๕๓๔ มหาวิทยาลัยตั้งบัณฑิตวิทยาลัยใน พ.ศ.๒๕๓๑ และเปิดการศึกษาระดับปริญญาโทในปีเดียวกัน

ในวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงลงพระปรามาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ คือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๐ โดยให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ

วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ นายแพทย์รัศมี คุณหญิงสมปอง วรรณิสสรได้ถวายที่ดินจำนวน ๘๔ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา ที่ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแก่มหาวิทยาลัย รวมกับที่ดินที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดซื้อเพิ่มเติม ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๒๓ ไร่

หลังจากนั้น ในวันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทูลเกล้าถวายโฉนดที่ดินทั้ง ๒ แปลงเพื่อพระราชทานแก่มหาวิทยาลัย

ต่อมา ในวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยทรงวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานอธิการบดีจนกระทั่ง ในวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยได้ย้ายที่ทำการจากวัดมหาธาตุและวัดศรีสุดาราม กรุงเทพมหานคร มายังที่ทำการแห่งใหม่ ณ กิโลเมตรที่ ๕๕ ถนนพหลโยธิน ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในที่สุด วันที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดป้ายหอประชุม มวก ๔๘ พรรษา และเปิดป้ายมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ

๒. การขยายสถาบันสมทบไปสู่นานาชาติ

วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔ ขยายการศึกษาไปสู่ต่างประเทศ โดยรับวิทยาลัยพุทธศาสนาดองกุก ชอนบอบ ประเทศเกาหลีใต้เข้าเป็นสถาบันสมทบเป็นแห่งแรก ปัจจุบันมีสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน ๗ แห่ง ในปี ๒๕๔๗ รับมหาปัญญาวิทยาลัย อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา และมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาจิ้ง เจวี๋ย เมืองเกาสง ไชนิสไทเป เป็นสถาบันสมทบ หลังจากนั้น ในปี ๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยได้รับวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ ประเทศศรีลังกา และวิทยาลัยพระพุทธศาสนาสิงคโปร์ เป็นสถาบันสมทบ ต่อมาในปี ๒๕๕๓ มหาวิทยาลัยได้รับมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ธรรมะเกต ปูดาเปสท์ ประเทศฮังการี เป็นสถาบันสมทบ

การดำเนินการเปิดรับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยจาก ๖ ประเทศเข้าเป็นสถาบันสมทบนั้น นับเป็นการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับขององค์กรทางการศึกษาในระดับนานาชาติ จนทำให้องค์กรต่างๆ มุ่งมั่นที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยในการนำระดับ

การจัดการศึกษา และหลักสูตรของมหาวิทยาลัยไปเปิดสอนกลุ่มบุคคลที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ได้ศึกษาและเรียนรู้พระพุทธศาสนาในมิติที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

๓. การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรองรับภารกิจการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ

(๑) การจัดตั้งวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ

การขยายตัวของมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้จำกัดวงอยู่ในพื้นที่ของภาษาไทยเท่านั้น ด้วยเหตุที่มหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับจากชาวพุทธทั่วโลก จึงเป็นเหตุให้มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องเปิดหลักสูตรนานาชาติ เพื่อรองรับกลุ่มบุคคลที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์จากทั่วโลกมาศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยได้อนุมัติโครงการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติเพื่อเป็นที่ศึกษาของบรรพชิตและและคฤหัสถ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยดำเนินการจัดซื้อที่ดิน จำนวน ๗๗ ไร่ ๒ งาน ๕๓ ตารางวา ซึ่งตั้งอยู่ติดกับที่ดินของมหาวิทยาลัยด้านทิศตะวันออก ต่อมามหาวิทยาลัยได้ร่างแผนแม่บทการก่อสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ มหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนรวมวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ จำนวน ๘๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ซื้อวัสดุครุภัณฑ์ประกอบอาคารต่างๆ ซื้อที่ดินเพิ่มเติม ปรับปรุงพื้นที่ ก่อสร้างลานจอดรถ ก่อสร้างป้ายมหาวิทยาลัย งานปรับภูมิทัศน์ต่างๆ โดยรวมงบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น ๒,๑๓๔,๕๙๑,๒๐๖ บาท

๒. จัดตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ

ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) อนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งสมาคมวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ โดยมีมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยพระพุทธศาสนาทั่วโลกเข้าเป็นสมาชิกจำนวน ๑๑๗ สถาบัน สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งนั้น เพื่อสนับสนุนมวลสมาชิก สร้างกรอบการทำงานร่วมกัน รวมไปถึงสร้างความเข้าใจและร่วมมือการทำงานร่วมกันระหว่างมวลสมาชิก ในการการเรียนการสอน การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งนี้ ได้มีการประชุมอธิการบดีและการสัมมนาวิชาการ ระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๑ ของสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานาชาติ ระหว่าง วันที่ ๑๓-๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานาชาติ จัดประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา และสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง “พระพุทธศาสนากับจริยศาสตร์” ณ อุโบสถกลางน้ำ และอาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีอธิการบดี นักวิชาการทั่วโลกเข้าร่วมประชุมกว่า ๑,๗๐๐ รูป/คน

๓. การจัดสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก

ในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยร่วมกันองค์กรพระพุทธศาสนาทั่วโลกได้ร่วมกันลงนามจัดตั้งสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกขึ้น เพื่อกระตุ้นให้องค์กรพระพุทธศาสนาได้ร่วมกันเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกในฐานะวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และธำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกสาร และความสามัคคีของกลุ่มชาวพุทธทั่วโลก โดยให้มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติตั้งสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (International Council for the Day of Vesak) ให้เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ นับเป็นครั้งแรกที่วงการพระพุทธศาสนาไทย ได้รับสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของยูเอ็น

พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ประธานสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันส่งเสริมให้ยื่นเสนอขอรับรองเป็นองค์ที่ปรึกษาพิเศษดังกล่าว และได้มีกิจกรรมส่งเสริมงานของยูเอ็นอย่างต่อเนื่อง โดยการประสานความร่วมมือกับชาวพุทธทั่วโลก เพื่อจัดประชุมวิสาขบูชาโลกแล้ว บูรณาการกับพันธกิจของการจัดตั้ง ๔ ด้าน คือ (๑) การพัฒนาที่ยั่งยืน (๒) สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (โดยเฉพาะเรื่องภาวะโลกร้อน) (๓) การศึกษา และ (๔) การสร้างสันติภาพ

สมาคมสภาสากลวิสาขบูชาโลกนี้ นับเป็นสะพานที่จะทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงชาวพุทธทั่วโลก ทั้งนิกายมหายาน วัชรยาน และเถรวาท ให้สามารถศึกษา เรียนรู้ และเข้าใจซึ่งกันและกัน อันส่งผลในเชิงบวกต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับท้องถิ่น (Local) และในระดับโลก (Global) ให้สอดรับกับวิถีชีวิตและความเป็นไปของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

๔. การจัดตั้งสถาบันภาษา

พระพรหมบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีได้ให้นโยบายต่อการพัฒนาสถาบันภาษาเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติว่า “ภารกิจของมหาวิทยาลัย และกิจกรรมมีสำคัญที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการมา นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเฉพาะกาประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพหลักในการประชุม กระทั้งชาวพุทธทั่วโลกมีมติให้พุทธมณฑล เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก ผลของการจัดกิจกรรมนี้ ทำให้รู้ว่ามหาวิทยาลัยขาดแคลนบุคลกรที่มีความรู้ ความสามารถในด้านภาษา ดังนั้น มหาวิทยาลัย จึงได้ตั้งสถาบันภาษาขึ้นเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลกของไทย ต่างๆให้ความสนใจส่งบุคคลกรเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยมาขึ้น”

จากวิสัยทัศน์ดังกล่าว ในปี ๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยจึงได้เริ่มต้นในการจัดตั้งโครงการสอนภาษาอังกฤษขึ้น เพื่อสนองตอบต่อการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนแก่นิสิตต่างประเทศที่เลือกเรียนในระดับปริญญาตรีภาคภาษาอังกฤษ หลังจากนั้น ในวัน

ที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงมีการจัดตั้งสถาบันภาษาขึ้นอย่างเป็นทางการโดยให้มีสถานะเทียบเท่าคณะ ทั้งนี้ ขณะนี้ สถาบันภาษาได้ดำเนินการรองรับวิสัยทัศน์ของอธิการบดี ทั้งในมิติของการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรการแปลภาษา และภาษาอังกฤษเพื่อวิชาชีพ รวมไปถึงการเปิดสอนภาษาต่างๆ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาบาฮาซา ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาไทย และภาษาบาลี

สถาบันภาษาได้จัดการเรียนการสอนทั้งในระดับประกาศนียบัตร และการสอนภาษาอังกฤษในรายวิชาศึกษาทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษที่ไม่นับหน่วยกิตของคณะต่างๆ และการบริการด้านภาษาให้แก่หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่เพื่อให้สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศรวมไปถึงการให้บริการแก่นิสิตต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ได้ให้บริการแก่หน่วยงานภายนอกทั่วไปที่ประสงค์พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน โดยให้สถาบันภาษาไปดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้แก่บุคลากรของหน่วยงานต่างๆ

๕. การจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา

การพัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นศูนย์กลาง (HUB) ของการศึกษาพระพุทธศาสนาในประชาคมอาเซียนนั้น ถือเป็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๖ มหาวิทยาลัยจึงได้จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา ให้มีสถานะเทียบเท่ากับคณะ (ศูนย์อาเซียนศึกษา วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ และวิทยาลัยพระธรรมทูต) เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยให้ศูนย์อาเซียนศึกษา มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารงาน การวางแผนงาน การพัฒนาเครือข่าย การศึกษาวิจัย การจัดระบบสารสนเทศ และการให้บริการวิชาการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการงานอาเซียน คอยประสานความร่วมมือกับส่วนงานของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่น ๆ ในประชาคมอาเซียน แบ่งการบริหารงานออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนงานบริหาร และ ส่วนวิจัย สารสนเทศและบริการวิชาการ

๖. การจัดตั้งวิทยาลัยพระธรรมทูต

วิทยาลัยพระธรรมทูตมีพัฒนาการมาจากโครงการฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) กรรมการมหาเถรสมาคม ได้เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรม โดยมีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกันในการดำเนินงานคือ (๑) เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตให้มีความรู้ความสามารถ จริยาวัตรอันงดงาม และความมั่นใจในการปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศยิ่งขึ้น (๒) เพื่อเตรียมพระธรรมทูต ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมส่งไปต่างประเทศ (๓) เพื่อสนองงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย

๑.๗ ยุคพัฒนาความรุ่งเรืองของการเป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัย

หลังจากที่มหาวิทยาลัยได้รับการพัฒนาให้เจริญเติบโตทั้งเชิงกายภาย และคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๓๐ จนถึง พ.ศ.๒๕๕๓ นั้น ในปี พ.ศ.         ๒๕๕๓ สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของมหาวิทยาลัยสามารถประเมินได้จากผลลัพธ์เชิงประจักษ์ของการบริหารงานในหลายด้าน ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ

(๒) จำนวนส่วนงานที่เพิ่มขึ้น

สำาหรับส่วนงานสนับสนุนการศึกษานั้น เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูลตั้งแต่ ปี ๒๕๒๑ พบว่ามีจำานวน ๑๑แห่ง ประกอบด้วยสำานักงานอธิการบดี สำานักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ส่วนธรรมนิเทศ มหาจุฬาอาศรม ศูนย์พัฒนาศาสนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศูนย์พุทธวิปัสสนานานาชาติ โครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ นอกจากนี้ มีมัธยมศึกษา ๓ แห่ง คือโรงเรียนบาลีเตริยมอุดมศึกษา โรงเรียนบาลีอบรมศึกษา และโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา

ในขณะที่หลังมีพระราชบัญญัตินั้น ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๕๘ ได้มีส่วนงานขยายเพิ่มเติมเป็นจำานวนมาก โดยเพิ่มจากเดิมเป็น ๑๔ แห่ง สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันภาษา สำานักทะเบียนและวัดผล สถาบันวิปัสสนาธุระ ศูนย์อาเซียนศึกษา กองกิจการวิทยาเขต กองคลังและทรัพย์สิน กองนิติการ กองวิเทศสัมพันธ์ กองสื่อสารองค์กร สำานักงานประกันคุณภาพ สำานักงานตรวจสอบภายใน สำานักงานพระสอนศีลธรรม และสำานักงานสภามหาวิทยาลัย

สำหรับส่วนงานที่จัดการศึกษานั้น หลักฐานที่ค้นพบตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๔๐ พบว่า มีวิทยาเขตจำนวน ๑๐ แห่ง และวิทยาลัยสงฆ์ จำานวน ๔ แห่ง ในขณะที่มีพระราชบัญญัติแล้วพบว่า มีวิทยาลัยสงฆ์จำานวน ๘ แห่ง ห้องเรียนจำานวน ๕ แห่ง หน่วยวิทยบริการ จำานวน ๑๗ แห่ง และ สถาบันสมทบจำานวน ๖ สถาบันสมทบ

(๓) การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการบริหาร การเรียนการสอน และการเผยแผ่ (MIS)เทคโนโลยีการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมศักยภาพให้การเรียนการสอนการศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้มีความรับผิดชอบ ทำาให้การจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาสามารถบูรณาการกับศาสตร์ สมัยใหม่ได้อย่างสมสมัย อีกทังจะช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น

ด้วยการตระหนักรู้ในคุณค่าและความสำคัญของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในลักษณะดังกล่าว จึงทำาให้มหาวิทยาลัยได้ตัดสินใจ พัฒนา MCUTV มาเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดพื้นที่ให้นิสิตในส่วนภูมิภาคได้เรียนรู้จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในส่วนกลางอีกทั้งสามารถเข้าใจถึงวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งให้นำหลักพระพุทธศาสนาไปบูรณาการกับศาสตร์ใหม่ๆ นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยได้พัฒนาอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อให้ส่วนงานจัดการศึกษา และส่วนงานสนับสนุนการศึกษาสามารถพัฒนาอีบุ๊ค (E-Book) เพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การนำพัฒนาเทคโนโลยีมิได้มีนัยที่จำากัดตัวเฉพาะในส่วนของการจัดการศึกษาเท่านั้นมหาวิทยาลัยได้นำเอา UNI-Net มาพัฒนาการให้การบริการของห้องสมุด และเป็นเครื่องมือในการบริหารสารสนเทศ โดยการนำาระบบสารสนเทศมาใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อการบริหาร จัดการส่วนงานต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์และความต้องการของนิสิตมากยิ่งขึ้น

(๔) พัฒนาคัมภีร์ งานวิจัย ตำรา และหนังสือทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาพระไตรปิฎก ภาษาไทย และภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมไปถึง พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยบน ซีดี – รอม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓ จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งพระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับนี้มีอิทธิพลสำคัญต่อการพัฒนางานวิจัย งานตำรา และหนังสือของมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนการการพัฒนาหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสากล(Common Buddhist Text) ซึ่งมีเนื้อหาจาก ๓ นิกายใหญ่ คือ มหายาน วัชรยานและเถรวาท โดยมีนักวิชาการทั้ง ๓ ยานมาร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาภายใต้กรอบ ของพระรัตนตรัย คือ เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธเจ้า เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรม และเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทและความสำาคัญของพระสงฆ์ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนให้มีโครงการพัฒนาสหบรรณานุกรมพระไตรปิฎก (The Union Catalog of Buddhist Text) เพื่อให้นักวิชาการและผู้สนใจสามารถเข้าถึงเนื้อหาของคัมภีร์พระพุทธศาสนาของนิกายต่างๆได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

กล่าวโดยสรุปแล้ว ความรุ่งเรืองของมหาวิทยาลัยสามารถประเมินการเติบโตและเพิ่มขึ้นขึ้นงบประมาณ หลักสูตร จำนวนนิสิต จำนวนผู้จบการศึกษา จำนวนของส่วนงานจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษา จำนวนการผลิตผลงานทางวิชาการ ทั้งคัมภีร์ ตำรา หนังสือ และงานเขียนต่างๆ จำนวนมาก สำหรับตัวแปรสำาคัญที่นำไปสู่ความรุ่งเรืองนั้นเกิดจากการที่มหาวิทยาลัยมีพระราชบัญญัติเป็นกรอบในการบริหารจัดการในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการบริหาร การมีทรัพยากรทั้งงบประมาณ และบุคลากรที่พร้อมพลัน การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อการบริหารและการจัดการเรียนการสอนการสร้างเครือข่ายของชาวพุทธทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศจนทำให้เกิดการยอมรับและร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา และจัดงานนานาชาติร่วมกัน ดังจะเห็นได้จากการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลก และการจัดสัมมนานานาชาติอย่างต่อเนื่อง