“มจร โคราช เข้มจริง! นิสิตทุกชั้นปีต้องสอบภาษาอังกฤษ”

 1,678 รวมเข้าชม

“มจร โคราช เข้มจริง! นิสิตทุกชั้นปีต้องสอบภาษาอังกฤษ”
◇ ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีประกาศ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรี พ.ศ ๒๕๖๓ เพื่อให้การประเมินทักษะภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๙
♧ ให้“นิสิต” ผู้ศึกษาในระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต้องได้รับการประเมินทักษะภาษาอังกฤษของนิสิต มีคะแนนทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง (ตามความข้อ ๔ ในประกาศ)
♡ โดยให้สถาบันภาษา มีหน้าที่ประสานงานกับคณะ วิทยาเขต วิทยาลัย ร่วมออกข้อสอบ จัดสอบ และตรวจข้อสอบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และแจ้งรายชื่อไปยังสำนักทะเบียนและวัดผล เพื่อบันทึกข้อมูลผู้สอบผ่าน
♤ นิสิตผู้เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ที่จะขอสำเร็จการศึกษาต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษตามความในข้อ ๔ โดยสำนักทะเบียนและวัดผล บันทึกข้อมูลในใบแสดงผลการศึกษา
□ อย่างไรก็ตาม วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม เป็นส่วนงานแรกนำร่องที่ได้มีการประสานความร่วมมือสถาบันภาษา เพื่อดำเนินการจัดการอบรมและทดสอบความสามารถภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี โดยได้มีการจัดการทดสอบภาษาอังกฤษ MCU-GET สำหรับนิสิตชั้นปีที่ ๓ และชั้นปีที่ ๔ จำนวน ๑๐๐ รูป เมื่อจันทร์ที่ ๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓
○ สำหรับ มจร วิทยาเขตนครราชสีมา ได้มีการประสานงานเพื่อดำเนินการจัดสอบดังกล่าว โดยจะจัดการทดสอบนิสิตระดับปริญญาตรีทุกชั้นปี จำนวน ๒๐๐ รูป/คน โดยการแบ่งจัดสอบ ๒ วัน ระหว่าง วันที่ ๑-๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ สถาบันภาษา ได้นำรูปแบบและวิธีการดำเนินการเช่นเดียวกับวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว

ร่วมบำเพ็ญบุญกุศลในวันอาสาฬบูชา ณ วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ

 1,049 รวมเข้าชม

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมบำเพ็ญบุญกุศลในวันอาสาฬบูชา ณ วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ ตำบลลำไทร อำภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันอาทิตย์ที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
กำหนดการ
เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะสงฆ์ และพุทธศาสนิกชน พร้อมกัน ณ บริเวณพิธีหน้าโบสถ์กลางน้ำ
เวลา ๐๙.๓๐ น. พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ จุดรูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นำคณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
เวลา ๑๐.๑๙ น. พิธีเวียนเทียนรอบอุโบสถกลางน้ำ
เวลา ๑๐.๓๙ น. ปลูกต้นไม้ถวายเป็นพุทธบูชา “วันอาสาฬหบูชา” และเปิดศูนย์พุทธเกษตร มจร
เวลา ๑๑.๐๐ น. ฉันภัตตาหารเพล/รับประทานอาหาร

ดูน้อยลง

โครงการเครือข่ายพลังบวรพิทักษ์คลองกระทิง การเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดสมุทรสงคราม

 1,192 รวมเข้าชม

วันนี้ (3 มี.ค. 63) โครงการเครือข่ายพลังบวรพิทักษ์คลองกระทิง การเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมกับคณะสงฆ์วัดอินทาราม ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ภายใต้โครงการสร้างเสริมเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา โดยการสนับสนุนของสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม “เลิกดื่ม เลิกสูบ ลดเสี่ยง” โดยมีเป้าหมายเพื่อการรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงหลัก ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ในช่วงสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ประจำปี 2563 อีกทั้งยังจัดกิจกรรม บวชใจ อธิษฐาบารมี ลดเหล้า ปฏิญาณตน ลด ละ เลิก เหล้า-บุหรี่ ในช่วงเข้าพรรษา
ในโอกาสนี้ได้รับความเมตตาจาก พระเดชพระคุณ พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารเป็นประธานในพิธีและให้โอวาท โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ คือ เหล้า-บุหรี่ เป็นความเสี่ยงในชีวิตของมนุษย์อย่างหนึ่ง
“.. สุขกามานิ ภูตานิ ..” สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข, ความสุขในที่นี้คือ ทั้งสุขกาย และสุขใจ เมื่อความสุขคือเป้าหมายของมนุษย์ เราควรพิจารณาว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ขัดขวางนั้นคือความเสี่ยง เช่น เราไปดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือติดยาเสพติด เป็นต้น
พระเดชพระคุณยังชี้ให้เห็นว่า การสร้างเครือข่ายการลดปัจจัยเสี่ยงดังที่ทำในวันนี้ จะมีส่วนอย่างมากในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาวะรวมถึงจะมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของคนที่จะลดความเสี่ยงโดยเฉพาะการดื่มสุราและสูบบุหรี่ได้
นอกจากนี้พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ ดร. (หลวงพ่อแดง นันทิโย) เจ้าอาวาสวัดอินทาราม กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบันชุมชนคลองกระทิง มีผู้ติดบุหรี่และติดเหล้า ประมาณ 10 คน โดยกิจกรรมนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการนำหลักพลังบวรมาสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงต่อไป
โดยเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามาร่วมเป็นภาคีในวันนี้ อาทิ
– คณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม โดย พระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม
– สำนักงานจังหวัดสมุทรสงคราม โดย นายชรัส บุญณสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
– มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดย รศ.ดร. สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
– สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม โดย นายแพทย์สันทิต บุณยะส่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม
– และภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ทั้งระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น

ตรวจประเมินการปฏิบัติงาน”สำนักทะเบียนและวัดผล”

 348 รวมเข้าชม

วันพุธที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
สำนักทะเบียนและวัดผล นำโดย พระครูศรีสิทธิบัณฑิต, ดร. ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและวัดผล พร้อมด้วยผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ สำนักทะเบียนและวัดผล ต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินผลการปฏิบัติงานส่วนงานสนับสนุน ซึ่งมี พระศรีศาสนบัณฑิต, ผศ. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา, รก.ผู้อำนวยการสถาบันพระไตรปิฎกศึกษา เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะกรรมการ ประกอบด้วย พระมหาประยูร โชติวโร, ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต และ ดร.รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์ รองผู้อำนวยสถาบันภาษา ณ ห้องพระมงคลสิทธาจารย์ ( C 300)

การตรวจประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักทะเบียนและวัดผล เป็นการตรวจรวมส่วนงานในนามสำนัก ตามองค์ประกอบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมด ๓ องค์ประกอบ คือ
องค์ประกอบที่ ๑ การบริหารจัดการ มี ๖ ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑ : กระบวนการพัฒนาแผน
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๒ : การพัฒนาส่วนงานสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๓ : สารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจ
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๔ : ระบบบริหารความเสี่ยง
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๕ : การควบคุมภายใน
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๖ : การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร

องค์ประกอบที่ ๒ การดำเนินงานภารกิจหลัก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ : ระบบและกลไกการรับนิสิต
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒ : ระบบและกลไกการประเมินผลการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๓ : การจัดการงานทะเบียนนิสิต
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๔ : ประสิทธิผลการจัดการงานข้อสอบกลาง
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๕ : การพัฒนาการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จในขั้นตอนเดียว (One Stop Service)
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๖ : การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักทะเบียนและวัดผล
องค์ประกอบที่ ๓ การดำเนินงานภารกิจพิเศษ
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑ : การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายนอกเหนือจากภารกิจหลัก
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒ : การมีส่วนร่วมงานจิตอาสา
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๓ : ความพึงพอใจต่อการให้บริการของส่วนงาน

ผลการตรวจประเมินได้คะแนนรวมทั้งหมดที่ ๓.๘๓ ถือว่าผ่านเกณฑ์ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด








วิทยาลัยสงฆ์เลย มจร จัดพิธีไหว้ครู ต้อนรับนิสิตใหม่และพิธีมอบประกาศนียบัตรและวุฒิบัตร

 671 รวมเข้าชม

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย จัดพิธีไหว้ครู ต้อนรับนิสิตใหม่และพิธีมอบประกาศนียบัตรและวุฒิบัตร หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.), ร่วมแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.ธงชัย สิงอุดม ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ระดับ รองศาสตราจารย์ ทั้งนี้ยังได้รับความเมตตาจากนายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส. จังหวัดเลย เขต 1 ได้มอบทุนการศึกษาแก่นิสิตของมหาวิทยาลัย การจัดพิธีไหว้ครู ต้อนรับนิสิตใหม่นั้นเพื่อแสดงถึงความเคารพและระลึกถึงอุปการคุณ แสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม และช่วยให้นิสิตได้ประพฤติปฏิบัติสัมพันธ์อันดี ก่อให้เกิดความรักความสามัคคี เอื้อเฟื้อต่อกันและกัน

พระที่เชียงใหม่ วัย 80 ปี-มุเรียนจนจบ ดร.ที่ มจร.

 1,057 รวมเข้าชม

อดีตช่างกองทัพอากาศ ประจำกองบิน 2 โคกกะเทียม จ.ลพบุรี รับคำท้าเมียให้บวชพระตอนอายุ 68 ปี แต่ไม่ทิ้งการเรียน มุมานะ แม้ต้องเดินทางไกลจากเชียงใหม่ เข้ากรุงเทพฯทุกสัปดาห์ตลอด 3 ปีไม่เคยขาดเรียน จนจบปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) เมื่ออายุ 80 ปี เผย ตั้งใจจะนำความรู้มาพัฒนาวัดพันตอง จ.เชียงใหม่ และช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพราะพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษ จีน และญี่ปุ่น

ที่หอประชุม มวก.48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 24 พ.ค. มีการซ้อมรับปริญญาบัตรของผู้ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยในปี 2562 นี้ มีผู้สำเร็จการศึกษาเป็นบรรพชิต 2,123 รูป คฤหัสถ์ 1,753 คน จะเข้ารับประทานปริญญาบัตรจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อมฺพโร) ในวันที่ 25-26 พ.ค.นี้ ที่หอประชุม มวก.48 พรรษา ในพิธีการซ้อมรับปริญญาบัตรดังกล่าวพบว่า มีพระสงฆ์สูงอายุรูปหนึ่ง เข้าร่วมซ้อมรับปริญญาบัตรในระดับปริญญาเอกด้วย ท่ามกลางบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่ร่วมซ้อมต่างชื่นชมในความสามารถของพระสงฆ์รูปดังกล่าว ที่แม้ว่าจะมีอายุมากแล้ว แต่ก็ยังมุมานะจนเรียนจบระดับปริญญาเอกได้

ภายหลังเสร็จพิธีการซ้อมเสร็จสิ้น ผู้สื่อข่าวเข้าไปสอบถามพระภิกษุรูปดังกล่าว ทราบชื่อคือ พระวิจัย อิทฺธิโก พระลูกวัดวัดพันตอง อ.เมืองเชียงใหม่ อายุ 80 ปี เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้เคยทำงานเป็นช่างประจำกองทัพอากาศประจำอยู่ที่กองบินที่ 2 อ.โคกกระเทียม จ.ลพบุรี อยู่ 23 ปี ในระหว่างนั้นได้สมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในคณะนิติศาสตร์ จนจบปริญาตรี กระทั่งปี 2523 ลาออกจากราชการไปทำงานที่ประเทศอิรัก ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐ–อาหรับเอมิเรตส์ และที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกา ก่อนเดินทางกลับเมืองไทยตอนอายุ 68 ปี ตอนนี้มีลูกชาย 2 คน คนโตต้องการจะบวช ภรรยาตนท้าทายตนว่า เมื่อลูกบวชแล้วพ่อจะบวชด้วยหรือไม่ ปกติตนเป็นคนชอบทำบุญอยู่แล้ว จึงตัดสินใจบวชพร้อมกับลูกชายที่วัดพันตอง เมื่อบวชได้ระยะหนึ่งมีพระนิสิต มจร.มาให้ช่วยทำแบบฝึกหัดภาษาอังกฤษ ตนก็ช่วยทำ เมื่อพระนิสิตรูปดังกล่าวเห็นว่าตนมีความรู้ภาษาอังกฤษ ได้แนะนำให้เรียนปริญญาโท โดยขณะนั้นเจ้าอาวาสวัดพันตองให้ตนเป็นที่ปรึกษา และแนะนำให้เรียน จึงตัดสินใจเรียนต่อปริญญาโท สาขาวิชาพุทธศาสตร์ ที่ มจร.วิทยาเขตวัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ เพื่อนำความรู้มาพัฒนาวัด

พระวิจัยกล่าวต่อไปว่า เมื่อสำเร็จปริญญาโทแล้วเลยเรียนต่อปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ต่อไปที่ มจร.ส่วนกลาง อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา แม้ว่าระยะทางจะไกลจากเชียงใหม่มาก แต่ได้รับการ สนับสนุนจากลูกชายคนเล็ก ซื้อตั๋วเครื่องบินให้บินมาเรียนทุกเสาร์-อาทิตย์ ตลอด 3 ปี ไม่เคยขาดเรียน จนจบการศึกษา ตั้งใจว่าจะนำความรู้มาช่วยพัฒนาวัด เพราะวัดพันตองมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวตลอด ซึ่งตนสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษ จีน และญี่ปุ่น คิดว่าสามารถช่วยงานวัด ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลผู้มีชื่อเสียงจบปริญญาเอกจาก มจร.ในปีนี้ด้วย อาทิ หม่อมอัญชลี ยุคล ณ อยุธยา ชายา พล.อ.หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล นายเขมชาติ ปริญญานุสรณ์ หรือ “คฑา ชินบัญชร” หมอดู ไพ่ยิปซีชื่อดัง น.ส.สุทธนรี กระจ่างคันถมาตร์ หรือ “นรีกระจ่าง คันธมาส” นักร้องชื่อดัง และนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

นื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

 1,116 รวมเข้าชม

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้จัดให้มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ และลงนามถวายพระพรชัยมงคล
ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๑๒.๓๐ น. โดยมีพระราชวรเมธี,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ รวมทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ คฤหัสถ์ทุกส่วนงาน ร่วมกันแต่งชุดปกติขาว และเข้าร่วมลงนามถวายพระพร ณ อาคาร มวก.๔๘ พรรษา

 

พิธีเปิดการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

 307 รวมเข้าชม

พิธีเปิดการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
———————————
๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๒ : พระธรรมปัญญาบดี นายกสภามหาวิทยาลัย เมตตาเป็นประธานในพิธีเปิดการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
และกล่าวให้โอวาทแก่นิสิต ความว่า “คนไม่รู้หนังสือเหมือนกระบือตาบอด ไม่รู้ทิศเหนือทิศใต้ ไม่รู้หนองน้ำอยู่แห่งไหน
ความพรากเพียร ขยันเรียนหนังสือ นั้นคือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการศึกษาและการดำเนินชีวิต”ณ อาคาร มวก ๔๘ พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา

โครงการสร้างเสริมอัตลักษณ์นิสิต มจร. สำหรับนิสิตชั้นปีที่ ๑ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖

 1,074 รวมเข้าชม

กองกิจการนิสิต มจร. จัดโครงการสร้างเสริมอัตลักษณ์นิสิต มจร. สำหรับนิสิตชั้นปีที่ ๑ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ เพื่อเตรียมความพร้อมให้นิสิตได้ทราบคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ตามนวลักษณ์ ๙ ประการของมหาวิทยาลัย ได้ทราบกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย และสามารถปรับตัวในระบบการศึกษา ตระหนักให้เกียรติภูมิและเกียรติศักดิ์ของความเป็นนิสิต มจร.
ในปีการศึกษา ๒๕๖๒ นี้ มีนิสิตใหม่ ชั้นปีที่ ๑ เข้าโครงการฯ ทั้งสิ้น จำนวน ๔๓๒ รูป/คน โดยมี พระเดชพระคุณพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร.อธิการบดี มจร. เมตตาเป็นประธานเปิดโครงการ กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และบรรยายพิเศษ เรื่อง “รู้จักและภาคภูมิใจในความเป็นลูกศิษย์ มจร.