328 รวมเข้าชม,  1 เข้าชมวันนี้

การจัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินงาน โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย | 25 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์​ “มหาจุฬาฯ กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ในโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย



โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ ยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยจะไปร่วมงานกับชุมชนร่วมกันสร้างงานสร้างรายได้และพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน

มีเป้าหมาย คือ

แก้ปัญหาการว่างงาน แก้ปัญหาความยากจนของชุมชนเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง ยั่งยืน
ฝึกเด็กให้เป็นนักสำรวจวิจัยเพื่อทำความเข้าใจ ในการทำข้อมูลชุมชนหรือ Big Data เพื่อนำไปสู่การพัฒนารายพื้นที่
ให้นิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ รวมถึงประชาชน 6 หมื่นคนมีสำนึกของการปฎิบัติให้มาก ได้เรียนรู้จากการปฎิบัติจริง

 

โดยเริ่มต้นโครงการในปีงบประมาณ 2564
วันที่เริ่มต้นโครงการ คือ 1 มกราคม 2564
และวันที่สิ้นสุดโครงการคือ 31 ธันวาคม 2564

 

โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี มอบหมายให้ รศ.ดร. สุรพล สุยะพรหม เป็นประธานกรรมการในการดำเนินงาน โดยมี พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เป็นผู้บริหารจัดการโครงการโดยรวม

ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการทั้งสิ้น 5 ตำบล ดังนี้

ตำบลท่าเรือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใน ตำบล อาทิ เช่น กิจกรรมพัฒนาทักษะช่างจักสานย่านลิเภารุ่นใหม่ กิจกรรมพัฒนาบรรจุภัณฑ์แปรรูปอาหารและ M-Market  กิจกรรมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศเส้นทางตลาดน้ำท่าเรือ กิจกรรมมัคคุเทศน์สามวัย กิจกรรมส่งเสริมตำบลสีเขียวสู้ภัยโควิด กิจกรรมสร้างยิ้มปันสุขและการจัดการภูมิปัญญาผู้สูงวัย

ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใน ตำบล อาทิ เช่น กิจกรรมการป้องกันโควิด 19 กิจกรรมวันลอยกระทง ตลาดย้อนยุคคนชุม ตลาดออนไลน์  ผลิตภัณฑ์กระบองเพชรจิ๋ว ผลิตภัณฑ์พรมพักเท้า ผลิตภัณฑ์พระสี่อิริยาบถ ผลิตภัณฑ์เมี่ยงสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพร และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ

ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใน ตำบล อาทิ เช่น กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมปูนปั้นผลิตภัณฑ์หัตถจักรสานจากเชือกฟางและผลิตภัณฑ์จากถุงหอม กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชนตำบลนอกเมือง กิจกรรมนำความรู้ด้านเทคโนโลยีส่งเสริมสุขภาพไปบริการชุมชน กิจกรรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียน กิจกรรมลอยกระทง

ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใน ตำบล อาทิ เช่น กิจกรรมเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสินค้าโอท็อปเครื่องจักสาน กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการตลาดยุคดิจิทัล กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบบูรณาการของชุมชนตำบลฝายแก้ว กิจกรรมส่งเสริมการทำเกษตรวิถีพุทธ โครงการ U2T Covid-19 Week ก้าวต่อไปสู้ภัยโควิด โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตสารชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราบิวเวอเรีย

ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใน ตำบล อาทิ กิจกรรมงานตลาดชุมชนวัดภูเขาทอง งานแม่ประเทืองขนมไทยความอร่อยจากรุ่นสู่รุ่น กิจกรรมงานวิจัยเสน่ห์วิถีกรุงเก่า กิจกรรมงานอบรมพัฒนาสินค้า Otop ปลาตะเพียนใบลาน การพัฒนากลุ่มแม่ประเทืองขนมไทย การลงพื้นที่โคกหนองนาโมเดล

 

 ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ

ชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการยกระดับสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน

รายได้หมุนเวียนจากอาชีพเสริมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว

เกิดการจ้างงาน ประชาชนทั่วไป บัณฑิตใหม่และนักศึกษา

 

ผลลัพธ์เชิงสังคม

การยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน คือต่อยอดสู่ ธุรกิจในชุมชนส่งผลให้คนในชุมชนและภาคี

เครือข่ายได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการ ดำเนินงานเพื่อสังคมอันนำไปสู่การพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งมีอาชีพที่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและคนในชุมชนมีรายได้  ควบคู่กับการร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของ ชุมชนที่นำไปสู่สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต ที่เป็นช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชน และสร้างความมั่นคงทางอาชีพและคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

นำไปสู่การเป็นชุมชนที่ ยั่งยืน  พอเพียง และพ้นความยากลำบาก ต่อไป

สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์

Recommended Posts