140 รวมเข้าชม,  1 เข้าชมวันนี้

]

การนับถือผีบรรพบุรุษเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวอุษาคเนย์โบราณก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเข้ามาถึงและผสมผสานร่วมกับวัฒนธรรมดั้งเดิม เมื่อชาวเวียดนามรับเอาพระพุทธศาสนากิจกรรมทางความเชื่อก็ปรับเปลี่ยนไปตามพลวัตสังคม
การนับถือพลังเหนือธรรมชาติเป็นสัญชาตญาณและปรากฏอยู่ในทุกสังคมของโลก หากแต่มีความแตกต่างกันในรูปแบบของพิธีกรรมและศาสนา แต่เป้าหมายของการนับถือพลังเหนือธรรมชาติเหล่านั้นเพื่อได้รับการตอบรับคสิ่งที่ปรารถนาจากอำนาจเหนือธรรมชาติ
การมีหิ้งบูชาในบ้านของชาวเวียดนามไม่แตกต่างไปจากการมีหิ้งบูชาในวัฒนธรรมความเชื่ออื่น ๆ ทั้งในลาว กัมพูชาและพม่า หิ้งบูชาเป็นพื้นที่ (space) การเชื่อมต่อระหว่างโลกทางกายภาพและโลกทางจิตวิญญาณ หิ้งบูชาไม่เพียงเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แต่ยังเป็นพื้นที่ของการสื่อสารระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมนุษย์ นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้จักรวาลอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วย ผ่านกลไกทางประเพณีการเคารพผีบรรพบุรุษและธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดจักรวาลวิทยา (cosmogony) อันเก่าแก่ของมนุษยชาติด้วย
                                                                                                        (หิ้งบูชาแบบพุทธของชาวเวียดนาม)
อย่างไรก็ตาม การรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาส่งผลให้เกิดการทับซ้อนระหว่างพื้นที่ขึ้น กล่าวคือ จักรวาลวิทยาของชาวเวียดนามได้เปลี่ยนไปตามความเชื่อของพระพุทธศาสนา ต่างจากจักรวาวิทยาดั้งเดิมคือ “เมืองฟ้า” และ “เมืองคน” ดังนั้น การจัดวางตำแหน่งของหิ้งบูชาจึงปรับเปลี่ยนไปด้วย แต่การผสมผสานเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด
 
                                                                                              (หิ้งบูชาการจัดเเบ่งพื้นที่ระหว่างผีและพุทธของชาวเวียดนาม)
ดังที่เราพบได้ในปัจจุบัน หิ้งบูชาของชาวเวียดนามได้ประกอบด้วยการจัดวางตำแหน่งตามศาสนาของแต่ละบ้านที่นับถือ ไม่เพียงแต่ของพระพุทธศาสนาเท่านั้น หากครอบครัวใดนับถือคริสต์ศาสนาก็จะจัดวางสัญลักษณ์ทางศาสนาตั้งรวมไว้ด้วย
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สั่งสมมาของแต่ละชาติพันธ์ สะท้อนถึงความจารีต จริยธรรม และอัตลักษณ์ประวัติศาสตร์ของแต่ละชาติได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณ
ภาพประกอบ: พระมหาสมพงษ์ สนฺตจิตฺโต, ดร.
เรียบเรียงและเผยแพร่ : พระอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที
ผู้ช่วยบรรณาธิการ : มุกรวี ฉิมพะเนาว์
บรรณาธิการ : พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร.

ASEAN Studies Centre

Recommended Posts