ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ ขอเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตร HTML5+CSS3 และ Javascript

 70 รวมเข้าชม

]

ตามที่ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดการอบรมหลักสูตร HTML5+CSS3 และ Javascript ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ในระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ มกราคม ๒๕๖๖ เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการใหม่
**เลื่อนวันอบรมมาเป็นวันที่ ๓๐-๓๑ มกราคม ๒๕๖๕ (๒วัน) เวลา ๐๙.๓๐-๑๖.๓๐ น. โดยอบรมออนไลน์ผ่าน Zoom ID : 9898248050 และสามารถลงทะเบียนเข้าอบรมได้ที่ https://forms.gle/2brqLpw5Yen2nohSA
ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศได้มอบหมายให้ นายนพดล เพ็ญประชุม ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากรตลอดหลักสูตร

The post ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ ขอเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตร HTML5+CSS3 และ Javascript first appeared on ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ขอเชิญเข้าอบรมหลักสูตร “โปรแกรมการบริหารการทำงานร่วมกัน Microsoft Teams” ครั้งที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖

 202 รวมเข้าชม

]

ขอเชิญผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ทั้งส่วนกลาง/ส่วนภูมิภาค เข้าอบรมหลักสูตร “โปรแกรมการบริหารการทำงานร่วมกัน Microsoft Teams” ครั้งที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. โดยอบรมออนไลน์ผ่าน Zoom ID : 9898248050 และสามารถลงทะเบียนเข้าอบรมได้ที่ https://forms.gle/VThJAWYJVuj58a4N6
ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศได้มอบหมายให้ นายฐิติวัฒน์ หวังสุขใจ ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นวิทยากรตลอดหลักสูตร

The post ขอเชิญเข้าอบรมหลักสูตร “โปรแกรมการบริหารการทำงานร่วมกัน Microsoft Teams” ครั้งที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ first appeared on ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ขอเชิญบุลากรจาก ๑๑ วิทยาเขต เข้าอบรมหลักสูตร “การใช้งานระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ MCU E-meeting” ครั้งที่ ๒ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (เฉพาะผู้ดูแลงานประชุมของส่วนงาน)

 63 รวมเข้าชม

]

ขอเชิญบุลากรจาก ๑๑ วิทยาเขต เข้าอบรมหลักสูตร “การใช้งานระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ MCU E-meeting” ครั้งที่ ๒ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (เฉพาะผู้ดูแลงานประชุมของส่วนงาน)
ในวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น. โดยอบรมออนไลน์ผ่าน Zoom ID : 9898248050 และสามารถลงทะเบียนเข้าอบรมได้ที่ https://forms.gle/PtboUDQ2jMu17Lzo6
ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศได้มอบหมายให้ นายไกรษร ราชนิจ ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป เป็นวิทยากรตลอดหลักสูตร

The post ขอเชิญบุลากรจาก ๑๑ วิทยาเขต เข้าอบรมหลักสูตร “การใช้งานระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ MCU E-meeting” ครั้งที่ ๒ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (เฉพาะผู้ดูแลงานประชุมของส่วนงาน) first appeared on ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รองฯ กต. พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ วพท. กวส. ถวายสักการะพระโสภณวชิราภรณ์

 58 รวมเข้าชม

]วันอาทิตย์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๙ น. พระเดชพระคุณพระโสภณวชิราภรณ์, ดร. อัคคมหาบัณฑิต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม เมตตาให้โอกาส พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยพระธรรมทูตและกองวิเทศสัมพันธ์ เข้าถวายสักการะ ในมงคลดิถีอภิลักขิตสมัย เถลิงศก ๒๕๖๖ และในอภิลักขิตสมัยอายุวัฒนมงคลคล้ายวันเกิดของพระเดชพระคุณ ณ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยพระธรรมทูตและกองวิเทศสัมพันธ์ ที่เข้าถวายสักการะพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์ ประกอบด้วย พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ พระมหาประยูร โชติวโร รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต พระครูใบฎีกาแสงเฮือง นรินฺโท รักษาการรองผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต พระมหาวิเชียร สุธีโร ป.ธ.๙ ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาลัยพระพระธรรมทูต พระมหาโกศล ธีรปญโญ ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ พระสิริวรรณะ สิริวณฺโณ รองผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน นักวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์วิทยาลัยพระพระธรรมทูตทั้ง ๒ รูป คือ มหาทองเก็บ […]

วิทยาลัยพระธรรมทูต : Dhammaduta College

กัมพูชา ชาติแรกในอาเซียน ตั้งเป้า “ความเป็นกลางทางคาร์บอน”

 123 รวมเข้าชม

]

นาย Say Samal รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า กัมพูชาเป็นชาติแรกในกลุ่มอาเซียนที่วางกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านเป้าหมายปี 2593 ของกัมพูชา
.
ซึ่ง Samal ระบุว่าประมาณ 2.3% ของ GDP ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การปกป้องผืนป่า และเพื่อเตรียมการสำหรับกลยุทธ์การพัฒนาเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน
.
โดยกัมพูชาเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับแผนงานดังกล่าวต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เกี่ยวกับมาตรการที่จะริเริ่มเพื่อให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 หรือที่รู้จักกันในชื่อ ยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (LTS4CN)
.
นอกจากนี้ Neth Pheaktra โฆษกกระทรวงสิ่งแวดล้อมยังกล่าวว่า ระบบคาร์บอนเครดิตยังเป็นประโยชน์ต่อกัมพูชา จากการปกป้องผืนป่าผ่านการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การปศุสัตว์ และการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ประกอบกับจะได้รับประโยชน์ในระยะสั้นจากการค้าในตลาดคาร์บอนแบบภาคสมัครใจ ส่วนในระยะยาวจะมาจากการจ่ายชำระตามผลการดําเนินการภายใต้ UNFCCC
ที่มา AEC Connect

ASEAN Studies Centre

ลูกศิษย์ชาวไทใหญ่ถวายสักการะ พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, ผศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มจร

 48 รวมเข้าชม

]ลูกศิษย์ชาวไทใหญ่ถวายสักการะ พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน, ผศ.ดร.รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ วันอาทิตย์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๓๙ น. พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ รับการถวายสักการะ จากกลุ่มพระสงฆ์ลูกศิษย์ ชาวไทใหญ่ นำโดย พระครูใบฎีกาแสงเฮือง นรินฺโท รักษาการรองผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต ปรารภอภิลักขิตสมัยมงคลดีถีปีใหม่ ๒๕๖๖ ณ สำนักงานเจ้าคณะภาค ๙ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร โอกาสนี้ อาจารย์ได้น้อมนำธรรมคำสอนของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆสาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เรื่อง “มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง” มาปรารภให้ลูกศิษย์สดับรับฟัง เพื่อเป็นพลังในการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พร้อมกับอธิษฐานจิตอำนวยพรให้ลูกศิษย์ทุกท่าน ประสพสุขสวัสดีเจริญรุ่งเรืองด้วยจตุรพิธพรชัยมงคลในพระธรรมวินัยสืบไป ฯ ข่าว : วิทยาลัยพระธรรมทูต รายงาน :  นายลิขิต บุญละคร ภาพ : วิทยาลัยพระธรรมทูต

วิทยาลัยพระธรรมทูต : Dhammaduta College

มาเลเซีย หวังพึ่ง จีน ผลักดันภาค EV โต

 259 รวมเข้าชม

]

นาย Anthony Loke Siew Fook รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของมาเลเซียเปิดเผยว่า มาเลเซียตั้งเป้าที่จะดึงดูดการลงทุนจากบรรดาบริษัทจากจีนให้มากขึ้นเพื่อพัฒนาภาคธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในวงกว้าง
.
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับมาเลเซีย แต่รัฐบาลก็พยายามที่จะก้าวข้ามด้วยการสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญและพร้อมด้วยเทคโนโลยีในด้านนี้ เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศ
.
นาย Loke Siew Fook อธิบายเพิ่มเติมว่า รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นเทรนด์สำคัญที่จะกำหนดรูปแบบของทั้งระบบการขนส่งสาธารณะและการเดินทางด้วยรถส่วนตัว และมาเลเซียต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรับกระแสความนิยมนี้ โดยนโยบายอุตสาหกรรมของมาเลเซียนั้นต้องการที่จะช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า ย้ายฐานการผลิตมายังมาเลเซียมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตแบตเตอรี่ ที่มีการนำเสนอสิ่งจูงใจต่างๆ อีกทั้งยังมีบริษัทจากจีนจำนวนมากที่ให้ความสนใจลงทุนในมาเลเซีย ทั้งในรูปแบบของการตั้งโรงงานและอื่นๆ อีกมากมาย
.
นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น จะต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงความยั่งยืน รวมถึงให้ความสำคัญกับการบูรณาการและการเชื่อมต่อระหว่างกันกับแผนขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดำเนินงานของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคการขนส่ง ที่จะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
.
ทั้งนี้ มาเลเซียมีโครงการมากมายที่อยู่ระหว่างเตรียมการ แต่คำถามก็คือ จะเชื่อมโยงโครงการต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันได้อย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อทั้งเครือข่ายเป็นไปอย่างราบรื่น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องไม่มองภาคการขนส่งเป็นแค่การลำเลียงจากจุด A ไปยังจุด B แต่มองถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ที่จะต้องสร้างคุณค่าต่อการพัฒนาให้กับภูมิภาคและพื้นที่ที่มีเครือข่ายการขนส่งครอบคลุมด้วย
ที่มา AEC Connect

ASEAN Studies Centre

สิงคโปร์ พัฒนาพลังงานไฮโดรเจน หวังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050

 167 รวมเข้าชม

]

สิงคโปร์เห็นว่า พลังงานจากไฮโดรเจนเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเมื่อมีการเผาไหม้ จึงมีศักยภาพที่จะเป็นพลังงานทดแทนแห่งอนาคต แม้จะยังเป็นเรื่องใหม่ แต่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เริ่มลงทุนในด้านการพัฒนาพลังงานจากไฮโดรเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสิงคโปร์ คาดว่า จะสามารถผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจนได้ครึ่งหนึ่งของความต้องการภายในประเทศภายในปี 2593 ทั้งนี้ นาย Wong ได้ประกาศยุทธศาสตร์ไฮโดรเจนแห่งชาติ เพื่อเป็นหนทางไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนและเพิ่มความยั่งยืนในอนาคต และความร่วมมือในระดับนานาชาติในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญ 5 ข้อ ดังนี้

(1) การศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้พลังงานจากไฮโดรเจนในวงกว้าง เช่น แอมโมเนีย ที่เป็นพาหะพลังงานของไฮโดรเจน สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงให้กับภาคการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทางทะเล ทั้งนี้ สิงคโปร์คาดว่าจะเริ่มผลิตและใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้แอมโมเนียเป็นเชื้อเพลิงในปี 2570

(2) การเพิ่มการลงทุน 2 เท่าในโครงการวิจัยและพัฒนาไฮโดรเจน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการนำเข้า การจัดการ และการใช้ไฮโดรเจนอย่างปลอดภัย โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ประสานงานกลางระหว่างภาคอุตสาหกรรมและนักวิจัย เพื่อพัฒนาผลจากการศึกษาและวิจัยให้เป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริ

(3) การสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับต่างประเทศที่มีเป้าหมายและแนวคิดใกล้เคียงกัน อาทิ การสร้างเครือข่ายห่วงโซ่อุปทาน เพื่อความมั่นคงทางพลังงานและความหลากหลายในการนำเข้าไฮโดรเจนของสิงคโปร์

(4) การศึกษาเงื่อนไขของพื้นที่และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฮโดรเจนใหม่ใน สิงคโปร์ ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังสูง เนื่องจากสิงคโปร์มีสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น

(5) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและแรงงานให้พร้อมต่อการใช้ระบบไฮโดรเจนขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีงานประเภทใหม่ ๆ เช่น การซื้อ ขาย และจัดเก็บไฮโดรเจน และการตรวจสอบ/รับรองการปล่อยก๊าซคาร์บอน เป็นต้น

นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังมีแผนการขยายแผนการเงินสีเขียวและเขตพลังงาน โดยประเมินว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ละประเทศจะต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวรวมเป็นมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนร่วมกัน (collective decarbonization) ดังนั้น สิงคโปร์จึงมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางการเงินสีเขียว (green finance) เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนในการพัฒนาสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยสิงคโปร์เน้นความร่วมมือ 3 ประการ (3Ds) ได้แก่

(1) ข้อมูลที่ดีขึ้น (Data)

(2) การเปิดเผยข้อมูลที่มากขึ้น (Disclosure)

(3) การให้คำจำกัดความที่ชัดเจนขึ้น (Definition) เกี่ยวกับการเงินสีเขียว

สิงคโปร์ยังมีแผนด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น แผนการเปลี่ยนมาใช้ยานพาหนะที่ใช้พลังงานสะอาดทั้งหมดภายในปี 2040 แผนการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมความยั่งยืนที่ Jurong Island และแผนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่ Sentosa Island รวมถึงโครงการพัฒนาเขต Jurong Lake ให้เป็นเขตความเจริญแบบยั่งยืนในระดับโลก ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างอาคารที่ใช้พลังงานสุทธิ เป็นศูนย์ (zero energy buildings) การติดตั้งระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และการใช้จักรยานและรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะในชุมชน

ที่มา https://globthailand.com/singapore-301222/

 

ASEAN Studies Centre

ผ้าขาวม้า ต่อขึ้นทะเบียน มรดกวัฒนธรรมฯ ยูเนสโก

 162 รวมเข้าชม

]

คาดว่าในปลายปี พ.ศ.2566 องค์การยูเนสโก จะพิจารณาสงกรานต์ในประเทศไทย ให้เป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ด้าน วธ.พร้อม เสนอ ” ผ้าขาวม้า ” เป็นมรดกภูมิปัญญาฯ
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กล่าวว่า จากการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาฯ ครั้งที่ 1/2565 ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการเสนอ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (The Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ต่อองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ลงมติเห็นชอบ ไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2563 และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ดำเนินการเสนอเอกสารต่อองค์การยูเนสโก เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะได้รับการพิจารณาในปลายปี พ.ศ. 2566 โดยจะมีรายการ “ต้มยำกุ้ง” ที่ ครม. ได้ลงมติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 คาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของยูเนสโกในปี พ.ศ. 2568 ต่อไป และที่ประชุมยังได้พิจารณาเห็นชอบให้ “ผ้าขาวม้า” เป็นรายการมรดกภูมิปัญญาฯ ที่เตรียมเสนอขึ้นบัญชีกับยูเนสโกในลำดับถัดไป ด้วยเห็นว่า ผ้าขาวม้า ได้ขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ไปแล้วเมื่อ พ.ศ. 2556 ในสาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม ประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า ผ้าขาวม้าเป็นผ้าทอพื้นเมือง มีลวดลายโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น พบได้ทุกภาคของประเทศ มีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยในหลายมิติ สารพัดประโยชน์ในการใช้สอย เช่น เครื่องนุ่งห่ม ใช้ทำความสะอาดเช็ดถู หรือมอบเป็นของขวัญให้แก่ผู้ใหญ่ และใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน ผ้าขาวม้า ถูกนำมาต่อยอดพัฒนาคุณภาพ แปรรูปให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลายหลาย จึงเห็นชอบให้ สวธ. จัดทำข้อมูลตามหลักเกณฑ์ เพื่อเสนอรายการ “ผ้าขาวม้า” ต่อองค์การยูเนสโก ต่อไป
ที่มา:ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์

ASEAN Studies Centre