616 รวมเข้าชม, 1 เข้าชมวันนี้
]
ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ
อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องต้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community – ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) และเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558
ความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2535 โดยได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น และนับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้าสินค้าและบริการการลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงินการคลัง เป็นต้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่สำคัญ มีดังนี้
1. เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA)
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอา เซียน หรือ AFTA เป็นข้อตกลงทางการค้าสำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ในฐานะที่เป็นการผลิตที่สำคัญในการป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้า การลดภาษี และยกเลิกอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น การจำกัดโควต้านำเข้า รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกต้องให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบ แทน หมายความว่าการที่ได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้า ชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน
2. เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area หรือ AIA)
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนธันวาคม 2538 ที่กรุงเทพฯ ได้เห็นชอบให้จัดตั้งเขตการลงุทุนอาเซียนเพื่อเสริมสร้างอาเซียนให้เป็นเขต การลงทุนเสรีที่มีศักยภาพ โปร่งใส เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกภูมิภาค ความตกลงนี้ครอบคลุมการลงทุนในอุตสาหกรรม 5 สาขา คือ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ และภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ 5 สาขาการผลิตดังกล่าวยกเว้นการลงทุนด้านหลักทรัพย์และการลงทุนในด้านซึ่งครอบ คลุมโดยความตกลงอาเซียนอื่น ๆเขตการลงทุนอาเซียน กำหนดให้ประเทศสมาชิกดำเนินการเปิดอุตสาหกรรมและให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ แก่นักลงทุนอาเซียนและนักลงทุนนอกอาเซียน โดยกำหนดเป้าหมายจะเปิดเสรีด้านการลงทุนแก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี 2553 และนักลงทุนนอกอาเซียนภายในปี 2563การดำเนินการเพื่อจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนประกอบด้วยโครงการความร่วม มือ 3 โครงการ คือ
– โครงการความร่วมมือและการอำนวยความสะดวก (Co-operation and Facilitation Programme)
– โครงการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจ (Promotion and Awareness Programme)
– การเปิดเสรี (Liberalisation Programme)
3. ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration หรือ IAI)
อาเซียนได้ดำเนินการ เพื่อเร่งรัดการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจัดทำ “ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน” (Initiative for ASEAN Integration) เพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเก่า (ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน อินโดนีเซีย) กับสมาชิกใหม่ของอาเซียน (พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) โดยให้ประเทศสมาชิกเก่าร่วมกันจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศใหม่ ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การรวมตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะช่วยการพัฒนากรอบกฎระเบียบและนโยบาย รวมทั้งช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศ CLMV ในการลดปัญหาความยากจน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชากร พัฒนาระบบข้าราชการ และเตรียมความพร้อมต่อการแข่งขันบนเวทีโลก
4. ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme หรือ AICO)
โครงการความร่วมมือด้าน อุตสาหกรรมของอาเซียน หรือ AICO มุ่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานการผลิต โดยยึดหลักของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน การแบ่งส่วนการผลิตตามความสามารถและความถนัด ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากทั้งประเทศสมาชิกและประเทศ นอกกลุ่มโดยใช้มาตรการทางภาษี และสิทธิพิเศษอื่นๆ ที่มิใช่ภาษีเป็นสิ่งจูงใจ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
4.1 จะต้องมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมอย่างน้อย 2 ประเทศ
4.2 มีบริษัทเข้าร่วมอย่างน้อย 1 บริษัทในแต่ละประเทศ
4.3 สินค้าที่ผลิตได้ขั้นสุดท้าย (AICO Final Product) จะได้รับการยอมรับเสมือนสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศและจะไม่ถูกจำกัดด้วยระบบ โควต้าหรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
4.4 บริษัทที่จะขอรับสิทธิประโยชน์จาก AICO จะต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นของคนชาติอาเซียนอย่างน้อยร้อยละ 30
4.5 ได้รับการลดภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0 – 5
5. กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services หรือ AFAS)
ในที่ประชุมสุดยอดอา เซียน ครั้งที่ 5 เดือนธันวาคม 2538 ที่กรุงเทพฯ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอา เซียน หรือ AFAS) ซึ่งกำหนดให้เจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ โดยจัดทำข้อผูกพันในด้านการเปิดตลาด (market access) การให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) และด้านอื่นๆ(additional commitments) การเจรจาเสรีการค้าบริการในช่วงปี 2539-2544 มุ่งเน้นการเปิดเสรีใน 7 สาขาบริการ
คือ สาขาการเงิน การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การสื่อสารโทรคมนาคม การท่องเที่ยว การก่อสร้าง และสาขาบริการธุรกิจ ต่อมาในช่วงปี 2545-2549 ได้มีการขยายขอบเขตการเจรจาเปิดเสรีรวมทุกสาขา นอกจากนี้ สมาชิกอาเซียนยังต้องเร่งรัดเปิดตลาดในสาขาบริการที่เป็นสาขาสำคัญ 5สาขา ได้แก่ สาขาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสุขภาพ สาขาการท่องเที่ยว สาขาการบิน และสาขาบริการโลจิสติกส์ ทั้งนี้เพื่อให้อาเซียนมีความพร้อมในการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอา เซียนในปี 2558 ต่อไป
6. ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN Framework Agreement)
ในการประชุมสุดยอดอา เซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 24-25พฤศจิกายน 2543 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ร่วมกันลงนามในกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Framework Agreement) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอา เซียนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information Technology and Communication-ICT) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ในภูมิภาคให้สอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีมาตรการที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ 5 ด้าน คือ
6.1 การพัฒนาเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน(ASEAN Information Infrastructure) ให้สามารถติดต่อถึงกันได้อย่างทั่วถึงกันและด้วยความเร็วสูงและพัฒนาความ ร่วมมือไปสู่การจัดตั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Libraries) และแหล่งรวมข้อมูลท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ (Tourism Portals) รวมถึงการจัดตั้งศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Internet Exchanges) และการให้บริการเชื่อมสัญญาณเครือข่ายข้อมูลอินเตอร์เน็ต (Internet Gateways)
6.2 การอำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยการออกกฏหมายและระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ระหว่างประเทศ และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและพัฒนาวัฒนธรรมในการทำธุรกิจโดยใช้ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การยอมรับลายมือชื่อเล็กทรอนิกส์ซึ่งกันและกัน การชำระเงินโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
6.3 ส่งเสริม และเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะยกเลิกภาษีและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีสำหรับ สินค้า ICT เช่น เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ เครื่องโทรสาร เครื่องบันทึกเสียงสำหรับโทรศัพท์ ไดโอดและทรานซิสเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า ฯลฯ ภายในปี 2548 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ และภายในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม
6.4 สร้างสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) เสริมสร้างความสามารถและพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน IT ของบุคลากรในอาเซียน ลดความเหลื่อมล้ำด้าน IT ภายในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานด้าน IT อย่างเสรี และส่งเสริมการใช้ IT
6.5 สร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ส่งเสริมให้มีการใช้ ICT ในการบริการของภาครัฐให้มากขึ้น เช่น การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การอำนวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลข่าวสารการให้บริการของภาครัฐผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การเสียภาษี การจดทะเบียนการค้า พิธีการศุลกากรเป็นต้น
7. ความร่วมมือด้านการเงินการคลัง (Financial Cooperation)
7.1 อาเซียนได้จัดตั้งระบบระวังภัยอาเซียน (ASEAN Surveillance Process) ขึ้น เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2541 เพื่อสอดส่องดูแลสภาวะเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายเงินทุนในภูมิภาค โดยให้มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศ สมาชิกในภูมิภาค และในโลกโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและเงินทุนโดยการจัดการฝึกอบรม ด้านเทคนิคแก่เจ้าหน้าที่ประเทศสมาชิก และในการจัดตั้ง ASEAN Surveillance Technical Support Unit ในสำนักงานเลขาธิการอาเซียนเพื่อสนับสนุนระบบดังกล่าว
7.2 การเสริมสร้างกลไกสนับสนุนและเกื้อกูลระหว่างกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Enhancing self-help and support mechanism in East Asia) โดยได้กำหนดแนวทางความร่วมมือกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่สำคัญ ได้แก่ จัดทำความตกลงทวิภาคีด้านการแลกเปลี่ยนการซื้อ-ขายคืนเงินตราหรือหลักทรัพย์ ต่างประเทศ หารือเกี่ยวกับการจัดตั้งระบบเตือนภัยในภูมิภาค และการแลกเปลี่ยนการหารือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
7.3 ความริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2543 เป็นการปรับปรุงความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน (ASEAN Swap Arrangement – ASA) ในด้านโครงสร้าง รูปแบบและวงเงิน และให้เสริมด้วยเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี (Bilateral Swap Arrangment-BSA) โดยได้ขยายให้ ASA รวมประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศแล้ว
8. ความร่วมมือด้านการเกษตรและป่าไม้ของอาเซียน และอาเซียน +3
ครอบคลุมความร่วมมือในด้านประมง ป่าไม้ ปศุสัตว์ พืช และอาหาร เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางด้านอาหารและความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนใน ด้านอาหารการเกษตรและผลผลิตป่าไม้ โครงการความร่วมมือระหว่างอาเซียนและประเทศอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ภายใต้สาขาต่างๆ ดังนี้
8.1 การขจัดความยากจนและสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคเอเชีย
8.2 การวิจัยและพัฒนาด้านอาหาร การเกษตร ประมง และป่าไม้
8.3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านอาหาร การเกษตร ประมง และป่าไม้
8.4 การประสานงานและร่วมมือในระดับโลกและระดับภูมิภาคในประเด็นด้านอาหาร การเกษตร ประมง และป่าไม้
8.5 การสร้างเครือข่ายข้อมูลด้านการเกษตร
8.6 การอำนวยความสะดวกด้านการค้า
9. ความร่วมมือด้านการขนส่ง
9.1 โครงการพัฒนาทางหลวงอาเซียน (ASEAN Highway Network Project) ลักษณะของโครงข่ายทางหลวงอาเซียน คือ มีทางหลวงครอบคลุม 23 สาย ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน และจัดทำมาตรฐานทางหลวงอาเซียน (ป้ายจราจร สัญญาณ และระบบหมายเลข)ให้เป็นแบบเดียวกันโดยกำหนดมาตรฐานทางหลวงอาเซียน เป็น 4 ระดับ ได้แก่
– ชั้นพิเศษ-ทางด่วน ที่ควบคุมทางเข้า-ออก สมบูรณ์แบบ
– ชั้นที่ 1 ทางหลวง 4 ช่องจราจร
– ชั้นที่ 2 ทางหลวงลาดยาง 2 ช่องจราจร ผิวทางกว้าง 7 เมตร
– ชั้นที่ 3 ทางหลวงลาดยาง 2 ช่องจราจร ผิวทางกว้าง 6 เมตร
9.2 กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวก ในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอนุญาตให้รถยนต์ขนส่งที่จด ทะเบียนในประเทศสมาชิกหนึ่งสามารถขนส่งสินค้าผ่านแดนไปยังอีกประเทศหนึ่งได้
9.3 ความตกลงหลายฝ่ายและพิธีสารว่าด้วยการเปิดเสรีบริการขนส่งเฉพาะสินค้าของอา เซียน (Multilateral Agreement on the Full Liberalization of All Cargo Air Services) มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าในอาเซียนด้วยกัน โดยเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยไม่มีข้อจำกัดทั้งในเรื่องของจำนวนความจุความถี่ของบริการเส้นทางบินและ สิทธิรับขนการจราจร ซึ่งจะทำให้การขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศในอาเซียนเป็นไปได้อย่างสะดวก อันจะส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้อย่างรวด เร็ว
9.4 ความตกลงหลายฝ่ายและพิธีสารว่าด้วยการเปิดเสรีบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ ของอาเซียน (Multilateral Agreement on the Liberalization of Passenger Air Services) การจัดทำความตกลงหลายฝ่ายว่าด้วยการเปิดเสรีการบินในส่วนของเที่ยวบินขนส่ง โดยสาร เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าของไทยและสอด คล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้มีการเปิดเสรีการบิน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนี้ด้วย
10. ความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียน (ASEAN Energy Cooperation)
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนในการจัดหาพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคอาเซียน และการจัดการด้านความต้องการพลังงานอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสภาพสิ่งแวดล้อม และการช่วยเหลือกันในการแบ่งปันปิโตรเลียมในภาวะฉุกเฉิน โครงสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน ประกอบด้วย การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนคณะทำงาน และคณะกรรมการ ใน 5 สาขา ได้แก่
10.1 คณะทำงานด้านถ่านหิน
10.2 คณะทำงานด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน
10.3 คณะทำงานด้านพลังงานใหม่และพลังงาน
10.4 คณะกรรมการด้านปิโตรเลียม ซึ่งประกอบด้วยบริษัทน้ำมันแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน
10.5 คณะกรรมการด้านการไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าการการไฟฟ้าของแต่ละประเทศการดำเนินการระยะแรกของ โครงการเครือข่ายด้านพลังงานอาเซียนครอบคลุม 2 โครงการหลัก คือ โครงการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน
11. ความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Agreement)
ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในกรอบอาเซียนและอาเซียน + 3 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ได้ลงนามในความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Agreement) เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว โดยเน้นความร่วมมือใน 7 ด้าน คือ การอำนวยความสะดวกการเดินทางในอาเซียนและระหว่างประเทศ การอำนวยความสะดวกด้านขนส่งการขยายตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยและความมั่นคงของการท่องเที่ยว การตลาดและการส่งเสริมร่วมกัน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
อาเซียนจัดการประชุมด้านการท่องเที่ยว (ASEAN Tourism Forum หรือ ATF) เป็นประจำทุกปีในเดือนมกราคม โดยหมุนเวียนจัดในประเทศสมาชิก นับเป็นการประชุมด้านการท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่และประสบผลสำเร็จมากที่สุดใน โลก โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน โรงแรม รีสอร์ท สายการบิน ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงนักเขียนด้านการท่องเที่ยวมีโอกาสทำความรู้จักและเจรจาธุรกิจด้านการ ท่องเที่ยว และอาเซียนยังได้ริเริ่มความร่วมมือในการจัดทำความตกลงการตรวจลงตราเพียง ครั้งเดียว (Single Visa) แต่ใช้เดินทางได้หลายประเทศโดยนำร่องโดยไทยและกัมพูชา
นอกจากนี้ ความตกลงด้านการท่องเที่ยวยังได้ขยายไปยังประเทศอาเซียน+3 เกาหลี จีน ญี่ปุ่น โดยมีความร่วมมือระหว่างองค์การท่องเที่ยวของไทยกับของเกาหลีเพื่อพัฒนา ศักยภาพของมัคคุเทศก์ไทย และให้ประเทศ+3 เสนอแนวทางความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.asean.ago.go.th/asean-th/index.php/2
ASEAN Studies Centre