222 รวมเข้าชม,  1 เข้าชมวันนี้

]

เลข isbn

ภาษา
ไทย

พิมพ์ปี
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ครั้งที่พิมพ์

จำนวนพิมพ์
๑ เล่ม

จำนวนหน้า
๖,๗๓๕

ขนาด
๘ หน้ายก

ที่ปรึกษา
พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร.

พระสุวรรเมธาภรณ์, ผศ.

พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร.

รศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง

บรรณาธิการ
นายสุชญา ศิริธัญภร

ผู้ออกแบบปก
นางสาวจุฬารัตน์ วิชานาติ

ผู้จัดรูปแบบ
นายสุชญา ศิริธัญภร

ตรวจพิสูจน์อักษร
นายสุชญา ศิริธัญภร และนางสาวสังเวียน ฟูเฟื่อง

พิมพ์ที่
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

รายละเอียด
 คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา มีเป็นจำนวนมาก จะดำเนินการอย่างไร ที่จะนำคำศัพท์เหล่านั้นมาไว้เป็นหมวดหมู่และเป็นระบบระเบียบ เพราะพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีจำนวนเล่ม ๔๕ เล่ม และมีคำศัพท์ที่เป็นดรรชนีที่เป็นคำศัพท์ที่มีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นศัพท์ธรรมะ คำศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะ ศัพท์ที่เป็น อสาธารณนาม ที่เป็นบุคคล สถานที่ สิ่งของเครื่องใช้ มีมากกว่า ๑๘,๐๐๐ ศัพท์ การที่จะให้คำนิยามศัพท์ที่มีความหมายเป็นภาษาร่วมสมัย อธิบายให้ชัดเจน ก็ต้องอาศัยกำลังบุคลากร เป็นคณะทำงานกลุ่มต่างๆ หลายคณะ เริ่มตั้งแต่คณะผู้รวบรวม คณะบรรณกร คณะบรรณาธิการ และต้องอาศัยเวลาในการดำเนินการเป็นเวลานาน มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคลากรในมหาวิทยาลัยอยู่เป็นจำนวนมาก หากจะดำเนินงานในเวลาเพียง ๑ ปีคงไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก แต่ถ้าสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นโครงการ ๔ ปี ก็มีโอกาสสำเร็จ และโครงการนี้ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา จึงจะสามารถสื่อหรือให้คำนิยามตรงประเด็น แต่ปัญหามีอยู่ว่า บุคลากรเฉพาะด้านเช่นนี้ก็มีอยู่อย่างจำกัด และที่มีความเชี่ยวชาญมากก็ค่อนข้างจะมีอาวุโส หรือเกษียณอายุแล้ว จะดำเนินงานอะไรที่กำหนดตามกรอบเวลา ก็คงต้องเกื้อกูลกันหลายด้านหลายฝ่าย อาศัยสิ่งอุปถัมภ์จากภาครัฐและภาคเอกชนมาเป็นแรงสนับสนุน ก็จะสามารถทำให้โครงการนี้สำเร็จลงตามเป้าหมายได้

ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น  ได้ดำเนินการ เมื่อปี ๒๕๕๖-๒๕๕๙ ทำอย่างต่อเนื่อง ๔ ปี ก็สำเร็จตามเป้าหมาย เกินกว่า ๑๘,๐๐๐ ศัพท์ และเมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ผ่านไป ๕ ปี ก็ยังไม่สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างที่ประสงค์ไว้ ดังนั้น จึงทำรวบรวมหนังสือพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเล่มนี้ขึ้นมา โดยเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบ e-book เท่านั้น เป็นฉบับตัวอย่าง (simple) เพื่อให้สอดคล้องกับการนำไปใช้ประโยชน์ที่เขียนไว้ คือ

        ๑.การใช้ประโยชน์ในระดับนโยบาย เช่น การนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจในการบริหาร/กำหนดนโยบายของหน่วยงาน/อปท. /คณะสงฆ์ (โปรดระบุ) กล่าวคือผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยด้วยบัณฑิตวิทยาลัย คณะทั้ง ๔ แห่ง วิทยาเขต ๑๑ แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ ๒๕ แห่ง และห้องเรียน ๑ แห่ง และหน่วยวิทยบริการ ๗ แห่ง และวัด/สำนักเรียน จำนวน ๒๐,๐๐๐ วัด/แห่ง

        ๒.การใช้ประโยชน์มิติเศรษฐกิจ/พาณิชย์   มหาวิทยาลัยมีรายได้จากจำหน่ายหนังสือพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

        ๓.การใช้ประโยชน์มิติการพัฒนาสังคม/ชุมชน/ท้องถิ่น เช่น ถ่ายทอดเทคโนโลยี/กระบวนการ ความรู้ให้กับชุมชน กล่าวคือ สถาบันการศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน ๕,๐๐๐ แห่ง และนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจค้นคว้าคำสอนทางพระพุทธศาสนา จำนวน ๒๕,๐๐๐ คน

        ๔.การใช้ประโยชน์มิติวิชาการ เช่น มีการอ้างอิงผลงานที่ตีพิมพ์วารสารวิชาการระดับประเทศ/ระดับนานาชาติ การนำไปสอนในรายวิชาต่างๆ อันได้แก่ คณาจารย์ทั้งภายในและภายนอก ใช้ประกอบเพื่อศึกษาค้นคว้า และอ้างอิงในการเขียนผลงานทางวิชาการและนิสิต นักศึกษา นักเรียนใช้ประกอบศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงในการทำรายงานและเขียนบทความและการทำวิทยานิพนธ์

สำหรับศัพท์พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย  ได้ค้นคว้ารวบรวมศัพท์ คัดเลือกศัพท์จากพระไตรปิฎกทั้งในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก โดยเปิดแต่ละหน้าและค้นหาศัพท์ที่เห็นสมควรและทำบัญชีศัพท์ไว้ และการเขียนนิยามศัพท์

ในอักษรหมวดวรรค ก คืออักษร ก จำนวน ๒,๒๓๑ ศัพท์  อักษร ข จำนวน ๔๘๗ ศัพท์ อักษร ค จำนวน ๑๕๙๓ ศัพท์ อักษร ฆ จำนวน ๕๑ ศัพท์ อักษร ง จำนวน ๕๐ ศัพท์ รวมจำนวนศัพท์ ๔,๕๐๐ ศัพท์ ซึ่งเป็นศัพท์เกี่ยวกับชื่อบุคคล สัตว์ สถานที่ ชื่อสิ่งของเครื่องใช้ ศัพท์ธรรมะ และคำภาษาไทยที่มีความหมายเฉพาะ ชื่อสูตร ชื่อชาดก รวมถึงอปทาน คาถา และจริยาด้วยและคำศัพท์ที่ปรากฏในพระสูตรมีปรากฏจำนวนมาก ในพระวินัยจำนวนปานกลาง และพระอภิธรรมมีจำนวนน้อย และศัพท์ที่ความหมายเดียวมีเป็นจำนวนมาก ศัพท์ที่มีหลายความหมาย มีจำนวนเพียงเล็กน้อย

ในอักษรทั้ง ๓ หมวด คือหมวดวรรค จ วรรค ฏ และ วรรค ต

หมวดอักษรวรรค จ อักษร จ จำนวน  ๖๗๗  ศัพท์  อักษร ฉ จำนวน ๗๘ ศัพท์  อักษร ช จำนวน ๓๘๖ ศัพท์ อักษร ฌ จำนวน ๓๔ ศัพท์ อักษร ญ  จำนวน ๖๕  รวมจำนวนศัพท์ ๑,๒๔๐  ศัพท์

หมวดอักษรวรรค ฏ อักษร ฏ จำนวน  มี ๑ ศัพท์  อักษร ฐ จำนวน ๒๙ ศัพท์  อักษร ฑ  ไม่มีศัพท์ อักษร ฒ จำนวน ๑  ศัพท์ อักษร ณ  จำนวน ๑  ศัพท์ รวมจำนวนศัพท์  ๓๒   ศัพท์

หมวดอักษรวรรค ต อักษร ด,ต จำนวน  ๘๑๒ ศัพท์  อักษร ถ จำนวน ๗๒ ศัพท์  อักษร ท จำนวน ๘๑๙ ศัพท์ อักษร ธ จำนวน ๔๓๓  ศัพท์ อักษร น  จำนวน ๘๑๒ ศัพท์  รวมจำนวนศัพท์   ๒,๙๔๘ ศัพท์ รวมจำนวนศัพท์ทั้ง ๓ วรรคเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๔,๒๒๐ ศัพท์

ศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์เกี่ยวกับชื่อบุคคล สัตว์ สถานที่ ชื่อสิ่งของเครื่องใช้ ศัพท์ธรรมะ และคำภาษาไทยที่มีความหมายเฉพาะ ชื่อสูตร ชื่อชาดก รวมถึงอปทาน คาถา และจริยาด้วยและคำศัพท์ที่ปรากฏในพระสูตรมีปรากฏจำนวนมาก ในพระวินัยจำนวนปานกลาง และพระอภิธรรมซึ่งเกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน และปัจจัย ๒๔ มีจำนวนน้อย และศัพท์ที่ความหมายเดียว มีเป็นจำนวนมาก ศัพท์ที่มีหลายความหมาย มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ลดหลั่นลงตามลำดับ

ในหมวดอักษร  ป วรรค คือ (บ), ป, ผ (ฝ), พ, (ฟ), ภ, ม ดังรายละเอียดดังนี้

อักษร บ  (๒๖๘ ศัพท์), อักษร ป (๑,๕๐๓ ศัพท์) จำนวน ๑,๗๗๑ ศัพท์  อักษร ผ (๒๓๓ ศัพท์) อักษร (ฝ) (๘ ศัพท์) จำนวน  ๒๔๑  ศัพท์  อักษร พ (๗๒๑ ศัพท์),อักษร (ฟ) (๑๒ ศัพท์)  จำนวน  ๗๓๓ ศัพท์ อักษร ภ จำนวน  ๔๐๔ ศัพท์ อักษร ม  จำนวน  ๑,๐๙๐ ศัพท์  รวมจำนวนศัพท์  ทั้งสิ้น ๔,๒๓๙ ศัพท์

ศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์เกี่ยวกับชื่อบุคคล สัตว์ สถานที่ ชื่อสิ่งของเครื่องใช้ ศัพท์ธรรมะ และคำภาษาไทยที่มีความหมายเฉพาะ ชื่อสูตร วิมาน  วัตถุ คาถา ชื่อชาดก นิทเทส   อปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก และคำศัพท์ที่ปรากฏในพระสูตรมีปรากฏจำนวนมาก ในพระวินัยจำนวนปานกลาง และพระอภิธรรมซึ่งเกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน และปัจจัย ๒๔ มีจำนวนน้อย และศัพท์ที่ความหมายเดียว มีเป็นจำนวนมาก ศัพท์ที่มีหลายความหมาย มีจำนวนเพียงเล็กน้อย ลดหลั่นลงตามลำดับ

ในหมวดอักษรอวรรค คือ ย ร (ฤ) ล ว (ศ) (ษ) ส  ห ฬ อัง(อํ)  (สระ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) ดังรายละเอียดดังนี้

อักษร ย  (๑๗๗ ศัพท์)  อักษร ร (๗๐๔ ศัพท์) อักษร (ฤ) (๓๔ ศัพท์ จำนวน ๗๓๘ ศัพท์  อักษร ล (๒๑๖ ศัพท์) อักษร ว  (๑,๐๑๙ ศัพท์) อักษร (ศ) (๑๒๕ ศัพท์) อักษร (ษ) (ไม่มีศัพท์) อักษร ส (๒,๗๙๙ ศัพท์) จำนวน  ๒,๙๙๔  ศัพท์  อักษร ห (๒๗๗ ศัพท์)อักษร ห (ไม่มีศัพท์)  อักษร อัง(อํ)  (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ)  จำนวน  ๓,๒๑๑ ศัพท์  รวมจำนวนศัพท์ทั้งสิ้น ๘,๕๕๒ ศัพท์

รวมศัพท์ทั้ง ๔ โครงการ นับจำนวนศัพท์ประมาณการได้ ๒๑, ๕๑๑ ศัพท์

นอกจากนี้ ก็ได้มีโอกาสการเผยแพร่ หรือได้มีการประชาสัมพันธ์ เช่น การผยแพร่ในวารสาร/การนำเสนอในที่ประชุม/เว็บไซต์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดพิมพ์เผยแพร่ผลการวิจัย พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แจกจ่ายไปยังสถาบันการศึกษาและส่วนงานต่างๆของมหาวิทยาลัย ทั้งคณะ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์

การตีพิมพ์บทความการวิจัย เรื่องพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในหนังสือสารนิพนธ์ พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำปี ๒๕๖๐

สำหรับเนื้อหา พจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเล่มที่จะพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ ปัจจุบัน ได้จัดพิมพ์ ๒ เล่มแล้ว ในปี ๒๕๖๕  ก็ยังดำเนินการอยู่ โดยส่วนงาน สถาบันพระไตรปิฎก  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งมี ศาสตราจารย์ อดิศักดิ์ ทองบุญ ราชบัณฑิต เป็นประธานกรรมการ คงต้องอาศัยเวลาอีกหลายปี จึงจะจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือครบเสร็จสมบูรณ์

ดังนั้นหนังสือพจนานุกรมเล่มนี้ แม้การรวบรวม จะเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะเนื้อหามีเป็นจำนวนมาก ๖,๗๓๕ หน้า ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์รับไม่ได้ เพราะมีจำนวนคำถึงสามล้านห้าแสนหกหมื่นเศษ ซึ่งการรวบรวมนั้น  ผู้เรียบเรียง ต้องขอขอบพระคุณเจ้าของโครงการวิจัย คือพระศรีคัมภีรญาณ, ศ.ดร.(ราชทินนาม ในสมัยนั้น) ซึ่งก็คือพระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในปัจจุบัน พร้อมคณะ ผู้ร่วมวิจัยอีกหลายท่าน และผู้เขียนอีกประมาณ ๒๐ รูป/คน ซึ่งผู้เขียนและคณะทำงานอีก ๑๐ รูป/คน ซึ่งทั้งหมดล้วนทำให้หนังสือพจนานุกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มนี้เกิดขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า  พจนานุกรมเล่มนี้ จะเกิดประโยชน์ทางวิชาการด้านพุทธศาสตร์ เกื้อกูลในการศึกษาและค้นคว้าศัพท์ทางพระพุทธศาสนาแก่นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาตลอดถึงพระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป

หมายเหตุ
 พิมพ์เผยแพร่ เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี ๒๕๖๕

เผยแพร่ในรูปแบบ e-book

กองวิชาการ มจร

Recommended Posts