82 รวมเข้าชม, 1 เข้าชมวันนี้
วิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี นำโดยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ร่วมกันจัดกิจกรรมถวายเทียนจำนำพรรษาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ วัดกลางใหม่ วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง) และวัดไตรธรรมาราม (พระอารามหลวง) โดยร่วมกันจัดกิจกรรมทั้งวัน สร้างความสูขและความศรัทธาแก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง ประเพณีแห่งการถวายเทียนจำนำพรรษา
เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุสงฆ์ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชาวบ้านจึงหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้น เพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์จุดให้แสงสว่างในการปฏิบัติกิจวัตรต่างๆ เป็นพุทธบูชาตลอดเวลา 3 เดือน การนำเทียนไปถวาย ชาวบ้านมักจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี โดยชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยนำรังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้งแล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอก แล้วใช้จุดบูชาพระเทียนพรรษาเริ่มมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไปถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจแสงสว่างของดวงเทียน
การถวายเทียนจำนำพรรษา เชื่อกันว่ามีสาเหตุ 2 ประการ คือ
1.พระอนุรุทธะ สาวกของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ฉลาดรอบรู้พระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน เพราะในชาติปางก่อนพระอนุรุทธะเคยให้แสงประทีปเป็นทาน
2.หญิงคนหนึ่งไปฟังธรรมที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี พอพลบค่ำก็ให้คนไปนำประทีปที่บ้านตนมาจุดให้แสงสว่างแก่คนที่มาฟังธรรม ครั้นนางตายไปก็ไปเกิดเป็นเทพธิดามีรัศมีเป็นแสงสว่างสวยงาม
ประเพณีการถวายเทียนจำนำพรรษาในประเทศไทย
การถวายเทียนจำนำพรรษาได้กระทำขึ้นก่อนเทศกาลเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาทุกปี คือก่อนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือเดือน 8 ที่สอง ในกรณีที่มีอธิกมาส พุทธศาสนิกชนก็จะพากันขวนขวายให้มีการถวายเทียนจำนำพรรษาแก่วัดในท้องถิ่นของตน เพื่อให้พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 เดือน การถวายเทียนจำนำพรรษาเป็นการถวายเทียนเข้าพรรษาของประชาชนล้านนาไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น ภาคใต้ใช้น้ำมันชันจากต้นชิงชัน เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า “ต้นเทียน” หรือ”ต้นเทียนพรรษา” นิยมทำกันมาช้านานแล้ว แต่ทำถวายกันเป็นส่วนตัว พอถึงเวลาก็พาลูกหลานภายในครอบครัวไปถวาย ไม่ได้ทำกันเอิกเกริกเป็นส่วนรวม สมัยก่อนเทียนพรรษามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะพระสงฆ์ต้องใช้จุดให้แสงสว่างในการศึกษาพระธรรมวินัย แต่ในปัจจุบันนั้นเทียนพรรษาอาจจะมีความสำคัญลดน้อยไป ญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาได้เปลี่ยนมาถวายหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย เป็นต้นแทน แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีการถวายเทียนพรรษากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของชาวพุทธไม่ให้สูญหายไป
The post กิจกรรมการถวายเที่ยนจำนำพรรษาประจำปี ๒๕๖๖ first appeared on วิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี.
วิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี