80 รวมเข้าชม,  2 เข้าชมวันนี้

]

คติอรัญวาสี: จากลังกาสู่อาเซียนยุคเริ่มต้น
อรัญวาสี (อะ-รัน-ยะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในป่า ผู้อยู่ประจำป่า อรัญวาสี ใช้เรียกกลุ่ม/คณะสงฆ์โบราณคณะหนึ่งประจำการ/ตั้งอยู่ในป่าห่างชุมชนเมืองบางครั้งอยู่รอบๆ เมืองที่เป็นพระนครหรือกำแพงเมืองเน้นคันถะธุระการศึกษาเล่าเรียน เรียกว่า คณะอรัญวาสี คณะตรงกันข้ามเรียกว่าคามวาสี ประจำการ/ตั้งวัด/สังฆารามอยู่ในเขตชุมชนบ้าน หรือเมือง อรัญวาสี ปัจจุบันหมายถึงภิกษุผู้อยู่ในป่า มักเรียกทั่วไปว่า พระป่า ประเทศไทยมีกิจวัตรประจำวันเน้นหนักไปในทางวิปัสสนาธุระพัฒนาจิตเจริญปัญญา นุ่งห่มด้วยผ้าสีปอน ไม่ฉูดฉาดหรือสีกรัก มุ่งการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่เป็นหลัก ไม่เน้นงานด้านการบริหารปกครอง การศึกษาพระปริยัติธรรม และสาธารณูปการหรือการก่อสร้างพัฒนาวัด
บางครั้ง อรัญวาสี มักถูกนำมาใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะขึ้นไปเพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นพระป่า เช่น พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ หากแต่ท่านก็ยังเกี่ยวข้องกับสังคมชุมชนอยู่มากเช่นกัน
พัฒนาการอรัญวาสีในลังกา
แนวทางอรัญวาสีเริ่มปรากฏชัดเจนเริ่มแรกของพุทธศาสนาในลังการาว พ.ศต.ที่ 3 ก่อนมีการเรียกมหาวิหาร แห่งแรกที่เมืองอนุราธปุระเมืองหลวงแห่งแรกของศรีลังกา/สิงหล พฤติกรรมของคณะสงฆ์โดยธรรมชาติมักมีการดำรงชีวิตที่อาศัยชุมชนบ้าน เมือง อยู่แล้ว และอีกกลุ่มมากอยู่อาศัยถ้ำหรือเชิงผา ภูเขาเป็นที่พำนักมาก่อน เช่น มิหินตาเล หรือ มิสสกบรรพต ที่พำนักพระมหินทร์เถระ ต่อมามิหินตาเลเป็นที่รู้จักเนื่องจริยวัตรปฏิบัติเคร่งครัดกว่าพวกอยู่ในเขตชุมชน บ้าน เมือง ถึงกล่าวว่าเป็นที่พำนักของพระอรหันต์โดยพุทธโฆสาจารย์ มิหินตาเลจึงเป็นต้นแบบของวัด สังฆารามที่สร้างขึ้นตามป่าเขาในเวลาต่อมา เช่น เวสสคีรียะ หรือ สีคีรียะ
นอกจากนี้ พระกลุ่มนี้เน้นไปที่ใช้ธุดงค์ เช่น ถือผ้าบังสุกุล เป็นหลัก อยู่ป่าเป็นหลัก เรียกกลุ่มนี้ว่า ปังสุกุลิกะ (ตรงข้ามกับกลุ่มธรรมกถิกา/ธมฺมกถิกา พวกเน้นสายปริยัติและเทศนา) หากแต่กลุ่มนี้แต่ละคณะก็ยังสังกัดอยู่ตามคณะวิหารแตกต่างกัน เรียกว่า มหาวิหาร อภัยคิรีวิหาร และเชตวิหาร
แม้คณะสงฆ์ลังกามักอ้างปริยัติเพื่อสืบต่อพระศาสนาก็ตามจนถึงยุคหลังอรรถกถาจึงเริ่มมีขบวนการผู้ที่อยู่ป่าปรากฏขึ้นชัดเจน เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มปังสุกุลิกะ/อรัณยกะ ต่อมาเรียกว่า อรัญวาสี/วนวาสี เพราะก่อนนี้ยุคปริยัติให้น้ำหนักที่ปริยัติแข่งขันระหว่างสำนักนิกายด้านปริยัติ
พระสงฆ์สายป่านี้เริ่มมาปรากฏเป็นขบวนการพุทธใหม่สมัยนั้นชัดดังคัมภีร์มหาวงศ์กล่าวถึงกลุ่มพระป่าอรัญญกะ/อรัณยกะ ตั้งแต่ พ.ศต.ที่ 12 ในเมืองอนุราธปุระ สังกัดอยู่ในสำนกนิกายทั้งสาม ซึ่งก่อนนี้เน้นด้านปริยัติ /คันถะธุระ
คติอรัญวาสีนี้เองจึงมาจากกลุ่มคณะสงฆ์ที่เหนื่อยหน่ายกับการศึกษาปริยัติที่มีมากจนเกินไป และเน้นรวมกลุ่มกันศึกษาอยู่ที่มหาวิหาร เพื่อศึกษาปริยัติ และยุคทองของวรรณกรรมปาลีของฝ่ายมหาวิหารพึ่งผ่านพ้นไป ประจวบเหมาะกับภัยสงครามหลายครั้งที่ทำให้พระสงฆต้องหนีภัยสงครามไปอยู่ตามป่าเขาในถ้ำลึก เพิง ตามรอบนอกเขตชุมชน ขบวนการปังสุลิกะ/อรัณยกะจึงเริ่มมีมากขึ้นอยู่รอบๆ เมืองอนุราธปุระ พระสงฆ์ที่ยึดถือแนวทางนี้เริ่มมีจำนวนมากขึ้นมาจากทั้งสามสำนักนิกายเช่นกัน
ยุคปรากฏตัวเป็นทางการของพวกอรุณยกะ/ปังสุกุลิกะ/อรัญวาสี
พระสงฆ์กลุ่มนี้เน้นถือสมาทานผ้าบังสุกุลตามชื่อกลุ่ม อยู่เรียบง่ายไม่สะสมวัตถุอะไร มักอยู่ในป่า เรียกว่า พวกอรัณยกะ ขบวนการนี้เริ่มปรากฏชัดและมีอิทธิพลมากขึ้นจนถึงสมัยปฏิรูปใหม่ สาเหตุสำคัญบ้านเมืองเต็มไปด้วยความไม่สงบ ราชสำนักปั่นป่วนแย่งอำนาจกัน พร้อมกับการโจมตีของพวกทมิฬและอินเดียใต้กลุ่มอื่น ๆ หลายระลอก ตราบจนพวกโจฬะเข้ามายึดเมืองราว 72 ปี ด้วยเหตุนี้ การพระศาสนาด้านปริยัติซบเซา ไม่โดดเด่น ประจวบเหมาะกับการรับแนวคิดใหม่เข้ามาหลายระลอกของสำนักอภัยคิรีวิหาร ทั้งแนวคิดตันตรยาน วัชรยาน ที่พัฒนาขึ้นใหม่ในอินเดียซึ่งมาจากการเคลื่อนไหวสำคัญด้านมุ่งปฏิบัติช่วงหลังยุคทองของอรรถกถาามัยพระเจ้ามหานามะ นำโดยพระพุทธโฆสาจารย์
ก่อนนี้สำหรับพระที่เป็นพวกปฏิบัติที่ห่างไกล เช่น พระติสสะและพวก สมัยท่านได้ช่วยพระเจ้าวัฏฏะคามณีอภัยในการกอบกู้เอกราชหลังถูกทมิฬบุกยึดจนต้องหลี้ภัยไปอยู่พื้นที่ห่างไกล จนเมื่อครองราชย์อีกครั้งนึกถึงคุณูปการที่ช่วยคราวหลี้ภัย จึงนิมนต์ท่านและลูกศิษย์มาอยู่ที่เมืองหลวงพร้อมสร้างที่พักสงฆ์ เรียกว่า อภัยคิรี ทำให้พวกมหาวิหารไม่พอใจ นับได้ว่า พระป่ามาอยู่เมืองปรากฎเป็นหลักฐานครั้งแรกๆ พระอรัญวาสีสายป่าคือพวกอภัยคิรีวิหาร
ต่อมาเมื่อบ้านเมืองพ้นภัยได้เอกราชขึ้นจากพวกโจฬะ ยุคหลัง ราว 1500 การฟื้นฟูพุทธศาสนาที่เสื่อมไปมากจากภัยสงครามและความไม่สงบจากพระเจ้าวิชัยพาหุ และครั้งใหญ่ พระเจ้าปรกมพาหุ ที่ 1 แม้จะยุบสำนักของพวกธรรมกถิกา พวกคันถธุระ ทั้งสาม คือ มหาวิหาร อภัยคิรีวิหารและเชตวันมหาวิหาร เป็นแค่ ลังกาวงศ์ หนึ่งเดียว หากแต่ปรับพวกธรรมกถิกา/คันถธุระเป็นคามวาสี และพวกปังสุกุลิกะ/อรัณยกะ เป็นอรัญวาสี ปต่เอกลักษณ์ลังกา พระสงฆ์ยังเน้นทั้งปริยัติและปฏิบัติ หากแต่ปฏิรูปใหญ่ครั้งนี้ เป็นยุคทองของฎีกา วรรณกรรมบาลี และภาษาสิงหล อีกครั้ง
ลักษณะการแบ่งเน้นตามปริยัติ และวิถีปฏิบัติ
ยุค1000 คือ 300-1000 ปีนี้แบ่งตามที่พุทธศาสนาในลังกาเน้นปริยัติจึงแบ่งเป็น 2 คณะ และ 3 คณะ (มหาวิหาร อภัยคิรีวิหาร และเชตวิหาร ) เน้นการศึกษาปริยัติธรรม
ยุค 1000 เป็นต้นมา เน้นแบ่งตามภูมิศาสตร์ พื้นที่อยู่อาศัยหรืออาจเรียกว่า การอยู่อาศัยแนวโน้ววิถีความเป็นอยู่เน้นปริยัคิ-ปฏิบัติ ยุบ 3 สำนักนิกายที่เคยมีมายุคอนุราธปุระรุ่งเรืองเป็นหนึ่งเดียวเรียกลังกาวงส์ หากแต่ให้น้ำหนักที่เขตพื้นที่การอยู่อาศัย วิถีการดำรงชีพ และปริยัติ-ปฏิบัติมากกว่าเป็น 2 คือคามวาสี และอรัญวาสี
ทัศนะส่วนตัวมองว่า คณะนี้เกิดจากการอิ่มหรือเบื่อหน่ายจาการปริยัติทรรศนะต่อพุทธวจนะที่มีมากเกินไปจนทำให้รู้สึกพออิ่มจนนำไปสู่การปฏิบัติมากขึ้น ประจวบเหมาะกับยุคนี้เริ่มเน้นการลงมือปฏิบัติมากขึ้นหรือบูรณาการทั้งปริยัติและปฏิบัติเข้าด้วยกันไม่ใช่เพียงแค่ปริยัติอย่างเดียวก่อนหน้านี้ กระแสนี้ไม่ใช่เฉพาะศรีลังกายุคนั้น แม้แต่ที่อาเซียนสุวรรณภูมิ ยุคนี้พระสายอรัณยกะก็มีขบวนการชัดเจนที่ภาคอีสานตอนบน ประเทศลาวสมัยนั้นบางส่วนก็มีกลุ่มอรัณยกะที่ถือเพิงถ้ำเป็นที่ประพฤติปฏิบัติ ที่อินเดียเองในมหาวิทยาลัยนาลันทาก็เริ่มเน้นการปริยัติปฏิบัติเข้าด้วยกันจนเกิดแนวทางใหม่มากขึ้น กระแสการปฏิบัติ ตั้งแต่กลัวพุทธศักราช 1000 ปีเริ่มมีการปฏิบัติมากขึ้นส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดปฏิบัติอันตรธานด้วย จึงพากันเร่งปฏิบัติธรรมมากขึ้น มีการปรารถนาพุทธภูมิ เข้าถึงยุคพระศรีอารีย์ เป็นต้น
ราว พ.ศตที่ 16 คณะสงฆ์กลุ่มนี้เริ่มมากขึ้นอยู่ที่ วัดตโปวนาราม นอกเมืองอนุราธปุระ
ช่วงปลาย ค.ศต. 16 เกิดสงคราม วิชัยพาหูที่ 1 ย้ายเมืองหลวง มาที่โปโลนนารุวะ พระกลุ่มนี้ได้ย้ายมาอยู่ที่ภูเขานอกเมือง ชื่อ อุทุมพรคิรี/ทิมพุละคะละ ราว 25 กม. ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
อุทุมพรคีรี ศูนย์กลางของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี
สำนักอุทุมพรคีรีได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตรย์ลังกาอย่างต่อเนื่อง แต่จะย้ายเมืองหลวงจากอนุราธปุระมาที่โปโลนนารุวะ แต่สำนักนี้ยังเป็นศูนย์กลางของฝ่ายอรัญวาสี
อุทุมพรคีรี/ทิมพุลาคละ ในภาษาสิงหลนั้นอยู่ห่างจากเมืองโปโลนนารุวะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 25 กิโลเมตร ไม่ห่างจากแม่น้ำมหาเวลิคงคาแม่น้ำสายสำคัญ
ตำนานพูดถึงขบวนการอรัณยกะในลังกาสมัยพระเจ้าปาณฑพกอภัย ราวพ.ศต.ที่ 10 พระองค์เสด็จมาประทับ ณ ที่แห่งนี้ชั่วคราม จากนั้นพระสงฆ์ นักบวชนักพรตทั้งหลายเริ่มเดินทางมาพักอาศัยอยูในบริเวณเพิงและถ้ำต่างๆ บนเขาอุทุมพรคีรี จนกลายมาเป็นแหล่งเดินทางมาและเป็นสำนักสงฆ์ศูนย์กลางท้ายที่สุด พระนางสุนทรีมหาเทวี มเหสีพระเจ้าวิชัยพาหูที่ 1 เคยเสด็จมาที่นี้ สร้างศาสนสถานศาสนวัตถุภายในสำนักสงฆ์แห่งนี้ ทั้ง สถูป ต้นโพธิ์ พุทธรูป ทางเดินต่างไป รวมถึงการประดิษฐานพระบรมธาตุ ณ สถานที่นี้เช่นกัน
ต้น พ.ศต.ที่ 17 จำนวนพระสงฆ์อาศัยราว 500 รูป พระมหากัสสปะจากที่นี้มีบทบาทที่ปรึกษาพระเจ้าปรากรมพาหุที่1 (1696-1729) เรื่องสังคายนาและกิจการพุทธศาสนาการบริหารปกครองคณะสงฆ์ พระมหากัสสปะยังได้รับการแต่งตั้งเป็น พระอุทุมพรมหากัสสปะมหาสวามี และให้พระอารามนี้เป็นศูนย์กลางฝ่ายอรัญวาสี ในนาม ทิมพุลาคละราชมหาวิหาร
บทบาทของสำนักนี้เป็นการศึกษาและการปกครองของคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสตีสืบมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จนถึงในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 2 (1779-1813) จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ อัสคีรีวิหาร จนลบเลือนบทบาทของสำนักอุทุมพรคีรีลดน้อยลงไปและถูกทิ้งร้างไปในที่สุด
(ขณะที่คณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสีเปลี่ยนเป็น มัลวาตุวิหาร)
ต่อมาปี พ.ศ. 1887 มีการสร้างพระอารามใหม่ชื่อว่า คฑละเทณิยะวิหารเป็นที่ประทับพระมหาสังฆราชฝ่ายอรัญวาสีขึ้นบนเนินเขานอกเมืองคัมโปละ เมืองหลวงแห่งใหม่ของลังกาสมัยนั้น จารึกสุโขทัยหลักกล่าวว่าได้กล่าวถึงการเดินทางของมหาเถรศรีศรัทธาจุฬามุนีเดินทางไปจาริกบุญยังวัดอรัญญิกนอกเมืองคัมโปละอันเป็นที่ประทับของพระมหาสังฆราช กล่าวคือสังฆรารามแห่งนี้ คฑลาเทณิยวิหาร สมัยคัมโปละ อาณาจักรดัมพเดณิยะ
(อาณาจักรดัมพเดณิยะปรากฏตัวขึ้นภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรโปโฬนนารุวะเพราะการบุกรุกยึดครองและทำลายของพระเจ้ามาฆะแห่งอาณาจักรกาลิงคะทางอินเดียตะวันออกเฉียงใต้
แม้การชำระศาสนาสมัยภุวเนกพาหุที่ 4 เสนาบดี เสนาลังกาธิการะพยายามผสานนิกายทั้งสองเข้าด้วยกันด้วยการแนะนำของพระวันรัตนะ (ป่าแก้ว) มหาสวามี ต่อมาดำรงตำแหน่งสังฆราชศรีลังกาสมัยนั้น
พระสงฆ์ในศรีลังกาจึงแบ่งตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่อยู่อาศัยเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่อยู่ป่าอรัญวาสีและ 2) คามวาสี
คตินี้มีมาจนถึงการปฏิรูปใหญ่ แม้จะมีการยุบร่วมสำนักนิกายทั้งสามที่เน้นการศึกษาปริยัติ ทั้งสามกลุ่มคือ มหาวิหาร อภัยคิรีวิหาร และเชตวันวิหาร เป็นนิกายลังกาวงศ์ หนึ่งเดียวแล้วก็ตาม
คติอรัญวาสี /พระสงฆ์ที่มาจากคติอรัญวาสี
ลักษณะเด่นของอรัญวาสี
– เน้นอยู่ป่า รอบพระนคร ด้านทิศตะวันตก
– เน้นปฏิบัติ วิปัสสนาธุระ
– เน้นปฏิบัติพร้อมแต่งตำราสำหรับพระสงฆ์ในศรีลังกา (ในไทยเน้นปฏิบัติอย่างเดียวไม่มุ่งปริยัติหากแต่ลังกาพระสงฆ์สายป่าปฏิบัติและปริยัติมักแต่งหนังสือเก่ง)
อรัญวาสีในพม่า
ปลายยุคสมัยพุกาม พวกอรัญวาสีเริ่มเข้ามามีบทบาทแทนพวกเดิม คือพวกรามัญที่พัฒนาต่อมาเป็นมรัมมะนิกาย ผู้มาก่อน มีชินอรหันต์เป็นต้นวงศ์ และพวกที่มาภายหลังเรียกว่า พวกลังกาวงศ์ มีท่านฉปทาเป็นต้นวงศ์ พระภิกษุที่มีชื่อเสียงของอรัญวาสีในสมัยนั้นคือ พระมหากัสสปะ มีอิทธิพลมากในราชสำนัก จนไม่กล้าทำอะไรต่อคณะสงฆ์
อรัญวาสีในสุโขทัย
คณะสงฆ์สุโขทัยแบ่งออกเป็น 2 คณะใหญ่ๆ คือ 1) คามวาสี ( นิกายเดิม) เป็นพระที่มีอารามอยู่ใกล้บ้านใกล้เมืองหรืออยู่ในบ้านในเมือง เล่าเรียนคันถธุระ(ศึกษาพระไตรปิฎก) 2) อรัญญวาสี มาจากลังกา ทางลังกานิยมเรียกคณะนี้ว่าวนวาสีแปลว่าผู้อยู่ป่า ปรากฏในศิลาจารึกว่า พระเจ้าแผ่นดินซึ่งครองกรุงสุโขทัยทรงจัดให้พระมหาสวามีสังฆราชที่มาจากลังกาอยู่ในอรัญญิกประเทศ คือ อัมพวันวนาราม วัดสวนมะม่วง นอกพระนครเป็นพระอยู่ในอารามป่า เล่าเรียนวิปัสสนา
คณะอรัญวาสีเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองคณะสงฆ์สมัยอยุธยา ประกอบด้วย คณะคามวาสีฝ่ายขวา คณะอรัญวาสี คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย การปกครองคณะสงฆ์ในครั้งกรุงสุโขทัย กำหนดไว้ว่า ในหัวเมืองใหญ่มีพระสังฆราชาปกครองทุกเมือง ในเมืองเล็กมีพระครูปกครอง และปกครองเฉพาะในเมืองนั้นๆ แต่ในราชธานีกำหนดไว้ว่า คณะคามวาสีมีพระพุทธโฆษาจารย์เป็นเจ้าคณะใหญ่ คณะอรัญวาสีมีพระวันรัตเป็นเจ้าคณะใหญ่ตลอดยุคสุโขทัย คติการสร้างวัดอยู่นอกพระนคร เช่นวัดอรัญญิก และวัดราชสิทธารามกรุงเทพมหานครอยู่ด้านทิศตะวันตกของเมือง เป็นวัดสายป่ามาก่อน
อรัญวาสีในสมัยกรุงศรีอยุธยา
การปกครองคณะสงฆ์แบ่งออกเป็นฝ่ายขวาฝ่ายซ้าย ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ได้แบ่งการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็นฝ่ายขวาฝ่ายซ้าย คือ คามวาสีฝ่ายซ้ายให้สมเด็จพระอริยวงศาญาณปกครอง สมเด็จพระวันรัตสังฆราชคามวาสีเดิมนั้นปกครองคณะปักษ์ใต้ฝ่ายขวา คามวาสีจึงแบ่งออกเป็นสองคณะตั้งแต่นั้นมา
หากแต่ตำแหน่งวันรัต แปลว่า ผู้ยินดีป่า ต่อมา เป็น พนรันต์ เป็นป่าแก้ว
การปกครองคณะสงฆ์ แบ่งดังนี้
1. คณะคามวาสีฝ่ายขวา มี สมเด็จพระวันรัต เป็นเจ้าคณะใหญ่ มี ธรรมโคดม เป็นผู้ช่วย
2. คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย มี สมเด็จพระอริยวงศาญาณ เป็นเจ้าคณะใหญ่ มี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และพระพิมลธรรม เป็นผู้ช่วย
3. คณะอรัญวาสี มีพระพุฒาจารย์ เป็นเจ้าคณะใหญ่ มี พระญาณไตรโลก เป็นผู้ช่วยและเป็นเจ้าคณะฝ่ายสมถะและวิปัสสนา คณะลาว คณะรามัญ ทั้งปวงด้วย
ยุคนี้ ตำแหน่ง พุฒาจารย์ เริ่มเข้ามามีบทบาทต่อสายอรัญวาสี
อรัญวาสีในสมัยรัตนโกสินทร์
คณะอรัญวาสีเป็นคณะสงฆ์ดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และมีเจ้าคณะปกครองมาแต่อดีต เจ้าคณะอรัญวาสีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มี รัชกาลที่ 1 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะใหญ่อรัญวาสี 1 สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) (พ.ศ. 2359-2363) วัดราชสิทธาราม และคติมักเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เช่น เจ้าคณะใหญ่อรัญวาสี 5 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (พ.ศ. 2407-2415) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร และองค์ท้ายที่ดูแลฝ่ายอรัญวาสี 14 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ ติสฺสเทโว) พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2472 วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร การปกครองคณะสงฆ์ในรัชกาลที่ 3 ทรงปฏิรูปคณะสงฆ์ขึ้น คณะสงฆ์เพิ่มขึ้นมี 4 คณะ คือ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง คณะอารัญวาสี มีคณะใหม่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้อีก คือ คณะธรรมยุติกะ ครั้งแรกจำนวนน้อยอาศัยอยู่กับคณะกลาง
คำว่า อรัญวาสี เข้ามามีบทบาทด้านการปกครองคณะสงฆ์แยกชัดเจนเป็นกลุ่มต่างหากตั้งแต่สุโขทัยจนถึงกรุงเทพตอนต้น
อรัญวาสีในล้านนา:
ตำนมูลศาสนา ยืนยันความมีอยูของฝ่ายอุทุมพร ในมอญ พะอัน สำนักนี้เข้าถึงล้านนา 2 ระยะเป็นหลัก
สมัยกือนา สวนดอก และสมัยพระเจ้าติโลกราช เป็นสงฆ์ป่าแดง อิทธิพลสิงหลสงฆ์
พัฒนาการต่อจากอรัญวาสี จากรามัญนิกายสู่ธรรมยุติกนิกาย นับเป็นคุณูปการต่อมาให้กำเนิดสายวัดหนองป่าพงที่นำพระพุทธศาสนาไปสู่โลกตะวันตก อันเป็นก้าวย่างใหม่ทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่สะท้อนมิติการเปลี่ยนผ่านและการปรับตัวของพระสงฆ์ในบทบาทพลเมืองโลกและศาสนาที่โอบอุ้มพหูชนที่หลากหลายมากขึ้น

ASEAN Studies Centre

Recommended Posts