110 รวมเข้าชม, 1 เข้าชมวันนี้
]
ศูนย์อาเซียนศึกษา เปิดเว็บไซต์ www.asc.mcu.ac.th รองรับการใช้งานผู้พิการ เข้าถึงข้อมูลภาครัฐของคนทุกช่วงวัย
ด้วยศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นศูนย์ประสานงานและบริการวิชาการของประชาคมอาเซียน ภายใต้การขับเคลื่อนพันธกิจการเป็น คลังข้อมูลด้านพระพุทธศาสนาและอาเซียนศึกษา (ASEAN THINK TANK) การพัฒนาระบบให้สามารถรองรับการใช้งานของคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการเข้าถึงข้อมูลภาครัฐและ ข่าวสาร และสารสนเทศของประชาคมอาเซียนอย่างเท่าเทียม โดยพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ. ดร. , ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา ได้มอบนโยบายแก่บุคลากรในการพัฒนากิจกรรมและการดำเนินการว่า ศูนย์อาเซียนศึกษาจะต้องบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาที่เชื่อมโยงกับผู้คนเป็นหัวใจหลักและมุ่งขับเคลื่อนงานร่วมกับสังคม สร้างการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อตอบวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนและพันธกิจของมหาวิทยาลัย
ในปัจุบันพบว่ากลุ่มผู้พิการยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีอยู่ยังไม่รองรับการใช้งานของผู้พิการ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประมาณการจำนวนผู้พิการในประเทศไทยว่าอาจจะมีมากถึง 1.8 ล้านคน และจากการสำรวจพบว่า 90% ของเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เอื้ออำนวยแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ จึงเป็นสาเหตุที่ศูนย์อาเซียนศึกษาดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับกลุ่มผู้คนเพื่อจะยืนยันว่าประชาชนจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง อันเป็นการเติบโตและการอยู่ร่วมกันของสังคมและการสร้างประชาคมอาเซียนให้ยั่งยืน
ดังนั้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ ศูนย์อาเซียนศึกษา ภายใต้แนวคิด “PEOPLE” จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ www.asc.mcu.ac.th ให้สามารถรองรับการใช้งานของผู้พิการทุกประเภทตลอดจนผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและปฏิบัติงานให้สอดรับกับแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่องการกำหนดสิทธิของคนพิการในอาเซียนโดยได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญที่ระบุไว้ใน ASEAN-Enabling Masterplan 2025
ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลโยลีสารสนเทศ ได้ออกกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 ตามมาตรา 20 (6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2500 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2554 ที่ผ่านมา.
อ่านเพิ่มเติม :-
วุฒิชัย อัตถาพงศ์, พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, เวทย์ บรรณกรกุล. (2019). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริม คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมเชิงพุทธ. วารสาร ม จร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 5(2), 81-90.
วริศดา พุกแก้ว, พระพรห บัณฑิต (ธมฺมจิตฺ โต). (2020). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักพุทธ สันติ วิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 751-762.
Goolprom, W. (2022). พุทธนวัตกรรมการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตเพื่อแก้ปัญหาโรคซึมเศร้าของผู้ สูงอายุในจังหวัดลำพูน. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(3).
อุทัยวรรณ สุกิมานิล. (2020). แนวคิดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุภายใต้พุทธวิธีและกฏหมาย. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 8, 386-402.
ASEAN Studies Centre