131 รวมเข้าชม,  1 เข้าชมวันนี้

]

หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ด้วยความหวังที่จะควบคุมภาวะเงินเฟ้อและกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
.
สายการบินแห่งชาติของรัสเซีย Aeroflot จะกลับมาให้บริการการบินระหว่างมอสโกและภูเก็ตของไทยตามปกติภายในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งภูเก็ตถือเป็นปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย แต่เส้นทางบินดังกล่าวได้ถูกระงับไปหลังเกิดสงครามยูเครน-รัสเซีย
.
อย่างไรก็ดี การกลับมาดำเนินการใหม่ครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อภาคการท่องเที่ยวของไทยและด้วยเหตุที่จีนยังคงใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์อยู่ รัสเซียจึงกลายเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยมากที่สุดในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ไทยจึงตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียให้ได้ 1 ล้านคนภายในปีนี้
.
นอกจากนี้ ไทยและรัสเซียยังได้ตกลงที่จะขยายการค้าแบบทวิภาคีให้ได้มูลค่าแตะ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2566 ซึ่งมากกว่าปี 2564 เกือบ 4 เท่า อีกทั้งไทยยังมีการส่งออกรถยนต์และอาหาร และนำเข้าน้ำมันดิบและปุ๋ยจากรัสเซียด้วย
.
ขณะเดียวกัน เวียดนามและรัสเซียก็มีการเจรจาเรื่องการขยายการส่งออกข้าวสาลีเมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยการส่งออกข้าวสาลีของรัสเซียไปยังเวียดนามลดลงกว่า 190,000 เมตริกตันในปี 2564 จาก 2.6 ล้านเมตริกตันในปี 2561 หลังจากพบการปนเปื้อนของเมล็ดทิสเซิลในข้าวสาลี
.
อย่างไรก็ดี รัสเซียจะส่งข้าวสาลีแบบปลอดเมล็ดทิสเซิลรุ่นทดลองให้เวียดนามโดยเร็วที่สุดภายในต้นเดือนกันยายน ซึ่งข้าวสาลีถูกใช้อย่างกว้างขวางในเวียดนามสำหรับการทำขนมปังและเส้นก๋วยเตี๋ยว เวียดนามเองก็หวังที่จะควบคุมราคาภายในประเทศจากการเพิ่มการนำเข้าจากรัสเซีย
.
ขณะที่ เมียนมาก็กระชับความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยจะเริ่มนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียโดยเร็วที่สุดภายในเดือนกันยายน ภายใต้ข้อตกลงที่เจรจากันไว้ตอนนาย Min Aung Hlaing ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาได้เดินทางไปเยือนรัสเซียในเดือนกรกฎาคม
ที่มา AEC Connect

ASEAN Studies Centre

Recommended Posts