600 รวมเข้าชม,  1 เข้าชมวันนี้

ผู้วิจัย:              พระครูวิมลศิลปกิจ
(เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง), ผศ.ดร.,

                     นายศุภกร ณ พิกุล, นางอมลณัฐ กันทะสัก,

                     พระอธิการสุชาติ เครือน้อย, ผศ.ดร.สมหวัง
อินทร์ไชย,

                     พระครูสุธีสุตสุนทร
(สมพงษ์ พอกพูน),
ดร.,

                     ผศ.จำเริญ
ฐานันดร,  ผศ.ดร.ปฏิพันธ์
อุทยานุกุล,

                     ดร.สหัทยา
สิทธิวิเศษ  และ นายอานุรักษ์ สาแก้ว,

ส่วนงาน:   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย

ปีงบประมาณ:     ๒๕๖๒

ทุนอุดหนุนการวิจัย:
    
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

             การศึกษาวิจัยเรื่องนี้
มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อพัฒนางานศิลป์พิมพ์ลายเวียงกาหลงบนวัสดุที่หลากหลาย (๒) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลงโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีชุมชน
และ (๓) เพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ศิลปะเวียงกาหลงด้วยนวัตกรรมใหม่นำไปสู่เป้าหมายอาชีพที่ยั่งยืน
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จึงดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน
ประชากรเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๓๐ รูป/คน 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม
และแบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย และแบบประเมินผลก่อนและหลังการอบรม
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

             ในภาพรวม มีศิลปะลวดลายเวียงกาหลง ๔ กลุ่มใหญ่ๆ
มากกว่า ๕๐ ลาย โดยสามารถนำศิลปะลายเวียงกาหลงเหล่านั้นมาพัฒนาสร้างสรรค์ให้เป็นศิลปะร่วมสมัยอย่างน้อย
๗ แบบ
ได้แก่ ศิลปะดอกบัวบาน ศิลปะปลาคู่สำราญธารา ศิลปะบัวบูชาพระพุทธองค์
ศิลปะกิเลนดงน้อมกายา ศิลปะไก่ฟ้าพญาไพร ศิลปะพญาหงส์ใหญ่รวมพลกา
และศิลปะลายนานาในบัวตูม แล้วนำไปลงบนวัสดุอื่นๆ ได้อย่างหลากลายที่นอกเหนือจากเครื่องปั้นดินเผา
เช่น ร่ม ย่ามพระสงฆ์ เสื้อผ้า กระดาษฉากประดับ ผ้าฉากประดับ เป็นต้น โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษากับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลง
อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
สำหรับการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนผ่านศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน สร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมสำหรับการอนุรักษ์
และนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลง
อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลง
อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

Research   Title:   Sufficient Economic Theory: Wiang Ka Long stripe

                           towards sustainable career for community goals.

Researcher:          PhraKhru Wimonsinlapakit (Ruangrith
Kaewpiang), Asst.Prof. Dr.

                           Mr.
Supakorn Napikul,   Mrs. Amolnatha
Kantasak

                           PhraAthikarnSomchat Kurenoi, Asst.Prof. Dr. Somwang inchai, 

                           PhraKhru Suteesutasuntorn (Sompong Pokpoon),
Dr.                           

                           Asst.Prof. Jamreon Thanandorn,   Asst.Prof.
Dr. Phatipan Uttayanukul,     

                           Dr. Sahattaya Sittiwises   and Mr.
Anurak Sakaew,                       

Division:               Mahachulalongkornrajavidyalaya University

                           Chiang Rai Sangkha
College

Academic year:  2562/2019

Research Scholarship Sponsor:  Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ABSTRACT

The 
research on this topic is aimed to (1) develop Wiang Ka Long stripe art printing on various
materials (2) study
on Wiang Ka Long  cultural area
administrative management by community participation and (3) build Wiang Ka Long art learning center with new
innovation leading to sustainable career goal,it is workshop action research to
proceed on intergration researching, important participant population are ๓๐ monks/person, using
research tools are dept interview, participant observation and sub-group
meeting, pre and post training  evaluation study result find that.-

In all images there are 4 big groups have much more than 50 stripes which are able to bring for creating to be contemporary art at least ๗ patterns, floating lotus art, lively fish art,praying Lord Buddha lotus art, bowing wild dragon art, big  forest phesant art, all troups big swan art,and various stripes in keeping lotus art then bring into other materials out of earthenware for instance on  umbrella, monkbags, clothes,papers, decoration curtain, cloth on decoration by buildin network among education units both government and non government units in the Wiang Ka Long cultural area, Wiang papao District,Chiang Rai Province for  area sustainable  development through community art and culture ,building conservative area and  leading to  build  Wiang Ka Long cultural entrepreneurship,Wiangpapao District,Chiang Rai Province and cultural map.

https://drive.google.com/file/d/1NDRa571NGdYKlHvjRLx–sXdCzb_kYGV/view?usp=sharing

The post ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง : ลายเวียงกาหลงสู่เป้าหมายอาชีพที่ยั่งยืนของชุมชน appeared first on วิทยาลัยสงฆ์นครพนม.

วิทยาลัยสงฆ์นครพนม

Recommended Posts