629 รวมเข้าชม, 1 เข้าชมวันนี้
ผู้วิจัย: ดร.สิรภพ สวนดง
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนในเขตอีสานใต้”
มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและบริบทของภูมิปัญญาประเพณีทางพระพุทธศาสนาของประชาชนในเขตอีสานใต้
๒) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาประเพณีและการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนาของประชาชนที่ปรากฏอยู่ในเขตอีสานใต้
และ ๓) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนในเขตอีสานใต้
เป็นการวิจัยแบบคุณภาพและเชิงปฏิบัติการ โดยใช้วิธีการวิจัยสัมภาษณ์แบบลงพื้นที่วิจัย
ผลจากการวิจัยพบว่า
ภูมิปัญญาเป็นองค์ความรู้ของคนในชุมชนท้องถิ่น
โดยมีการสั่งสมกันมาจากประสบการณ์ ระยะเวลาของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
เป็นการดำรงชีวิตให้เข้ากับธรรมชาติ แล้วสืบต่อกันมาจนเป็นภูมิปัญญาประเพณีท้องถิ่นของประชาชนในอีสานใต้
และภูมิปัญญาประเพณีของประชาชนที่ปรากฏอยู่ในเขตอีสานใต้มีดังต่อไปนี้ คือ (๑)
อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดกิจกรรมทำเทียนพรรษา
เป็นการสร้างความสามัคคีทั้งบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี (๒)
อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการจัดกิจกรรมบุญบั้งไฟ
ซึ่งแสดงออกถึงการสักการบูชาจากความเชื่อเกี่ยวกับพิธีขอฝน
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประกอบพิธีกรรมขึ้น (๓) อำเภอหนองบัวแดง
จังหวัดชัยภูมิ มีกิจกรรมบุญกระธูป ชุมชนจัดกิจกรรมร่วมกันแสดงออกความเคารพศรัทธาต่อพระรัตนตรัย
และ (๔) อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
มีการจัดกิจกรรมการบวชนาคช้างถือเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
รูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนในเขตอีสานใต้
ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่การวิจัยโดยการสัมภาษณ์ มี ๔ รูปแบบ คือ (๑)
รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาองค์ความรู้ของภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธ มีการกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ด้านประเพณี
วัฒนธรรมและพิธีกรรม มีการสร้างและแสวงหาความรู้ มีกระบวนการทางความรู้
มีความคิดสร้างสรรค์ มีการจัดทำเป็นหนังสือเพื่อเป็นการพัฒนาให้เป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อเป็นต้นแบบหรือต้นฉบับองค์ความรู้
เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นรูปแบบเดียวกันในท้องถิ่น (๒)
รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาตามหลักศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสารในชุมชน เพื่อการสร้างความสามัคคีหรือสร้างองค์ความรู้สมัยใหม่ให้แก่ชุมชน
ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงรวดเร็ว
การช่วยประสานงานที่เป็นประโยชน์ของความรู้ภูมิปัญญาประเพณีเชิงพุทธทั้งความรู้ดั้งเดิมและความรู้สมัยใหม่ในปัจจุบัน
เพื่อผสมผสานให้ทันสมัย (๓)
รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาการสร้างเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการฝึกอบรม
เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการ วิธีการและได้มีความรู้เพิ่มเติม
สร้างความสามัคคี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสานงานที่ให้มีประสิทธิภาพ
สามารถสร้างสรรค์ความรู้ ความคิดเห็นให้เป็นไปตามแบบอย่างจะเป็นแลกเปลี่ยนองค์ความรู้
และประสบการณ์ และหน่วยงานภายในองค์กร (๔)
รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาการสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ประเพณีทางพุทธศาสนา ต้องปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
เพื่อสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
เป็นการสร้างความเจริญและความสุขให้ทั้งตนเองและสังคม อีกอย่างหนึ่งก็เป็นการการสร้างอาสาสมัครเพื่อนำไปสู่สังคมความร่วมมือในชุมชนและพัฒนาตามกระบวนการไปสู่ถึงเป้าหมายโดยการใช้ความรู้
ความเข้าใจ สร้างความตระหนักและความสำนึกในการเข้ามามีส่วนร่วม
Research Title: The Development Model of Buddhist Wisdom and Tradition
and
Promotion of
Public Learning in Southern Isan
Researcher: Dr.Siraphop Suandong, and
Dr.Sanguan Lapontan
Department: Mahachulalongkornrajavidyalaya
University, Nakhon Ratchasima
campus
Fiscal Year: 2562/2019
Research Scholarship Sponsor: Mahachulalongkornrajavidyalaya
University
ABSTRACT
The
research report on ” The Development Model of Buddhist Wisdom and
Tradition and Promotion of Public Learning in
Southern Isan” has the objectives 1) to study
of the general state and the context of
the Buddhist traditional wisdom of people in the South-Isan region, 2) to study the Buddhist traditional wisdom and learning of
the people that appear in the South-Isan region and 3) to
offer of the model for developing Buddhist wisdom and traditions with the
promotion of people’s learning in the South-Isan region.
It is a research of quality and practice by using interview research
methodology in the research area.
The
result of the research found that
Wisdom is the knowledge of the people in the local community with
accumulation from experience. The duration of continuous learning is living in
harmony with nature, then passed on to the local traditions of the people in
the Southern-Isan region. And the wisdom and tradition of the people that
appear in the Southern-Isan region are as follows: (1) Chokchai District,
Nakhon Ratchasima Province organized activities to make candles. It is to
create unity in all houses, temples, schools (Bowon), which is organized
annually, (2) Nong Hong District, Buri Ram Province has activity for fireballs
which demonstrate the worship of beliefs about the ceremony for rain or related
agencies have performed the ritual, (3) Nong Bua Daeng District, Chaiyaphum
Province has activity of tradition of merit making, incense sticks. The
community organized activities to show respect and respect for the Triple Gem
and (4) Tha Tum District, Surin Province. There is activity with the ordination
of elephants to ordain as a means to renew age of Buddhism.
The developmental model of Buddhist wisdom and tradition and
promotion of public learning in the Southern-Isan region, the researcher
entered the research area by interviewing in 4 types which are (1) the form of
promotion and development of knowledge of Buddhist wisdom and traditions. There
are stipulations that must be learned about traditions, cultures and rituals,
there is creating and seeking knowledge, there is a knowledge process, there is
creative thinking, threr has been written book in order to be a written
development to be a prototype or original knowledge to be used in the study of
the same form in the locality, (2) the form of promotion and development of
wisdom transfer according to modern science which is information in the
community for creating unity or creating new knowledge for the community to
receive information and information quickly helping to coordinate the benefits
of knowledge and traditional Buddhist wisdom, both traditional knowledge and
modern knowledge today in order to integrate modernly, (3) the form of
promotion and development for the creation of a network of related agencies,
with training to create learning processes based on principles, methods, and
additional knowledge, there is create unity, there is exchange of knowledge.
Coordinate for efficiency able to create knowledge and opinions according to
the model, will exchange knowledge and experience and departments within the
organization (4) the form of promotion and development of awareness raising,
preservation of Buddhist traditions must follow the Buddhist principles in
accordance with a good life , it is building prosperity and happiness for both
ourselves and society, on the other hand, it is volunteer creation to
contribute to society, community cooperation and it is development according to
the process to reach the goal by using knowledge, understanding, creating
awareness and awareness of participation.
PDF Embedder requires a url attribute
https://drive.google.com/file/d/1JzTlLKUwyO-HqBnVifO7Lf4IjiL0qW5v/view?usp=sharing
The post รูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาและประเพณีเชิงพุทธกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนในเขตอีสานใต้ appeared first on วิทยาลัยสงฆ์นครพนม.
วิทยาลัยสงฆ์นครพนม