126 รวมเข้าชม, 1 เข้าชมวันนี้
]
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ เปิดนโยบาย ASEANnext ปรับโฉมศูนย์อาเซียนศึกษา
ศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นหนึ่งในส่วนงานระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีเป้าหมายสำคัญคือการเป็นศูนย์ประสานงานของมหาวิทยาลัยในระภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็น ๑ ใน ๕ มหาวิทยาลัยที่มีนิสิตต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ สภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีมติอนุมัติแต่งตั้งให้ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. , ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา ก่อนหน้านั้น พระจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา และเป็นอาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์ ทั้งนี้ ยังมีผลงานตำรา หนังสือ วิจัยและรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น รางวัลเสมาธรรมจักร สาขาการประพันธ์หนังสือและวรรณกรรมพระพุทธศาสนา หนังสือพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น
ผลงานในช่วงดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษานั้น พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. คือการปรับภาพลักษณ์องค์กร การพัฒนาทรัพยากรบุคลากร เป็นสำคัญ โดยมีการดำเนินการปรับปรุงสำนักงานเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยการต่อการปฏิบัติงาน แบ่งส่วนงานและกำหนดหน้าที่ใหม่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ มุ่งเน้นการให้บริการแบบลูกค้าเป็นศูนย์กลาง หรือทำให้เกิด Customer Centric ที่สำคัญคือการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับอนาคต
เมื่อเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ. ดร. ได้วางกรอบนโยบาย ๕ ภารกิจเพื่อขับเคลื่อนพันธกิจศูนย์อาเซียนศึกษาแก่บุลคากร
“งานวิชาการทางพระพุทธศาสนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความน่าสนใจ และ มจร มีข้อมูลจำนวนมหาศาลอยู่ในมือ ที่สำคัญคือเครือข่ายที่มหาจุฬามีอยู่ และที่ศูนย์กำลังพัฒนาต่อยอด ถือเป็นข้อได้เปรียบในการนำพัฒนางานวิชาการโดยเราตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็น Think Tank of Community” พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ. ดร. กล่าวเสริม
“นอกจากนี้ จุดแข็งของศูนย์อาเซียนศึกษา คือมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี โดยจะเห็นได้จากการที่พนักงานสามารถเข้ากับเครือข่ายองค์กรที่หลากหลายได้ เข้าใจวิถีวัฒนธรรมอาเซียน รู้จักคนและ มี Connection สูง นี่เป็นจุดแข็งของศูนย์อาเซียนศึกษา”
ชู ๕ ภารกิจ Road to Centre of the People
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร. กล่าวต่อว่า ในปี ๒๕๖๖ นี้ ศูนย์จะทบทวนแผนยุทธศาสตร์เพื่อวิเคราะห์จุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนาต่อไป ภายใต้กรอบการพัฒนาและแนวคิดที่ยั่งยืน ซึ่งศูนย์อาเซียนศึกษา มุ่งสร้างความร่วมมือที่ขยายไปสู่สถาบันการศึกษาในภาคพื้นยุโรปและเอเชียแปซิฟิก การพัฒนา Digital Buddhist Archive ให้เป็นคลังข้อมูลพระพุทธศาสนา ที่สำคัญ ASEAN TALK จะพัฒนาขึ้นเป็น Home of Leader and Scholar ที่จะมาแบ่งปันและเรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัย
ส่วน ASC -Think Link Think คือแนวคิดที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ศูนย์ตั้งเป้าส่งเสริมและพัฒนาทักษะและศักยภาพของนิสิตทุกระดับและส่งนิสิตไปฝึกงานและ workshop ในสถาบันนานาชาติ
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ.ดร.กล่าวทิ้งท้ายว่า ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่ให้โอกาสและไว้วางใจให้ปฏิบัติงาน และขอยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารที่มอบความไว้วางใจให้ดีที่สุด ทั้งนี้ จะยึดประโยชน์มหาวิทยาลัยเป็นสิ่งสูงสุดตามพระราชปณิธานล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ที่จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ไทยและตอบโจทย์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ต่อไป
ASEAN Studies Centre