98 รวมเข้าชม,  2 เข้าชมวันนี้

]

“อำนาจกับความรู้” ถ้ามีความรู้ก็นำไปสู่การควบคุม หากมีการควบคุมก็ต้องอาศัยความรู้แม้อำนาจกับความรู้จะเป็นอิสระต่อกัน แต่ต้องไปด้วยกันเสมอ (Power/Knowledge)อำนาจทำให้เรากลายเป็นวัตถุเพื่อการควบคุมตรวจตาและจ้องมองของอำนาจ แต่อีกด้านอำนาจทำให้เรากลายเป็นอัตตบุคคล ที่ต้องควบคุมตรวจสอบตัวเอง ไม่ให้ล้ำเกินไปจากเส้นแบ่งและเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่กำหนด “ความเป็นปกติ” ของคนในสังคม Michel Foucault, 1984 1979
(ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร,2560)

เป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับสัปดาห์นี้ ที่ทางกองบรรณาธิการได้ร่วมพูดคุยกับอาจารย์ ปริญญา นิกรกุล อาจารย์ประจําภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถึงปัญหาที่เป็นปัญหาของรัฐไทยมาโดยตลอดและดูเหมือนว่าถึงจะผ่านเวลาไปนานเท่าใด ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่ถูกสะสางเสียที

สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นปัญหาจุดนี้คือความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งเราอาจจะพูดได้ว่าเป็นความรุนแรงที่เกิดจากรัฐ บางพื้นที่ลุกลามจนก่อเกิดเเป็นอาชญากรรมที่เกิดจากผู้มีอำนาจในรัฐเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน ปัญหานี้ยิ่งตอกย้ำความบอบช้ำที่มีอยู่ให้หนักขึ้นไปกว่าเดิม

บทความต้องการชี้ให้เห็นประเด็นที่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ของคนกับป่า ตัวเร้าปัญหาหนึ่งที่เด่นชัดคือระบบราชการ และความไม่ยุติธรรมทางโครงสร้าง จึงทำให้คนอยากที่จะเข้าถึงทรัพยพากรได้ โดยเฉราะคนชายขอบ เพราะพวกเขาโดนกระทำจากโครงสร้างที่อยุติธรรม

ปัญหาระหว่างรัฐ คน ป่า อยู่ตรงไหนบ้างครับ
เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นผมขอย้อนเวลาเพื่อสืบเสาะปฏิบัติการของรัฐสักเล็กน้อย ในเรื่องภาษีอากร สัมปทานป่าไม้ เครื่องมือรวมศูนย์อํานาจในล้านนา สู่กรุงเทพฯ (เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว 2564) เพื่อให้เราได้เห็น ภาพที่ชัดมากขึ้น เดิมทีล้านนามีระบบการจัดเก็บภาษีอากรของตนเองโดยที่สยามไม่เคยเข้าไปควบคุม แต่เมื่อ กรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงขึ้นไปกํากับราชการที่เมืองเชียงใหม่จําเป็นต้องใช้เงินในการทํางานต่าง ๆ ระยะแรกข้าหลวง เจรจากับเจ้าเมืองขอรายได้ 1 ใน 3 จากการเก็บภาษีอากรเมืองเชียงใหม่ เมืองลําปาง และเมืองลําพูน ส่วนที่เหลือ เป็นของเจ้าเมืองนั้น ๆ แต่เมื่อสยามเริ่มวางระบบราชการอย่างจริงจังทําให้เงิน 1 ส่วน ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ในเวลานั้นรัชกาลที่ 5 มีพระราชดําริจัดตั้งภาษี 100 ชัก 3 ทั่วพระราชอาณาเขตเพื่อเพิ่มฐานะการคลัง
ด้านรายได้จากการป่าไม้ซึ่งเป็นรายได้หลักของบรรดาเจ้านาย ก่อนหน้าการจัดตั้งกรมป่าไม้ กรุงเทพฯ มี รายได้จากการทําไม้ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เจ้านายล้านนามีรายได้ ทั้งค่าเปิดป่า ค่าให้สัมปทานป่า และค่าตอไม้ รายงาน รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นถึงรายได้ ดังกล่าวจึงมีพระราชประสงค์ดึงรายได้จากการทําไม้เข้าสู่ส่วนกลาง ใน พ.ศ. 2439 กรุงเทพฯ เชิญบริษัททําไม้ของอังกฤษมาวางแผนจัดตั้งกรมป่าไม้และขอยืมตัว มิสเตอร์ เอช. เอ. สเลด (Mr. H. A. Slade) จากพม่ามาช่วยดูแลงานป่าไม้โดยตรงและจัดตั้งกรมป่าไม้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2439 เพื่อ ดําเนินการแก้ไขปัญหากรรมสิทธิ์ป่าไม้ กรมป่าไม้ทําหน้าที่ดูแลการให้สัมปทานป่าไม้เพียงแห่งเดียวทําให้กรุงเทพฯ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ใน พ.ศ. 2439 ซึ่งเป็นปีแรกที่กรมป่าไม้ถูกจัดตั้งขึ้นมีรายได้ 333,360 บาท (เนื้ออ่อน ขรัวทอง เขียว, 2564)
ในช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5 ประเทศไทยต้องปรับตัวขนานใหญ่ เพื่อการประสานประโยชน์ และเอาตัวรอด ต่อการรุกรานล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก และได้เริ่มมีการออกกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้มีการสัมปทาน การ ทําไม้สัก และไม้ประเภทต่างๆ เพื่อส่งขายให้กับประเทศตะวันตกที่เป็นนักล่าอาณานิคมเหล่านั้นดิน น้ํา ป่า ทั่ว ประเทศนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงถูกตีตราเป็นของรัฐ รัฐมีกรรมสิทธิ์ครอบครอง และเป็นผู้จัดสรรกรรมสิทธิ์ ให้กับเอกชนเข้ามาหาประโยชน์ได้ ยิ่งในสมัยที่รัฐบาลมีการจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 จนถึงฉบับที่ 6 ใน ปัจจุบัน รัฐได้ออกพระราชบัญญัติขึ้นหลายฉบับเพื่อที่จะค่อยๆ บังคับ และยึดเอากรรมสิทธิ์ที่มากขึ้น จึงเท่ากับว่า สิทธิโดยจารีตของชุมชนได้หายไปจากการออกพระราชบัญญัติต่างๆ ของรัฐ (เอนก นาคะบุตร, 2536)
รัฐในฐานะเครื่องมือรับใช้ชนชั้นทางปกครอง ดังนั้นรัฐจึงเกิดขึ้นเมื่อบรรดาภารกิจหลายอย่างที่ทุกคนใน สังคมเคยมีร่วมและมีบทบาทร่วมกันได้ถูกกําหนดให้เป็นบทบาทของคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น และแน่นอนว่าคน กลุ่มที่ยึดกลุ่มหน้าที่เหล่านี้มาจากมวลชนที่ได้ผลประโยชน์จากการแยกขาดมวลชนออกจากภารกิจเหล่านี้ ได้แก่ ชนชั้นปกครอง ผู้ซึ่งได้ทําการแยกขาดชนชั้นผู้ผลิตของสังคมออกจากบทบาทและหน้าที่ต่างๆ ที่พวกเขาเคยมี ร่วมกันทั้งๆ ที่บทบาทและหน้าที่ต่างๆ ดังกล่าวนั้นเป็นช่องทางในการปลดปล่อยชนชั้นผู้ผลิตเหล่านี้ออกจากการ ถูกขูดรีด “ข้าราชการ” ก็มีผลสรุปเดียวกันแล้วก็จะเห็นรากเหง้าที่มาของคําเหล่านี้ว่ารัฐมนตรีก็คือธาตุหรือขี้ข้า ของบรรดาเจ้านายหรือขุนนางมาก่อนนั่นเองซึ่งคนเหล่านี้ตกอยู่ในฐานะที่ต้อง “ขึ้นต่อ” ชนชั้นปกครองอย่างไม่ กล้าหือ (Ernest Mandel ผู้เขียน กนกศักดิ์ แก้วเทพ ผู้แปล, 2559)
ดังนั้นแล้วหากเรามองมาที่ “สิทธิชุมชน” หมายถึง “สิทธิร่วม” เหนือทรัพย์สินของชุมชน สมาชิกของชุมชน ซึ่งทําหน้าที่ดูแลรักษาป่าเท่านั้น จึงจะมีสิทธิใช้และได้ประโยชน์จากป่าโดยนัยนี้ สิทธิชุมชนให้ความสําคัญกับการ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน (เสน่ห์ จามริก และคณะ, 2536) เมื่อเห็นเป็น เช่นนั้นแล้วทรัพยากรจึงถูกพรากไปจากอ้อมกอดของชุมชนโดยรัฐใช้อํานาจผ่านกฎหมายในการเข้ามาควบคุม ทรัพยากรผ่านเครื่องมือที่สําคัญคือ “ระบบราชการ”
อนาคตของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก (รัฐบาล) ที่มีนโยบายจะรักษาความมั่นคงของฐาน ทรัพยากรธรรมชาติโดยสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจึงเกิดยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2557 เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทําลาย ทรัพยากรป่าไม้ คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66 / 2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสําหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน (ผมเรียกว่านโยบายทวงคืนฝืนป่าที่จะสร้างรอยแผลเป็นให้กับชุมชน คนตัวเล็กตัวน้อยคนที่เข้าไม่ถึงทรัพยากรอัน เป็นที่มาของเรื่องที่เราเรียกว่า คนชายขอบ)
เมื่อมองในระดับโครงสร้างนโยบายการป่าไม้แห่งชาติที่ต้องการเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 40% ของประเทศ (นโยบายแบบนี้ไม่ใช่พึ่งมาเกิดเมื่อธันวาคม 2528 รัฐบาลได้กําหนดนโยบายป่าไม้แห่งชาติ พื้นที่อย่างน้อยร้อยละ 40 ของประเทศควรเก็บรักษาไว้เป็นพื้นที่ป่า) รัฐบาลในปัจจุบันได้กําหนดแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มาสู่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงเกิดแผน ยุทธศาสตร์ 20 ปี เพื่อแปลงมาสู่ระดับปฏิบัติการระดับกรม กรมอุทยาแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ 25% เป็น เขตอนุรักษ์, อุทยาแห่งชาติ ประเด็นขยายพื้นที่เดิม (เช่นห้วยขาแข้ง) ประกาศแหล่งใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ (และในบางพื้นที่มีความเหมาะสมอาจขอจากกรมป่าไม้) กรมป่าไม้ได้ 15% เป็นโครงการต่างๆ สวนป่า, ป่า (คทช.) เพิ่มพื้นที่ป่าชุมชน สปก./นิคม เป็นต้น
ยุทธการทวงคืนผืนป่าก็ได้สร้างความขัดแย้งในระดับปฏิบัติการจากแนวนโยบายนี้ เช่น เมื่อรัฐมีความ ต้องการป่าไม้เพิ่มนโยบายได้ถูกสั่งการมาในระดับปฏิบัติการพื้นที่ ก็ส่งพนักงานราชการ ลูกจ้างไปดําเนินการตรวจ ยึดคืนพนื้ที่จากผู้กระทําความผิดหรือรอการพิสูจน์สิทธิตามกฎหมายในบางกรณีแต่สิ่งที่หายไปคือความสัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจอันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ ของคนในชุมชน เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าและชุมชน เจ้าหน้าที่เองก็มีความยากและลําบากในการดําเนินการเพราะเป็นเครือญาติกัน แต่ถ้าไม่ดําเนินการก็ถูกละเว้น ปฏิบัติหน้าที่ ประเด็นเหล่านี้ระดับนโยบายไม่ได้มีความรับผิดชอบแต่ประการใดโดยเฉพาะลูกจ้างประจําหรือ ชั่วคราว) เราต้องปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้างที่มาจากประชาชนและเพื่อประชาชนไม่ใช่มาจากผู้ปกครอง แต่กับ อ้างว่าเพื่อประชาชน เช่น เดียวกันกับวาทกรรมคนกับป่า
อยากให้อาจารย์แนะนําองค์กรหรือหน่วยงาน ที่เข้าไปทํางานด้านนี้ สําหรับคนที่ไม่ทราบข้อมูลด้านนี้เลยให้ รู้จักบ้างครับ
ถ้าเรามองในภาพใหญ่ก็จะเห็นตัวแสดงหลักๆ (บนบกนะครับ) คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (Ministry of Natural Resources and Environment) ที่มีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์ พืช ที่ถือพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ที่กํากับดูแลที่เราคุ้นชินคือ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ และกรมป่าไม้ที่ถือ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ถ้าใกล้ชิดชุมชนหน่อยก็ พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562 เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชุมชนฯ เป็นต้น
การขับเคลื่อนองค์กรหรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่พิทักษ์สิทธิคนชายขอบ (ในการเข้าถึงทรัพยากร) ดําเนินการ ถึงขั้นไหน อาจารย์มองว่าจะสามารถลดความเหลื่อมลํา้ ทางสังคมได้ไหม
เราต้องยอมรับว่าบทบาทของรัฐไทยโตจนเกินงามโตอย่างเดียวไม่ว่านี้เล่นขยายขอบเขตไปจนกลบภาค ประชาสังคมหรือองค์กรเอกชนที่ยืนเขียงข้างประชาชนจนแทบจะกลืนกลายหรือหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันกบัรัฐ ไปแล้ว มูลเหตุอันเกิดจากงบประมาณการดําเนินงานเราต้องยอมรับว่ารัฐมีอํานาจ มีกฎหมาย มีคน มีทรัพยากร สนับสนุนอย่างมหาศาล ในอดีตเราก็เคยเห็น มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่ทํางานด้านป่าไม้ แต่เท่าที่ได้สัมผัส (หรืออาจ มีหน่วยงานอื่นอีกแต่ผมอาจไม่มีข้อมูลในส่วนนี้) ผมขอฉายภาพมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือกับขบวนการประชาชนเพื่อ
สังคมที่เป็นธรรม (P-move) ที่ต่อสู้เรื่องความเหลื่อมล้ําและความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งสองหน่วยงานนี้ที่จับ ประเด็นที่ดินทํากินเรื่องคนกับป่าอย่างจริงจัง หลังๆ มานี้ผมเริ่มเห็นศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เริ่มให้ความสนใจในประเด็กลุ่มชาติพันธุ์ (กระเหรี่ยง) ที่มีความสัมพันธ์กับป่าไม้และที่ดินบ้างแล้ว
การขับเคลื่อนงานทุนกับกําลังคนและทรัพยากรสนับสนุนเป็นเรื่องที่สําคัญถ้าการรวมกลุ่มในการต่อสู้เพื่อ คนชายขอบขับเคลื่อด้วยทุนแล้วมารวมกันทุนหมดสลายตัวทุนมารวมตัวก็ยากที่จะต่อสู้ได้ เพราะแต่ละคนมีความ รับผิดชอบทั้งหน้าบ้าน หลังบ้านที่แตกต่างกันผมก็รู้ว่าข้อนี้รัฐรู้ดี ในขบวนการต่อสู้กลุ่ม NGOs นักวิชาการ กลุ่มอิสระ ก็มีความหลากหลายทั้งอุดมการณ์ แนวคิด วิถีปฏิบัติ (ชาวบ้านต้องจับตากลุ่มแต่ละกลุ่มให้ดีเพราะมีผล ต่อชุมชนเป็นอย่างมากในการแก้ไขปัญหาของชุมชน) และมีแผนการดําเนินงานที่แตกต่างทั้งระดับนโยบายและ ปฏิบัติอีกด้วย บทบาทของรัฐที่โตจนเกินชุมชนหรือองค์กรเอกชนแล้วความเหลื่อมล้ําในเรื่องทรัพยากรก็จะโตตาม ไปเลื่อยๆ
อยากชวนอาจารย์คุยลึกลงถึงเรื่องนี้สักนิดหนึ่ง อยากขยับประเด็นมาที่ขบวนการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น เรามี ผู้หญิงหรือกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมบ้างไหมครับ
พอมีอยู่บ้างครับเท่าที่ผมรู้จักนะครับ เช่น ผู้ใหญ่สายชล มัทธวะสูตร์ บ้านท่ามะนาว ผู้ใหญ่บ้านหญิงแกร่ง แห่งบ้านท่ามะนาว อําเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ที่นําพาชาวบ้านดูแลป่าชุมชนของหมู่บ้านและเจราจาขอคืน พื้นที่ที่โดนบุกรุกแล้วนํามาเป็นพื้นที่ป่าชุมชนไดน้ับว่าน่าชื่นชมที่มีความกล้าหาญและเอาจริงเอาจังกับป่า
กลุ่มเครือข่ายกระเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บ้านป่าผาก อําเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีการต่อสู้อย่างยาวนานกับปัญหาเรื่องสิทธิในที่ดินทํากินระหว่างชาวบ้านและเจ้าหน้าที่รัฐ ล่าสุดก็ได้รับประกาศ เกียรติคุณบุคคลเกียรติยศ มูลนิธิโกมลคีมทอง ประจําปี 2566
กลุ่มของ “นกเอี้ยง” จารุวรรณ เมืองแก่น หญิงชาวกะเหรี่ยงโผล่ว และ แนท–เพชรรัตน์ อนุสรณ์ประชา แห่งหมู่บ้านห้วยหินดํา อําเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ยังคงรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของ คนกับป่าที่พึ่งพาอาศัยกัน เช่น ปลูกผัก ปลูกกาแฟและสร้างแบรนด์ “มาอยู่ดอย” และทําเกษตรอินทรีย์ ทั้งสอง เป็นคนรุ่นใหม่ทเี่ลือกกลับมาพัฒนาบ้านเกิดตัวเองนับว่าหาได้อยากยิ่งคงต้องชื่นชมครับ
กลุ่มผู้หญิงและเยาวชนผู้หญิงกะเหรี่ยงโปว์บ้านพุเม้ยง์ (ภูเหม็น) ตําบลทองหลาง อําเภอห้วยคต จังหวัด อุทัยธานี ทอี่ อกมาขับเคลื่อนพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมกะเหรี่ยงตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 โดยการ แสดงออกผ่านการแต่งกาย ภาษา และเสียงเพลง เป็นต้น
เรามีทางเลือกหรือแนวทางใดที่จะสร้างความยั่งยืนและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมต่อประเด็นนี้ไหมครับ
ต้องอาศัยการคิดแบบคู่ตรงข้ามอย่างแดร์ริดา (ผู้เขียน แคทเธอรีน เบลซีย์ ผู้แปล อภิญญา เฟื่องฟูสกุล ,2006) ที่อาศัยการคิดแบบคู่ตรงข้ามเรามีการจัดลําดับกฎหมายให้ความสําคัญกับการลดหลั่นกันด้วยตัวบท และ อํานาจของรัฐถูกให้ค่าสูงยิ่งกว่าอํานาจประชาชนหรือไม่ ? วัฒนธรรมการทํางานของรัฐได้รับอภิสิทธิ์เหนือ วัฒนธรรมของชาวบ้านอยู่หรือไม่ ? ก็เป็นคําถามที่ชี้ชวนให้ขบคิดอยู่ไม่น้อย การสร้างวาทกรรมชาวบ้านด้อย การศึกษา ชาวบ้านล่าสัตว์ ตัดไม้ เผาป่าสิ่งเหล่านี้เกิดจากการกระจายโอกาศที่ไม่เป็นธรรมอยู่หรือไม่จึงทําให้ ชาวบ้านเข้าถึงสิทธิของคนกับทรัพยากรอย่างไม่เท่าเทียม
ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างนโยบายหรือภาคปฏิบัติการของรัฐ ระบอบอํานาจนิยม กฎหมายที่มีหลายฉบับ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่สัมพันธ์กับคนและป่าไม้ที่เอยมานี้จึงนํามาสู่ความเหลื่อมล้ํา ปัญหาเชิงโครงสร้างดังกล่าวจะ เป็นตัวบดบังวิธีปฏิบัติระหว่างระดับปฏิบัติการและชาวบ้านจึงนํามาสู่ความขัดแย้งซึ่งเอื้อให้คน/กลุ่มคนได้เปรยีบ และได้ประโยชน์มากกว่าคน/บางกลุ่มคน ปัญหาการล่าสัตว์ ตัดไม้ การบุกป่า เผาป่า เล็กน้อยมาเมื่อไม่มอง โครงสร้างของปัญหาอย่างจริงจัง ครับผมอยากจะฝากไว้ว่า
“ความรู้จึงเปิดเผยบางสิ่ง แต่ปิดบังช่อนเร้นบางอย่างเสมอ เช่นเดี่ยวกันกับเรื่องราวของคนกับป่า”
คําถามสุดท้ายที่อยากชวนอาจารย์คุยกับเราวันนี้ มองแบบภาพรวมโดยเฉพาะประชาคมอาเซียน ที่ ประกาศผลักดันประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาจารย์มองว่า ASEAN ทําหน้าที่หรือดําเนินการที่ช่วย แก้ปัญหาเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด หรือเราไม่เห็นความพยายามเลย
“อุษาคเนย์” หรือ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” จัดเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ทางอารยธรรมและ ชาติพันธุ์วรรณนา (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2547) ชนเผ่าพื้นเมืองมีอยู่ใน 9 ประเทศ อาจยกเว้นประเทศบูรไน ที่ไม่มีการ ระบุ (แต่อาจจะมี) ทุกประเทศเรียกพวกเราว่า “ชนกลุ่มน้อย” มากกว่าที่จะระบุว่าเราเป็นชนเผ่าพื้นเมือง ประเทศ พม่า 14 ล้านคน 30-40% ประเทศกัมพูชา 1.2 แสนคน 0.9-1.4% ประเทศลาว 2.4-4 ล้านคน 70% ประเทศ มาเลเซีย 3.4ล้านคน 12 % ประเทศฟิลิปปินส์ 12 ล้านคน 10-15 % ประเทศไทย 900,000 คน 1.5 % ประเทศ เวียดนาม 10 ล้านคน 13.8% รวมแล้วน่าจะประมาณ 1/5 ของประชากรในภูมิภาค ASEAN เป็นชนเผ่าพื้นเมือง (Joan Carling, Secretary General ,AIPP, 2014)
ถ้าเรามองในมิติวัฒนธรรมของคนกับป่าซึ่งมีความแตกต่างกันในภูมิภาคนี้สิ่งที่ควรมองคืออํานาจในการ ดูแลรักษาทรัพยากรถูกแย่งไปเป็นของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือเปล่า หลักประกันอะไรที่ทําให้คนสามารถอยู่ ร่วมกับป่าไดท้รี่ัฐและกฎหมายยอมรับพื้นทหี่าอยู่หากินพื้นทจี่ิตวิญญาณที่พวกเขาเคยใช้ถูกห้ามอยู่หรือไม่
มรดกการเข้าใจถึงวัฒนธรรมของมนุษยชาติก็เป็นกุญแจอันหนึ่งที่จะนําไปสู่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ได้วัฒนธรรมนั้น หมายถึงความรู้ความเชื่อ และการให้ คณค่าของกลุ่มคนที่มีต่อธรรมชาติ และอาจช่วยให้กลุ่มคน นั้นรักษาธรรมชาติ ซึ่งอาจรวมถึงความรู้ที่ช่วยให้รักษาธรรมชาตินั้นได้ดียิ่งขึ้น เช่น วัฒนธรรมของกะเหรี่ยงที่ช่วย รักษาป่า วัฒนธรรมของมนุษยชาตินั้น พบว่าบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดหลายๆ แห่งของโลกนี้ จะมีชนท้องถิ่นและชนดั้งเดิมอาศัยอยู่ (สมศักดิ์ สุขวงศ์, 2545) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ก็เป็นคําตอบหนึ่ง) ที่เป็น รายได้จุนเจือแก่การดํารงชีพเมื่อคนในชุมชนมีเงินก็จะมีอํานาจในการต่อรองในการเข้าถึงทรัพยากรนั้นๆ ได้
กลุ่มชาติพันธุ์ใน ASEAN ถูกนิยามไว้ว่าอย่างไร หรือถูกนิยามว่าเป็นชนกลุ่มน้อย กลับมาที่ ASEAN รับรอง สิทธิพวกเขาไหม? พวกเขาสามารถแก้ไขปัญหาที่สอดรับกับวิถีชีวิตเขาได้ไหม? รัฐส่งเสริมภาษา อัตตลักษณ์ และ วัฒนธรรมในเวทีสากลเกี่ยวกับ ASEAN มากน้อยแค่ไหน พวกเขาเป็นคนชายขอบและถูกเลือกปฏิบัติโดยรัฐที่เป็น สามาซิก ASEAN อยู่หรือไม่ หากย้อนมาที่คําถามเราไม่เห็นความพยายามใดเลยจากสิ่งที่กล่าวมาสมกับสุภาษิตไทย ที่ว่า “ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน” จึงมองว่าเป็นเรื่องภายในสมาชิกอื่นๆ ก็ไม่ ควรเข้ามายุ่งเกี่ยวเพราะเรื่องภายใน มันเป็นเรื่องความมั่นคงทางวัฒนธรรม ที่ดินทํากินและที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ความ มั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางทหารจึงได้รับความสนใจน้อยก็เพราะพวกเขาถูกมองว่าเป็นชายขอบไง ครับจึงไม่ได้รับความสนใจหรือเหลียวแลจาก ASEAN
บรรณานุกรม
แคทเธอรีน เบลซีย์ ผู้เขียน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล ผู้แปล. (2549). หลังโครงสร้างนิยมฉบับย่อ : Poststructuralism: A Very Short Introduction. : มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ศูนย,์ 119
เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2564). ภาษีอากร-สัมปทานป่าไม้ เครื่องมือรวมศูนย์อํานาจในล้านนา สู่กรุงเทพฯ. ศิลปวัฒนธรรม ออนไลน์ https://www.silpa-mag.com/history/article_35305
สมศักดิ์ สุขวงศ์. (2545) เขตกันชนกับภาคีอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ. ชีวปริทรรศน์, 4(5), 71–74. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2547). ชาติพันธุ์สุวรรณภูมิ บรรพชนคนไทยในอุษาคเนย์. กรุงเทพฯ: มติชน
เสน่ห์ จามริก [และคนอื่นๆ] .(2536). ป่าชุมชนในประเทศไทย: แนวทางการพัฒนา / บรรณาธิการเสน่ห์ จามริก, ยศ สันตสมบัติ. : กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา: 163-168
เอนก นาคะบุตร. (2536). คนกับดิน น้ํา ป่า: จุดเปลี่ยนความคิด กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
Ernest Mandel ผู้เขียน กนกศักดิ์ แก้วเทพ ผู้แปล. (2559). เศรษฐศาสตร์การเมืองเบื้องต้น : text, 29-34
Joan Carling, Secretary General, AIPP. (2014). ชนเผ่าพื้นเมืองในอาเซียน งานประชุมระดับภูมิภาคเรื่องสื่อ
และประเด็นของชนเผ่าพื้นเมืองในอาเซียน. ออนไลน์ https://crcfthailand.org
Michel Foucault. (1984, 1979) “อํานาจกับความรู้” อ้างใน ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). แนะนําสกุล
ความคิดหลังโครงสร้างนิยม. สมมติ: กรุงเทพมหานคร 80-81

ASEAN Studies Centre

Recommended Posts