279 รวมเข้าชม, 1 เข้าชมวันนี้
]
ปรมาจารย์ตั๊กม้อ/ตาหม่า ปฐมปรมาจารย์นิกายเซน/เถี่ยน ในเวียดนาม
การไหลเวียนหรือเคลื่อนย้ายทางพุทธศาสนาจากสถานที่/ภูมิภาคหนึ่งไปสู่อีกสถานที่/ภูมิภาคหนึ่งมีหลายประการที่นำไปสู่การรังสรรค์งาน อารยธรรม จนเป็นอารยธรรมเฉพาะถิ่นพัฒนาต่อยอดจนมีเอกลักษณ์อัตลักษณ์เฉพาะตนต่อมากลายเป็นแหล่งจาริกบุญจาริกธรรมเพื่อไปนมัสการหรือรำลึกถึงที่เรียกว่าเจดีย์ ประกอบด้วย พุทธรูป พระคัมภีร์ พระธาตุ-สถูปเจดีย์ และอื่นๆ ทั้งนี้ พุทธรูปอาจรวมรูปเคารพพุทธศาสนาอื่นๆ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นไม่ได้และยากมากหากขาดพาหะนำพาไหลเวียนจากพระสงฆ์ธรรมทูต พระสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญและสร้างคุณูปการต่อโลกพุทธศาสนาและอารยธรรมโลก หนึ่งในพระภิกษุสงฆ์ที่สำคัญคือ ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ หรือ ต่าหม่า ในสำเนียงเวียดนาม โพธิธรรม ในบาลีสันสกฤต ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ)
ท่านต่าหม่า/ในภาษาสันสกฤต/บาลี ชื่อว่า โพธิธรรม เป็นชาวอินเดียใต้ เป็นเจ้าชายอาณาจักรที่พร้อมครองราษย์ต่อจากพระราชบิดาหากแต่ความโน้มเอียงของท่านกลับเน้นแสวงหาสัจธรรมของชีวิตและโลกเพื่อพ้นทุกข์ ท่านจึงออกผนวชและปฏิบัติเคร่งพร้อมศึกษาศิลปะการต่อสู้จนกระทั่งมีปณิธานแก่กล้าประสงค์เผยแพร่พุทธธรรมทางประทศตะวันออกคือประเทศจีน จนตัดสินใจเดินทางผ่านอุษาคเนย์ เดินทางต่อไปยังจีนแผ่นดินที่แบ่งเป็นอาณาจักรเหนือใต้ท่านผ่านอาณาจักรใต้สมัยพระเจ้าเหลียงอู่ตี้ก่อนข้าเขตแดนไปทางอาณาจักรทางเหนือ มุ่งปฏิบัติธรรมเคร่งนั่งเพ่งผนังถ้ำสร้างลูกศิษย์แนะนำศิลปะการป้องกันตัวของเส้าหลิ่น ขึ้นเขาเข้าถ้ำจนกระทั่งท่านมรณภาพ เป็นปฐมปรมาจารย์/สังฆราชนิกายเถี่ยน/เซนองค์แรกในโลกตะวันออก ก่อนมีลูกศิษย์จีนรุ่นต่อมารับการถ่ายทอดธรรมจนถึงรุ่นที่ 6 ก่อนขาดไป หากแต่ลูกศิษย์ก็ยังนำพุทธศาสนาแบบเซนไปยังดินแดนนอกจีน รุ่งเรืองในราชวงศ์ถั่ง มาถึงเวียดนาม 3 รุ่นตั้งแต่สมัยอาณาจักรถังรุ่งเรืองเวียดนามยังอยู่ภายใต้ ก่อนสิ้นถังเข้าสู่ยุค 5 ราชวงศ์ 10 อาณาจักร เวียดนามจึงได้โอกาสสลัดตนเองปลดแอกทางการเมืองแม้อิทธิพลด้านศาสนาสังคมวัฒนธรรมจากถังยังคงอยู่บ้าง หนึ่งในนั้นคือพุทธศาสนาเถี่ยน กล่าวกันว่า พ.ศ. 1079 มีการสร้างสถูปอุทิศถวายท่านขึ้นในเมืองเหอหนาน ภายหลังรัชสมัยจักรพรรดิถังไท่จง
ในประเทศเวียดนาม รูปปั้น ภาพวาด รูปเคารพของท่านปรมาจารย์ที่ทำจากวัสดุล่ำค่าต่างๆ แสดงถึงการให้ความเคารพเป็นอย่างที่สุด เวลาเดินทางไปที่ไหน นอกจากพุทธรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรแล้ว ยังมีโพธิ์สัตว์อื่นๆ เช่น พระเมตไตยยะ อนาคตพุทธเจ้า พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์แล้ว รูปเคารพของท่านตั๊กม้อก็ได้รับความนิยมเช่นกันแสดงถึงความนิยมของประชาชนที่แสดงความเคารพต่อปฏิปทาของท่าน ท่านจึงเป็นพระเถระที่มีตัวตนทางประวัติศาสตร์รูปสำคัญที่ชาวพุทธเวียดนามให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะท่านได้สร้างคุณูประการเป็นอย่างมากต่อสังคมจีนและภูมิภาคที่ได้รับอิทธิพลจีนอย่างเวียดนามหรือแม้แต่เกาหลี จีน ก็ตาม
ในจีน บุคคลสำคัญทางพุทธศาสนา นอกจากหลวงจีน ชาวจีนแท้ที่ได้รับการยอมรับ เช่น พระเสวียนจ้าง/พระถั๋งซำจังแล้ว หากแต่บุคคลที่ไม่ใช่คนจีนยากที่จะยอมรับของคนจีน แต่มีบุคคลหนึ่งที่ได้รับความนิยมในแง่ประวัติศาสตร์ คือ ท่านตั๊กม้อ เพราะท่านเป็นชาวอินเดียใต้ หากแต่ชาวจีนก็เปิดรับท่านอย่างสุดหัวใจแถบจะมีทุกที่ที่มีอารามศาสนสถาน มักจะเอ่ยถึงท่านและมีรูปเคารพท่านในฐานะเป็นบรรพบุรุษคนสำคัญด้านพุทธศาสนาที่ไม่ใช่คนจีน นี้ส่งต่อมายังพุทธศาสนาในเวียดนามที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนามหายานแบบจีน
ในประเทศเวียดนาม ท่านได้รับการนับถือมากอันดับต้นๆ เช่นกัน นอกจากพุทธเจ้าและโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว ตามที่มีโอกาสเดินทางไปเวียดนามหลายครั้ง วัดที่เน้นนิกายเถี่ยน/เซน มักสร้างตามป่าเขา อยู่ที่สูงปลีกหนีสังคมเพื่อความเงียบสงบที่เหมาะกับการปฏิบัติภายใน การทำกรรมฐาน และศาสนกิจที่นำไปสู่การยกระดับจิตใจและพ้นทุกข์
นอกนี้ บุคคลสำคัญของเวียดนามที่ส่งเสริมนิกายนี้จนกลายเป็นนิกายสัญชาติเวียดนามแท้ คือนิกายจุกแลม (Trúc Lâm)/นิกายเวฬุวัน/ป่าไผ่ นำโดยกษัตริย์ราชวงศ์เจิ่น เจิ่น ญัน ตง (Emperor Trần Nhân Tông) ทรงสละบัลลังก์ให้พระโอรสเจิ่น อันห์ ตง (Trần Anh Tông) แล้วผนวขถือเพศบรรพชิตและทรงสถาปนานิกายใหม่ที่เรยกว่า จรุกแลม/เวฬุวัน/ป่าไผ่ โดยหลอมรวมนิกายเซน/เถี่ยนที่เข้ามาสู่เวียดนามแต่ละยุคก่อนนี้ทั้งสามยุคสามนิกายที่มาจากจีนเป็นนิกายหนึ่งเดียวที่รัฐสถาปนาขึ้นมา (3 นิกายเซน/ฌาน)ประกอบด้วย (1. อนุนิกายเซนสายท่ายวินีตะรุจิ-Tỳ-ni-đa-lưu-chi, 2.อนุนิกายเซนท่านโว งอน ทง-Vô Ngôn Thông, 3. อนุนิกายเซนสายนิกานท่านเถาเดือง -Thảo Đường) สมัยนี้พุทธศาสนาเถี่ยนหรือฌานเจริญรุ่งเรืองอย่างมากสมัยราชวงศ์ลี้และเจิ่น พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ให้การอุปถัมภ์กลายมาเป็นศาสนาประจำรัฐจนมีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์เจิ่นสละราชสมบัติออกผนวช ประทับอยู่ที่ภูเขาเยินตือ จ.ฮาลง ตั้งนิกายขึ้นเป็นปฐมสังฆราช นิกายนี้ต่อมาไม่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจใหม่ราชวงศ์ใหม่เพราะสถาปนาโดยอำนาจเก่า พุทธศาสนาเวียดนามเริ่มผสมผสานกับความเชื่ออื่นทั้งท้องถิ่นและเข้ามาใหม่ โดยเฉพาะนิกายสุขาวดี นิกายมนตรยาน เป็นนิกายชาวบ้านมวลชนเรียกว่า ตินห์โด ถือปฏิบัติตามโรงเจเจดีย์ทั้งหลาย เป็นนิกายเลือดผสมสัญชาติเวียดนามนิกายที่สอง และ นิกายคั๊กสีเป็นนิกายสัญชาติเวียดนามล่าสุดตามลำดับ
วัดสำคัญที่สร้างรูปปั้น ภาพวาดรูป เคารพ พระปรมาจารย์ตั๊กม้อ คือ วัดจุกแลม Thien Vien Truc Lam ของท่านปรมาจารย์เซน ทิค ทันห์ ตือ (Thiền sư Thích Thanh Từ) ปรมาจารย์เซนเวียดนามชื่อดังในประเทศเวียดนามและต่างประเทศ และปรมาจารย์เซนที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติเป็นที่เคารพนับ นอกเวียดนามคือ ท่านทิค ญัต ฮันห์ ท่านปฏิบัติพุทธศาสนาเซนเวียดนามเน้นภาวนา ผสมผสานแนวคิดจารีตและสมัยใหม่ เป็นผู้คิดค้นแนวคิดพุทธศาสนาเพื่อสังคม และ เน้นแนวคิด interbeing ท่านสร้างกลุ่มคณะสงฆ์ขึ้นใหม่เรียกว่า หมู่บ้านพลัม
วิธีสังเกตรูปเคารพท่านตั๊กม้อ
– รูปภายนอกเป็นคนอินเดียใต้บึกบึนแข็งแรง
– หัวล้าน มีหนวดเครา คิ้วขมวด
– นั่งสมาธิกรรมฐานหันหน้าเข้าผนังถ้ำ
– รูปแบกไม้เท้าข้างหนึ่งห้อยรองเท้า/แบกถุงย่ามผ้า ถือไม้เท้าฆัครา
– ครองจีวรยาวเหมือนหลวงจีนพระมหายานทั่วไป
– มีแสงรัศมีรอบศีรษะผู้บรรลุธรรม มีบารมีหรือนักบุญตามคติพุทธศาสนาในอินเดีย
ปรามาจารย์ตั๊กหม้อมีคุณูปประการต่อสังคมเวียดนาม
-เป็นปฐมปรมาจารย์นิกายฌาน/เซน/เถี่ยนต่อมาได้รับความนิยมในราชสำนักเวียดนาม จนตั้งเป็นเอกเทศตั้งนิกายเถี่ยนสัญชาติเวียดนามขึ้นเองเรียกว่าจุกแลม
-เป็นแบบอย่างของการปฏิบัติเคร่งครัดเอาจริงเอาจังในการมุ่งมั่นทำอย่างหนึ่งอย่างใด ช่วยสร้างชาติ รวมชาติ ก้อบกู้เอกราชจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะเวียดนาม แม้เคยตกเป็นเมืองขึ้นของจีนครั้งอดีต ฝรั่งเศสสามัญอาณานิคมตะวันตก
– เน้นความเรียบง่าย สบายๆ วัฒนธรรมของชาวเวียดนามอย่างหนึ่งคือไม่ทำบุญเอาหน้า/หน้าใหญ่ หากเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพระภิกษุ/ภิกษุณีสงฆ์จะไปจ่ายอยู่เบื้องหลังไม่บอก บอกแพงเพียงจ่ายแล้วหากเราให้เขาไปเกินราคาเขาจะถอนให้คืนหากไม่พอเขาจะไม่บอกเพียงช่วยทำบุญเพิ่มด้วยการบอกบุญเพื่อนๆ จะไม่ทำให้เราทราบยอมหาเอง ทำให้ผู้ไปด้วยรู้สึกอึดอัดเพราะจะเอาอย่างไร
– เป็นที่เคารพนับถือในฐานะเป็นพระภิกษุทางประวัติศาสตร์และบรรพบุรุษของชาวเวียดนามที่ส่งต่อมาพร้อมนิกายเซน/เถี่ยน
– เป็นแบบอย่างทิฏฐิานุคติของการทำงานเป็นธรรมทูตระดับนานาชาติ อินเดีย-อุษาคเนย์-จีน และประเทศเอเชียตะวันออกไกล โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม
– เป็นแบบอย่างการสร้างศาสนทายาทรุ่นอดีตจนปัจจุบัน กษัตริย์เย็นตือ ท่านทิค ถิอ ตือ ท่านติช นัท ฮันห์ และอีกหลายท่านที่มีชื่อเสียง
– เป็นแบบอย่างวิปัสสนาธุระ เน้นการปฏิบัติธรรมเพื่อมุ่งตรงต่อการตรัสรู้บรรลุธรรมหากชาวเวียดนามปฏิบัติธรรมก็ทำอย่างเต็มที่โดยเฉพาะชาวภาคเหนือหากมีศรัทธาเป็นที่ตั้งจะปฏิบัติธรรมได้ดียิ่งกว่าชาวภาคใต้ที่เน้นความรู้ปริยัติชอบการถกเถียงมีอิสระเสรีภาพเพราะเคยเป็นประเทศระบอบสาธารณรัฐมาก่อน เป็นโลกเสรี ส่วนชาวภาคเหนืออยู่ภายใต้ระบบขุนศึกสองตระกูลใหญ่เลและจิญห์มาก่อนรวมทั้งระบอบคอมมิวนิสต์จากสหภาพโซเวียดสนับสนุนจึงทำให้เป็นเก็บตัว มุ่งมั่นเอาจริงเอาจังหากเกิดศรัทธาสนใจ ตามแนวพระโพธิธรรม/ตั๊กหม้อ ปรมาจารย์นิกายเซน/ฌาน/เถี่ยน
– ปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้นำวัดวาอารามมาเป็นเครื่องมือท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจบนความเชื่อศรัทธาโดยเฉพาะนำวัดอารามนิกายเซน/เถี่ยนที่ตั้งอยู่บนเขาทั่วประเทศพร้อมนิกายรูปเคารพอื่นๆ ทางพุทธศานาและความเชื่อต่างๆ มาต่อยอดให้ประชาชนไปสักการะทำบุญท่องเที่ยว และมีเคเบิลคาร์โดยให้เอกชนมีส่วนร่วม ประชาชนเป็นจำนวนมากได้เดินทางท่องเที่ยวตามเทศกาลต่างๆ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับการขับเคลื่อนผ่านพุทธศาสนาทั้งปรมาจารย์ตั๊กม้อที่ดึงดูดคนให้มาเยี่ยมชมกราบไหว้เรียนรู้ ขอพร
ASEAN Studies Centre