Skip to content

Category: ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง

ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ขอเชิญร่วมแสดงมุทิตาจิตรำลึกถึงคุณูปการผู้เกษียณอายุการทำงาน ประจำปี ๒๕๖๕

 215 รวมเข้าชม

 215 รวมเข้าชม ] กราบนมัสการและเรียนเชิญทุกท่านร่วมแสดงมุทิตาจิต รำลึกถึงคุณูปการผู้เกษียณอายุการทำงาน ประจำปี ๒๕๖๕ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ https://event.mcu.ac.th/?page_id=624 กองกลาง สำนักงานอธิการบดี

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

บุคลากรคณะสังคมฯ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ​วิทยาลัย​พุทธศาสตร์​นานาชาติ

 234 รวมเข้าชม

 234 รวมเข้าชม ]   ผู้บริหาร​ คณาจารย์​ เจ้า​หน้าที่​ และ​นิสิต​คณะ​สังคม​ศาสตร์​ ขอแสดงความยินดีกับ​ รศ.ดร.โกนิฏฐ​์​ ศรี​ทอง​ ผู้อำนวยการ​หลักสูตร​พุทธ​ศาส​ตร​ดุษฎี​บัณฑิต​ สาขาวิชา​การพัฒนา​สังคม​ คณะสังคม​ศาสตร์​ ที่ได้รับแต่งตั้ง​ให้​ดำรง​ตำแหน่ง​ รองผู้อำนวยการ​วิทยาลัย​พุทธศาสตร์​นานาชาติ     . คณะสังคมศาสตร์

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

‘อินโดฯ’ สั่งคุมต้นทุนขนส่ง หวังยับยั้งเงินเฟ้อ

 153 รวมเข้าชม

 153 รวมเข้าชม ] ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด (โจโควี) แห่งอินโดนีเซีย ได้มีคำสั่งให้สำนักงานจังหวัดใช้งบประมาณเพื่อควบคุมต้นทุนค่าขนส่งและรับมือกับผลกระทบของเงินเฟ้อจากราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา . ภายใต้ความกดดันในการควบคุมงบประมาณอุดหนุนราคาพลังงานที่ขยายตัวขึ้น โจโควีได้ปรับราคาเชื้อเพลิงที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐขึ้น 30% ส่งผลให้เกิดการประท้วงทั่วทั้งประเทศ . โดยโจโควีกล่าวว่า จากการคำนวณของกระทรวงฯ พบว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีก 1.8 จุด หากไม่มีแผนรับมือ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเข้ามาแทรกแซง และส่วนภูมิภาคจะต้องดำเนินการเหมือนกับช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อีกทั้งยังเสริมว่าผู้นำในระดับท้องถิ่นได้รับคำสั่งให้ใช้งบประมาณให้ครอบคลุมต้นทุนขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการแจกจ่ายอาหารพื้นฐานอย่างหอมแดงและไข่ด้วย . อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมของอินโดนีเซียอยู่ที่ 4.69% เข้าใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี และอยู่ในอัตราที่สูงกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางกำหนดเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีสาเหตุมาจากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น . นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมอินโดนีเซียได้ประกาศปรับขึ้นอัตราขั้นต่ำค่าบริการเรียกรถมอเตอร์ไซค์ผ่านแอปฯ 13.33% ต่อกิโลเมตร เพื่อชดเชยราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีผลไปเมื่อวันที่ 10 ก.ย. และยังมีการปรับขึ้นอัตราพื้นฐานขั้นต่ำสำหรับ 4 กิโลเมตรแรกของการเดินทางประมาณ 13-31% ขึ้นอยู่กับพื้นที่ให้บริการในแต่ละแห่ง ทั้งนี้เป็นการปรับขึ้นแค่บริการขนส่งไม่กระทบกับบริการเดลิเวอรี่ . อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีโจโควีร้องขอให้สาธารณชนสามัคคีกัน ไม่ว่าจะอยู่ในวิกฤตราคาพลังงานหรือราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้นจากสงคราม ซึ่งผลกระทบต่ออุปทานทั่วโลกจะยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการประท้วงที่ปะทุขึ้นทันทีหลังประกาศ รัฐมนตรีหลายท่านก็พยายามที่จะลดความตึงเครียดโดยเน้นย้ำว่าเงินดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในโครงการสวัสดิการรัฐเพื่อผ่อนคลายเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นแทน ที่มา AEC Connect ASEAN Studies Centre

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

‘ฟิลิปปินส์’ ชิงส่วนแบ่งไทย เตรียมส่งทุเรียนไป ‘จีน’

 212 รวมเข้าชม

 212 รวมเข้าชม ] นาย Huang Xilian เอกอัครราชทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ เผยว่า จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าผลไม้รายใหญ่ที่สุด ได้อนุมัติให้นำเข้าทุเรียนสดจากฟิลิปปินส์แล้ว หลังจากได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญที่คัดเลือกโดยสถานทูต ลงพื้นที่ไปยังภูมิภาคดาเวาเพื่อตรวจสอบการเข้าถึงแหล่งเพาะปลูก ทั้งนี้ ท่านทูตยังได้โพสต์ในเฟซบุ๊กของตัวเองด้วยว่า ฟิลิปปินส์ผ่านการประเมินความเสี่ยงทั้งในด้านการเก็บผลผลิต การบรรจุผลไม้ การเฝ้าระวังศัตรูพืช การควบคุมสารเคมี การป้องกันโรคโควิด 19 และระบบตรวจสอบย้อนกลับของทุเรียนในพื้นที่ . นอกจากนี้ นาย Huang ยังเพิ่มเติมว่า ในปี 2564 จีนนำเข้าทุเรียนปริมาณ 822,000 ตัน มูลค่า 4.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 82.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 การจัดส่งทั้งหมดเพิ่มขึ้นอีก 60% ทำให้ทุเรียนกลายเป็นผลไม้นำเข้าที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในตลาดจีน โดยทุเรียนจากเมืองดาเวามีคุณภาพสูงและรสชาติดีที่ผู้บริโภคชาวจีนจะต้องชื่นชอบ . “ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ทำกำไรได้มากที่สุด การที่ทุเรียนสดคุณภาพสูงจากฟิลิปปินส์ได้ถูกนำเข้ามายังจีน ซึ่งมีประชากรราว 1.4 พันล้านคน จะเป็นประโยชน์ต่อชาวสวนผลไม้ของฟิลิปปินส์หลายแสนคน และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่มินดาเนาอย่างมาก โดยจีนยังคาดหวังให้ฟิลิปปินส์ส่งออกผลไม้และสินค้าเกษตรต่างๆ มายังจีนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น” นาย Huang กล่าวสรุป . ขณะที่ กรมวิชาการเกษตรได้เรียกร้องให้บรรดาชาวสวนทุเรียนเพิ่มปริมาณการผลิต โดยอิงกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของตลาดส่งออก และจากข้อมูลพบว่า ตั้งแต่ปี 2557 ถึงปี 2564 ฟิลิปปินส์ติด 1 ใน 10 ผู้ส่งออกทุเรียนสดสูงสุดมาโดยตลอด . ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์มีการปลูกทุเรียนใน 47 จังหวัด แต่การปลูกในภูมิภาคดาเวาคิดเป็น 78% ของผลผลิตที่เก็บได้ทั้งหมด (ในปี 2563) และครึ่งหนึ่งของผลผลิตในภูมิภาคนี้มาจากเมืองดาเวา โดยมีพันธุ์ท้องถิ่น ได้แก่ ชะนี หมอนทอง อัลคอนแฟนซี อารันซิลโล และปูยัต . จากข้อมูลของสำนักงานสถิติของฟิลิปปินส์ ระบุว่า ในปี 2563 ผลผลิตทุเรียนในท้องถิ่นสูงแตะ 78,816 เมตริกตัน ลดลง 0.6% จาก 79,284

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ลาวเดินหน้ายุทธศาสตร์ 3 สร้าง ขจัดความยากจน

 398 รวมเข้าชม

 398 รวมเข้าชม ] รัฐบาล สปป.ลาว เดินหน้ายุทธศาสตร์ 3 สร้าง เพื่อบรรเทาความยากจน และทำให้ลาวสามารถหลุดพ้นจากรายชื่อประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดของสหประชาชาติในปี 2569 ยุทธศาสตร์ 3 สร้าง มีเป้าหมายสร้างจังหวัดให้เป็นหน่วยวางยุทธศาสตร์ อำเภอต้องเข้มแข็งในทุกด้าน และหมู่บ้านเพื่อเป็นหน่วยพัฒนา เจ้าหน้าที่อาวุโสจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกันที่เวียงจันทน์ เพื่อประเมินการเปิดตัวยุทธศาสตร์การสร้างทางการเมือง ในระดับรากหญ้า โครงการพัฒนาชนบทและการลดความยากจน และยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจระหว่างปี 2559-2564 และร่างแผนจนถึงปี 2568 โดยมีนายทองลุน สีสุลิด เลขาธิการพรรคและประธานประเทศ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ และผู้นำคนอื่น ๆ เข้าร่วมการประชุม รองประธานประเทศ ดร.บุญทอง จิตมะนี กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ 3 สร้าง มุ่งเน้นการพัฒนาระดับรากหญ้า โดยเฉพาะการลดความยากจนในชนบทตามที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์นี้ยังช่วยยกระดับการบริหารงานในระดับอำเภออีกด้วย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้เงิน 248 พันล้านกีบ ใน 943 โครงการ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรใน 109 หมู่บ้านใน 51 อำเภอภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 สร้าง ขณะที่กลไกกองทุนเพื่อการพัฒนาอำเภอ(District Development Fund) ได้ช่วยสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้การบริหารราชการและให้บริการดีขึ้น ด้วยทุนสนับสนุนการลงทุน โครงการต่าง ๆ ได้ดำเนินการใน 53 อำเภอจาก 148 อำเภอของประเทศ สิ่งที่ได้เรียนรู้และความสำเร็จที่ได้รับจากกระบวนการนี้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น กลไกนี้เปิดโอกาสให้พันธมิตรด้านการพัฒนาทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในระดับภูมิภาค ยุทธศาสตร์ 3 สร้าง ได้ผ่านการลงมติของสภาแห่งชาติในสมัยการประชุมที่ 9 แนวคิดของยุทธศาสตร์ 3 สร้าง คือ การกระจายความรับผิดชอบ มีการมอบหมายหน้าที่ที่ชัดเจน และมีประโยชน์ต่อหน่วยงานท้องถิ่นอย่างเหมาะสม ที่มา: ThaiPublica ASEAN Studies Centre

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

มาเลเซียคว้าที่ 1 ที่ตั้ง GBS ที่สามารถแข่งขันได้สูงสุดในอาเซียน

 248 รวมเข้าชม

 248 รวมเข้าชม ] มาเลเซียถูกจัดให้เป็นสถานที่ตั้งบริการธุรกิจระดับโลก (Global Business Services: GBS) ที่มีการแข่งขันสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดียและจีน ตามเลขดัชนีของ Kearney บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ดัชนีสถานที่ตั้งบริการระดับโลก (Global Services Location Index: GSLI) ประจำปี 2564 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจเอเชียยังคงครองอันดับ 7 ใน 10 อันดับแรกอย่างต่อเนื่อง โดยอินเดียอยู่ในอันดับ 1 ด้วยคะแนน 7.09 รองลงมาคือจีนที่ 6.80 และมาเลเซียที่ 6.22 เป็นอันดับ 3 ของโลกและอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดัชนีดังกล่าวออกทุก 2 ปีและเก็บข้อมูลจากทั้งหมด 60 ประเทศทั่วโลกในหัวข้อหลัก 4 หมวดหมู่ ได้แก่   – ความน่าดึงดูดทางการเงิน   – ความพร้อมและทักษะของประชาชน   – สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ   – การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล อย่างไรก็ดี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะประเทศที่อยู่ในกลุ่มอาเซียนจะพบว่าอันดับ 1 คือมาเลเซียที่ 6.22 คะแนน ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 6.21 คะแนน เวียดนาม 6.05 คะแนน ฟิลิปปินส์ 5.96 คะแนน ไทย 5.91 คะแนน และสิงคโปร์ 5.29 คะแนน ที่มา: AEC Connect ASEAN Studies Centre

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

เวียดนาม กระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าอุตสาหกรรมยานยนต์

 426 รวมเข้าชม

 426 รวมเข้าชม ] Nguyen Anh Tuan รองผู้อำนวยการหน่วยงานการลงทุนต่างประเทศของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่า เวียดนามจะหันมาให้ความสนใจกับผู้ประกอบการและบริษัทขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ขณะเดียวกัน จะจัดลำดับความสำคัญของโครงการการลงทุนต่าง ๆ ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีชั้นสูง อุตสาหกรรมที่สนับสนุน และนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ อีกทั้งยังจะสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการของเวียดนามได้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่านี้ด้วย ด้าน Nguyen Thi Thu Ha ผู้อำนวยการทั่วไปของ Invest Global ระบุว่า ด้วยประชากรเกือบ 100 ล้านคน และสภาวะต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย เวียดนามจึงมีศักยภาพสูงในอุตสาหกรรมยานยนต์ และเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเวียดนามให้ความสำคัญกับการพัฒนา ด้วยความคาดหวังที่จะเนรมิตอุตสาหกรรมยานยนต์ของเวียดนามให้แข็งแกร่งและมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม มีรายงานระบุว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคแล้ว จำนวนบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนของเวียดนามในอุตสาหกรรมยานยนต์ยังมีน้อยมาก และมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานสำหรับผู้ผลิตและประกอบรถยนต์ในเวียดนามได้ ขณะที่ Dang Hoang Mai ตัวแทนสถาบันกลยุทธ์และนโยบายเพื่ออุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม เผยว่า เวียดนามมีศักยภาพที่จะพัฒนาตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้ในอนาคต เนื่องจากอัตราส่วนการเป็นเจ้าของรถยนต์ของเวียดนามในปัจจุบันอยู่ที่ 23 คันต่อประชากร 1,000 คน ตัวเลขดังกล่าว หากเทียบกับไทยและมาเลเซียแล้ว เป็นเพียง 10% และ 5% เท่านั้น และด้วยระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น คาดว่ายอดขายของอุตสาหกรรมยานยนต์จะเติบโตในช่วงปี 2564-2573 ตรงกันข้ามกับแนวโน้มการซื้อรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตรถยนต์ กลับไม่เติบโตตามที่คาดไว้ โดยอัตราการซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลสูงสุด 9 ที่นั่งนั้นน้อยกว่า 20% ทั้งนี้ Thaco ทำได้ 15-18% ขณะที่ Toyota Vietnam ทำได้สูงสุดที่ 37% (สำหรับรุ่น Innova) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนี้ต่ำกว่าประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยานยนต์ของเวียดนามคาดว่าจะมีพันธมิตรทางธุรกิจและผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบในประเทศเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ ข้อมูลของสำนักข่าวเวียดนามระบุว่า ในอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก แต่เม็ดเงินลงทุนทั้งหมดของอินเดียในเวียดนามกลับมีมูลค่าเพียง 0.2% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั้งหมดที่ 139 ประเทศและเขตปกครองได้ลงทุนอยู่

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

อาเซียน-แคนาดา ถก FTA รอบแรก ตั้งเป้าสรุปผลเจรจาภายใน 2 ปี

 274 รวมเข้าชม

 274 รวมเข้าชม ] อาเซียนและแคนาดาเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา หรือ ACAFTA (อา-คาฟ-ต้า) รอบแรกอย่างเป็นทางการแล้ว พร้อมมอบคณะทำงานกลุ่มย่อย 17 กลุ่ม เร่งเดินหน้าเจรจาให้สำเร็จโดยเร็ว ล่าสุดคืบหน้าแล้ว 11 ประเด็น ส่วนอีก 6 ประเด็น อยู่ระหว่างหารือ เตรียมเจรจารอบต่อไปเดือน พ.ย. นี้ ตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาภายใน 2 ปี นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่อาเซียนและแคนาดาได้ประกาศเปิดเจรจา FTA ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยอาเซียนและแคนาดาได้จัดประชุมคณะกรรมการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา (ACAFTA) ครั้งที่ 1 ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม และ 1 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อหารือภาพรวมการเจรจา โครงสร้างการเจรจา และวางแผนการเจรจาในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะจัดประชุม 4 ครั้งต่อปี และตั้งเป้าสรุปผลการเจรจาภายใน 2 ปี นางอรมน กล่าวว่า อาเซียนและแคนาดาได้ตั้งคณะทำงานเจรจากลุ่มย่อย 17 กลุ่มขึ้นตามประเด็นหารือ ได้แก่ (1) การค้าสินค้า (2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (3) การลงทุน (4) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (5) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (6) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (7) บริการโทรคมนาคม (8) ความร่วมมือด้านเทคนิคและเศรษฐกิจ (9) ทรัพย์สินทางปัญญา (10) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (11) การแข่งขันทางการค้า (12) การค้าบริการ (13) บริการด้านการเงิน (14) กฎหมายและสถาบัน (15) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (16) การเยียวยาทางการค้า และ (17) วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ซึ่งการเจรจาของคณะทำงานกลุ่มย่อยมีความคืบหน้าด้วยดี

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ลาวมุ่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

 772 รวมเข้าชม

 772 รวมเข้าชม ] รัฐบาล สปป.ลาว ได้ให้คำมั่นว่าจะกระจายแหล่งพลังงานต่าง ๆ ในประเทศ โดยจะให้ความสำคัญกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ลม และระบบชีวมวล ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน แก้ไขปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในฤดูแล้ง รวมถึงลดปริมาณการนำเข้าพลังงาน ตามรายงานล่าสุดจากกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ระบุว่า ปัจจุบันนี้ 81% ของไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ใน สปป. ลาว มาจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ รองลงมาคือ 17% จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ขณะที่ แหล่งพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวล คิดเป็นเพียง 2% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้อยู่ในประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนเป็น 11% ตามที่ลงนามไว้ในแผน 5 ปี สำหรับปี 2564-2568 ในทางกลับกัน จะลดสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าถ่านหินเหลือเพียง 75% และ 14% ตามลำดับ ภายในปี 2568 ปัจจุบัน สปป.ลาว มีโรงงานผลิตพลังงาน 90 แห่งทั่วประเทศ โดยมีกำลังการผลิตรวมเกือบ 11,000 เมกะวัตต์ ซึ่งรวมถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 77 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8 แห่ง โครงการชีวมวล 4 แห่ง และโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 แห่ง แม้ว่าจะไม่มีการดำเนินการเปิดโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ แต่รัฐบาลก็กำลังผลักดันให้มีความคืบหน้าในการก่อสร้างบรรดาโครงการพลังงานขนาดใหญ่ตามที่กำหนดไว้ในแผน 5 ปี ในจำนวนนี้ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 3 โรงไฟฟ้าถ่านหินอีกหลายแห่งในเมืองละมามและกะลิมของแขวงเซกอง และในเมืองบัวละพาของแขวงคำม่วน ตลอดจนเขื่อนต่าง ๆ  ในแม่น้ำโขง ที่หลวงพระบางและนครหลวงเวียงจันทน์ สิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาลของ สปป.ลาว คือ มีปริมาณไฟฟ้าประมาณ 1,500 เมกะวัตต์ ที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำต่าง ๆ  มีศักยภาพที่จะผลิตได้ แต่กลับต้องเสียโอกาสไปในฤดูน้ำหลาก ขณะที่ สปป.ลาว ต้องนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศไทยในฤดูแล้ง โดยรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EDL) ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่นำเข้านี้แพงกว่าไฟฟ้าที่นำเข้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

สิงคโปร์ยกเลิกกฎหมายรักร่วมเพศ

 151 รวมเข้าชม

 151 รวมเข้าชม ] สิงคโปร์ซึ่งเป็นที่เลื่องลือเกี่ยวกับการเข้มงวดเรื่องรักร่วมเพศ มีความเคลื่อนไหวที่ทำให้ธงสีรุ้ง ที่เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ออกมาโบกสะบัดเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยกเลิกกฎหมายอาญาห้ามคู่เกย์มีเพศสัมพันธ์กัน นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง ของสิงคโปร์ ออกมาประกาศเมื่อช่วงค่ำวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจะยกเลิกกฎหมายอาญามาตร 337A ที่ห้ามชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยระบุว่า สิ่งที่เขาได้ประกาศไปเป็นสิ่งที่ควรทำ และเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ และยังกล่าวด้วยว่า สังคมปัจจุบันยอมรับเกย์มากขึ้น การยกเลิกมาตรา 377A จะช่วยให้คู่เกย์ชาวสิงคโปร์รู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น แต่ผู้นำสิงคโปร์ยังคงยึดมั่นในนิยามของการแต่งงานตามกฎหมายที่ระบุ ให้ทำได้เฉพาะระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย ซึ่งจำเป็นที่สิงคโปร์ต้องคงไว้ เพื่อการรักษาแบบแผนดั้งเดิมเกี่ยวกับการสร้างครอบครัวและบรรทัดฐานทางสังคม อย่างไรก็ตาม แม้นายลีจะยอมยกเลิกกฎหมายดังกล่าวซึ่งห้ามการมีเพศสัมพันธ์ของคู่เกย์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า สิงคโปร์จะสนับสนุนการออกกฎหมายรับรองการแต่งงานของเพศเดียวกัน ดังเช่นในบางประเทศ ทั้งนี้ มาตรา 377A ของสิงค์โปร์ อาจถือได้ว่าเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่ยุคที่สิงคโปร์เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งอังกฤษบังคับใช้กฎหมายอาญาดังกล่าวที่ระบุว่า การร่วมเพศ “อย่างผิดธรรมชาติ” ระหว่างชาย หญิง หรือ สัตว์ เป็นสิ่งต้องห้ามในอินเดีย ที่เป็นหนึ่งในอาณานิคมของอังกฤษ และกฎหมายอาญาที่บังคับใช้ในอินเดียนี้ ก็ถือเป็นต้นแบบของกฎหมายอาญาในประเทศอาณานิคมของอังกฤษ ที่ปรากฏการบังคับใช้ในประเทศอาณานิคมอังกฤษอย่าง เคนยา มาเลเซีย เมียนมา และสิงคโปร์ โดยสิงคโปร์ยังคงมาตรานี้ไว้ แม้จะประกาศอิสรภาพเมื่อปี 2508 อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2561 ศาลสูงสุดอินเดียได้มีคำสั่งครั้งประวัติศาสตร์ ให้ยกเลิกมาตรา 377 นับเป็นแรงกระเพื่อมที่ทำให้นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนมีความหวังว่า ประเทศอดีตอาณานิคมอังกฤษต่างๆ จะผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายฉบับนี้ตามอย่างอินเดีย ทั้งนี้ หลังการประกาศยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 377A ในสิงคโปร์ กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศได้ออกมาฉลองแสดงความยินดี โดยระบุว่า นับเป็นชัยชนะสำหรับมนุษยชาติ แต่ก็มีประชาชนบางส่วนที่แสดงความกังวล และการยกเลิกกฎหมายดังกล่าว ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อความเท่าเทียมเรื่องการแต่งงาน ที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220826084157227 ASEAN Studies Centre

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

Kingdom of Cambodia ราชอาณาจักรกัมพูชา

 2,456 รวมเข้าชม,  5 เข้าชมวันนี้

 2,456 รวมเข้าชม,  5 เข้าชมวันนี้ ] Kingdom of Cambodia or Cambodia                 ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือประเทศกัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับสามประเทศในภูมิภาคอาเซียน ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และประเเทศลาว (แขวงอัตตะปือ และ จําปาสัก) ทิศใต้     ติดกับอ่าวไทย ทิศตะวันออก ติดกับเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตก  ติดกับประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด)                  บริเวณที่เป็นที่ตั้งของกัมพูชาในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์สันนิฐานว่าเริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (230-500 ปีก่อนคริสตกาล) โดยอาศัยหลักฐานเก่าแก่ คือ เครื่องมือหินกรวดที่ค้นพบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการค้นพบกระโหลกศีรษะและกระดูกมนุษย์ที่แหล่งโบราณคดีสำโรงเซน (Samrong Sen) ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่ากัมพูชาในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีความคล้ายคลึงกับชาวกัมพูชาในปัจจุบัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มออสโตรเอเชียติก (Astroasiatic)  ประเทศกัมพูชามีหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นดินแดนต้นกำเนิดของอาณาจักรโบราณหลายอาณาจักร ที่มีความเชื่อมโยงและมีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็นสมัยที่สำคัญ คือ                1. สมัยฟูนัน (Funan) เป็นห้วงเวลาที่ได้รับวัฒนธรรมจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู ประเทศอินเดีย เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 นับถือพระศิวะ และพระวิษณุ (พระนารายณ์) มีการดัดแปลงตัวอักษรของอินเดียมาเป็นตัวอักษรเขมร ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่มณฑล  ไปรเวียงทางตอนใต้และลุ่มน้ำทะเลสาป รวมดินแดนที่เป็นของไทย สปป.ลาว และเวียดนาม ในปัจจุบันบางส่วน

อ่านต่อ »