Category: ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
จัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เรื่อง “ระบบงานสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC) และการออกรายงาน (Report)” ผ่านระบบออนไลน์
88 รวมเข้าชม
88 รวมเข้าชม ] รวมเข้าชม 3 , เข้าชมวันนี้ 3 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00-16.00 น. ส่วนหอสมุดกลาง สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เรื่อง “ระบบงานสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC) และการออกรายงาน (Report)” ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีวิทยากร ประกอบไปด้วย นางสาวยศวดี อารมณ์ดี บรรณารักษ์ และ นางสาวศิรินภา กองวัสกุลณี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ ส่วนหอสมุดกลาง ผู้เข้าอบรม ประกอบด้วย ผู้บริหาร บรรณารักษ์/เจ้าหน้าที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวม 52 รูป/คน ส่วนหอสมุดกลาง สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชิวทยาลัย
กิจกรรมพูดคุย/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) เรื่อง “การติดตามทวงถามหนังสือเกินกำหนด/ค้างส่ง”
180 รวมเข้าชม
180 รวมเข้าชม ] รวมเข้าชม 8 , เข้าชมวันนี้ 8 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30-11.15 น. ส่วนหอสมุดกลาง สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรมพูดคุย/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “การติดตามทวงถามหนังสือเกินกำหนด/ค้างส่ง” ผ่านระบบออนไลน์ โดยเนื้อหาเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุย แชร์ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวกับการดำเนินงานติดตามหนังสือเกินกำหนด/ค้างส่ง ของห้องสมุดแต่ละแห่ง เพื่อเป็นข้อมูล แนวทางในการปฏิบัติงาน พัฒนางาน และหาแนวทางแก้ปัญหาของห้องสมุดในสังกัดมหาวิทยาลัยต่อไป นำเสวนา/ดำเนินกิจกรรม โดย นางสาวสกุลเพ็ญ น้อยใหญ่ บรรณารักษ์ชำนาญการ ส่วนหอสมุดกลาง ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้บริหาร บรรณารักษ์/เจ้าหน้าที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 47 รูป/คน ส่วนหอสมุดกลาง สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชิวทยาลัย
คติการสร้างพระพิมพ์จากพุทธคยาสู่รัฐสุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์พระพิมพ์และคติที่เปลี่ยนไปของชาวไทยเชื้อสายมู
343 รวมเข้าชม, 6 เข้าชมวันนี้
343 รวมเข้าชม, 6 เข้าชมวันนี้ ] คติการสร้างพระพิมพ์จากพุทธคยาสู่รัฐสุวรรณภูมิ : ประวัติศาสตร์พระพิมพ์และคติที่เปลี่ยนไปของชาวมูเตลู การรำลึกถึงพุทธเจ้าเพื่อเป็นพุทธานุสสติเป็นสิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกยึดปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมชาวพุทธ หลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เกิดการสังเวชนียสถานขึ้น อันได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน ภายหลังชาวพุทธนิยมสร้างพุทธรูปขึ้นตามความเปลี่ยนแปลงและการรับอารยธรรมใหม่ผ่านกรีก ซึ่งก่อนนั้น สัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าคือดอกบัวแทนประสูติ บัลลังก์ ต้นโพธิ์แทนการตรัสรู้ ธรรมจักรแทนปฐมเทศนา และสถูปเจดีย์แทนพุทธปรินิพพาน แต่คตินี้ก็ยังได้รับการถือปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีการจารึกพระไตรปิฏกเป็นตัวอักษรไว้กับพระสถูป เจดีย์หรือตามพุทธสถานต่าง ๆ ด้วย และเมื่อสังคมพัฒนาการขึ้น คติหรือแนวทางการสร้างสัญญะแทนพระพุทธเจ้าก็เปลี่ยนไปตามกระแสหรือความนิยมในบริบทสังคมนั้น ๆ เสมอ จนกระทั่งเกิดมีการสร้างพระพิมพ์ขึ้น ในรัฐสุวรรณภูมิ พระพิมพ์ดิน (Terracotta Votive Tablet/Votive Plaque) เหล่านี้เริ่มเข้ามาในแผ่นดินเอเชียอาคเนย์ในยุคสมัยทวาราวดี โดยพิมพ์พุทธประวัติ ในยุคนั้นยังเป็นเรื่องราวในฝ่ายเถรวาทอยู่ เช่น พระพิมพ์ยมกปาฎิหาริย์ พระพิมพ์ธรรมเทศนา พระพิมพ์เสด็จจากดาวดึงส์ แม้กระทั้งพระพิมพ์พระสาวก ( พบที่เขาทำเทียม อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ) ต่อมา เมื่ออิทธิพลของดินแดนทวาราวดีเสื่อมลงต่ออำนาจของอาณาจักรอีสานปุระที่เข้มแข็งขึ้น ทำให้พุทธศาสนาไปเจริญรุ่งเรืองทางตอนใต้ของดินแดนแหลมทอง ซึ่งได้รับอิทธิพลพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่ได้รับการเผยแพร่จากกลุ่มภิกษุที่มาจากดินแดนทางตะวันออกของอาณาจักรคุปตะ ( ปัจจุบันคือภาคเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ) พระภิกษุผู้นับถือนิกายมหายาน ได้นำพิมพ์พระรูปแบบใหม่เข้ามาด้วย คือพิมพ์พระพุทธเจ้าในคติมหายาน ที่ประกอบไปด้วย พระพุทธ เจ้า ล้อมด้วยพระโพธิสัตว์พระองค์ต่างๆ ซึ่งพิมพ์พระเนื้อดินของทางตอนใต้ของประเทศไทย ในยุคพุทธศตวรรษที่ 12 – 13 ได้มีการค้นพบที่ถ้ำพระพุทธ จ.ยะลา พบที่ถ้ำเขานุ้ย – ถ้ำเขาสาย จ.ตรัง พบที่ ต.พรุพี อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี พบที่ อ.สทิงพระ จ.สงขลา พบที่ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พระพิมพ์ประเภทต่างๆ ที่พบในรัฐสุวรรณภูมิ พระพิมพ์รูปแบบพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว พระพิมพ์รูปแบบพระพุทธนี้เป็นพระพุทธเจ้าทรงประทับในซุ้ม มีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สถูป หรือ ธรรมจักรประกอบ ยกตัวอย่างเช่น พระกรุพิมพ์ใบพุทรา วัดนาสนธิ์ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
“คนสร้างศิลป์” กับการสร้างชุมชน และสร้างเมืองที่ยั่งยืนด้วยพุทธศิลป์
184 รวมเข้าชม
184 รวมเข้าชม ] “สร้างชุมชน และสร้างเมืองที่ยั่งยืนด้วยพุทธศิลป์” ประเทศไทยภายใต้การพัฒนาประเทศที่มุ่งขับเคลื่อนด้วยนโยบาย Soft Power โดยมีบานต้นทุนคือวัฒนธรรมและประเพณี จึงทำให้ศิลปะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาระเทศอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ ศิลปะบ่งบอกเอกลักษณ์และตัวตนของแต่ละชาติ การส่งเสริมและรักษาก็เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเราพูดถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความตระหนักและความรับผิดชอบต่อการพัฒนาที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์ ทุกวันนี้ราพูดถึงแนวคิดการพัฒนาเมืองมากมาย เช่น แนวคิดเมืองสุขภาพ (Health City) เมืองคาร์บอนต่ํา (Low Carbon City) ชุมชนเมืองยุคใหม่ (New Urbanism) ทั้งนี้ก็เพื่อปัญหาของชุมชนนั้นๆ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แนวคิดการพัฒนาเหล่านี้ได้ถูกปรับใช้โดยมีการพัฒนารูปแบบที่น่าสนใจ มีการบูรณาการกายภาพสิ่งแวดล้อม การขนส่ง สถาปัตยกรรม กฎหมายหรือข้อบังคับอื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความสมดุล เท่าเทียมที่ยั่งยืน วันนี้ กองบรรณาธิการได้รับโอกาสพิเศษ พูดคุยกับท่านอาจารย์ปฏิเวธ เสาคง อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ร่วมแบ่งปันเรื่องราวแนวคิดการสร้างเมืองด้วยศิลปะและการส่เสริมพุทธศิลป์ในช่วงเวลาการขับเคลื่อนเศษฐกิจ Soft Power อยากให้อาจารย์แบ่งปันแง่มุมจากประสบการณ์ของอาจารย์ที่อยากให้คนทั่วไปเข้าใจ “คนสร้างศิลป์” สักนิดนึงครับ “ศิลป์” มีอยุ่ทุกที่ในทุกสายงานวิชาชีพ เช่น ศิลป์ในการจัดสวน ศิลป์ในการพูด เป็นต้น ดังนั้น เราควรใช้ศิลป์ให้มีความสุขในทุกสายวิชาชีพ โดยการวิเคราะห์หลักของศิลป์ สายวิชาชีพนั้นๆ คือการสร้างสรรค์มีกระบวนการในการใช้ศิลป์ให้ได้ประโยชน์สูงสุดในทุกสายวิชาชีพ ศิลปะกับชุมชนสัมพันธ์กันอย่างไร ศิลปะนอกจากจะอยู่ในทุกสายวิชาชีพแล้วนั้นยังสามารถใช้ในชีวิตประจำวันร่วมกับชุมชนอาทิเช่นการวาดภาพปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในวัด โดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยการสร้างสรรค์ปรับปรุงร่วมกับผู้มีความรู้ทางด้านศิลป์ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ขยับประเด็นอีกนิดหนึ่ง เราพูดถึงการสร้างสังคมที่ยั่งยืน อาจารย์มองว่าศิลปะโดยเฉพาะพุทธศิลป์มีบทบาทด้านนี้มากน้อยเพียงไรครับ พุทธคือศาสนา ศิลป์คือ ศิลปะ ดังนั้น พุทธศิลป์มีความสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมและชุมชนให้ยั่งยืน พัฒนาจิตใจ ความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างด้วยศักยภาพในชุมชน เพื่อคงไว้ซึ่งพุทธศิลป์ ในศาสนสถานสืบไป พุทธศิลป์ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะสร้างเมืองในฝันให้กับทุกคนได้จริงไหม เมื่อเรามองในแง่เศรษฐกิจอยากชวนเมืองในแง่ศิลปะที่ช่วยพัฒนา “คน” ด้วยครับ สามารถทำได้ครับ พุทธศิลป์สามารถสร้างเมืองในฝันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้โดยให้ผู้มีความรู้ด้านพุทธศิลป์ ถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนเพื่อพัฒนาในการสร้างสรรค์ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อประโยชน์แก่ชุมชน และเสริมสร้างศักยภาพแก่บุคคลในชุมชนอีกด้วย คุยกันทิ้งท้าย หากจะถอดบทเรียนการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา อาจารย์อยากแบ่งปันเรื่องอะไรมากที่สุด และเราจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนครับ พุทธศิลป์ทางล้านนานั้นมีวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์มายาวนานหลายร้อยปี ดังนั้นผู้ที่มีความรู้ทางด้านพุทธศิลป์ ควรร่วมด้วยช่วยกันเสริมสร้างแบ่งปันความรู้ทางพุทธศิลป์ให้แก่ชุมชน เพื่อเสริมสร้างและคงไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรร มพุทธศิลป์ล้านนาสืบไป ASEAN Studies Centre
ศูนย์อาเซียนศึกษา เปิดเว็บไซต์รองรับการใช้งานผู้พิการเพื่อเข้าถึงข้อมูลภาครัฐของคนทุกช่วงวัย
117 รวมเข้าชม
117 รวมเข้าชม ] ศูนย์อาเซียนศึกษา เปิดเว็บไซต์ www.asc.mcu.ac.th รองรับการใช้งานผู้พิการ เข้าถึงข้อมูลภาครัฐของคนทุกช่วงวัย ด้วยศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นศูนย์ประสานงานและบริการวิชาการของประชาคมอาเซียน ภายใต้การขับเคลื่อนพันธกิจการเป็น คลังข้อมูลด้านพระพุทธศาสนาและอาเซียนศึกษา (ASEAN THINK TANK) การพัฒนาระบบให้สามารถรองรับการใช้งานของคนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อการเข้าถึงข้อมูลภาครัฐและ ข่าวสาร และสารสนเทศของประชาคมอาเซียนอย่างเท่าเทียม โดยพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ. ดร. , ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา ได้มอบนโยบายแก่บุคลากรในการพัฒนากิจกรรมและการดำเนินการว่า ศูนย์อาเซียนศึกษาจะต้องบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาที่เชื่อมโยงกับผู้คนเป็นหัวใจหลักและมุ่งขับเคลื่อนงานร่วมกับสังคม สร้างการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อตอบวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนและพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในปัจุบันพบว่ากลุ่มผู้พิการยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีอยู่ยังไม่รองรับการใช้งานของผู้พิการ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประมาณการจำนวนผู้พิการในประเทศไทยว่าอาจจะมีมากถึง 1.8 ล้านคน และจากการสำรวจพบว่า 90% ของเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เอื้ออำนวยแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ จึงเป็นสาเหตุที่ศูนย์อาเซียนศึกษาดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับกลุ่มผู้คนเพื่อจะยืนยันว่าประชาชนจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง อันเป็นการเติบโตและการอยู่ร่วมกันของสังคมและการสร้างประชาคมอาเซียนให้ยั่งยืน ดังนั้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ ศูนย์อาเซียนศึกษา ภายใต้แนวคิด “PEOPLE” จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ www.asc.mcu.ac.th ให้สามารถรองรับการใช้งานของผู้พิการทุกประเภทตลอดจนผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและปฏิบัติงานให้สอดรับกับแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่องการกำหนดสิทธิของคนพิการในอาเซียนโดยได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญที่ระบุไว้ใน ASEAN-Enabling Masterplan 2025 ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลโยลีสารสนเทศ ได้ออกกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 ตามมาตรา 20 (6) แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2500 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2554 ที่ผ่านมา. อ่านเพิ่มเติม :- วุฒิชัย อัตถาพงศ์, พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, เวทย์ บรรณกรกุล. (2019). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริม คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมเชิงพุทธ. วารสาร ม จร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 5(2), 81-90. วริศดา พุกแก้ว, พระพรห บัณฑิต (ธมฺมจิตฺ
ประกาศรายชื่อนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับทุนการศึกษา “พระราชธรรมานุสิฐ”
164 รวมเข้าชม
164 รวมเข้าชม ] ผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับทุนการศึกษา “พระราชธรรมานุสิฐ” ระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และปริญญาตรี วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 น. ณ อาคาร มวก 48 พรรษา มจร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนงาน กองวิเทศสัมพันธ์ และวิทยาลัยพระธรรมทูต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกาศรายชื่อนิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับทุน Download กองวิเทศสัมพันธ์
พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที ร่วมประชุมตามคำเชิญของ Ven. Shawasn สมเด็จพระสังฆราชนิกายวอน ภายใต้ความร่วมมือระดับภูมิภาค ASEAN+3
83 รวมเข้าชม
83 รวมเข้าชม ] Just in : วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร., ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มอบหมายให้ พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที ร่วมประชุมตามคำเชิญของ Ven. Shawasn สมเด็จพระสังฆราชนิกายวอน ภายใต้ความร่วมมือระดับภูมิภาค ASEAN+3 เพื่อหารือการจัดกิจกรรมและโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาไทย-เกาหลี ในการนี้ มีผู้แทนจากสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , สมาคมเกาหลีแห่งประเทศไทย และประธานนิสิตอาระกันจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าร่วมประชุมด้วย ณ สำนักงานใหญ่นิกายวอน แห่งประเทศไทย Connect us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ___ Website: http://asc.mcu.ac.th Facebook : Mcu Asean Twitter : ascmcu IG: ascmcu ASEAN Studies Centre
“การประชุมคณะกรรมการการเงินและทรัพย์สิน ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖”
116 รวมเข้าชม
116 รวมเข้าชม ] วันอังคาร ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ “การประชุมคณะกรรมการการเงินและทรัพย์สิน ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖” พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการเงินและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ ณ ห้องประชุม ๔๐๑ อาคารสำนักงานอธิการบดี และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) โดยมีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ซึ่งมีมติที่ประชุมที่สำคัญ ดังนี้ ๑. รับทราบ เรื่อง รายงานรายรับ – รายจ่ายค่าภัตตาหารนิสิต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ๒. รับทราบ เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะกรรมการการเงินและทรัพย์สิน ๓. เห็นชอบพร้อมคำแนะนำ เรื่อง รายงานรายรับ -ราย จ่าย ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๓๑ มกราคม ๒๕๖๖ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ๔. มีมติเห็นชอบพร้อมคำแนะนำ เรื่อง รายงานค่าสาธารณูปโภค มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๕. มีมติเห็นชอบ เพื่อนำเสนอสภามหาวิทยาลัยต่อไป เรื่อง ขอความเห็นชอบปรับเพิ่มเติมกรอบการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กองคลังและทรัพย์สิน
กำหนดระยะเวลาขอพระราชทานสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ฯ ประจำปี
297 รวมเข้าชม
297 รวมเข้าชม ] ด้วยมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ มีมติเห็นชอบการกำหนดระยะเวลาขอพระราชทานสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง พระราชาคณะ และพระครูสัญญาบัตร ประจำปี ตามที่ได้ปฏิบัติมานั้น เพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการจัดทำบัญชีทูลเกล้าฯ จึงกำหนดระยะเวลาการดำเนินการ ดังนี้ ๑. การกำหนดระยะเวลาขอพระราชทานสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง และพระราชาคณะ ๑.๑ ให้เจ้าคณะอำเภอ ส่งเจ้าคณะจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม แล้วให้เจ้าคณะจังหวัดพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ของทุกปี ๑.๒ ให้เจ้าคณะจังหวัด ส่งเจ้าคณะภาค ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม แล้วให้เจ้าคณะภาคพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๑๕ มีนาคม ของทุกปี ๑.๓ ให้เจ้าคณะภาค ส่งเจ้าคณะใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มีนาคม แล้วให้เจ้าคณะใหญ่พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ของทุกปี ๑.๔ ให้เจ้าคณะใหญ่พิจารณาให้แล้วเสร็จนำเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาสมณศักดิ์ภายในวันที่ ๒๐ เมษายน ของทุกปี ๑.๕ นำเสนอมหาเถรสมาคม ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ของทุกปี ๒. การกำหนดระยะเวลาขอพระราชทานตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตร ๒.๑ ให้เจ้าคณะอำเภอ ส่งเจ้าคณะจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน แล้วให้เจ้าคณะจังหวัดพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ของทุกปี ๒.๒ ให้เจ้าคณะจังหวัด ส่งเจ้าคณะภาค ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม แล้วให้เจ้าคณะภาคพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ของทุกปี ๒.๓ ให้เจ้าคณะภาค ส่งเจ้าคณะใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม แล้วให้เจ้าคณะใหญ่พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม