Skip to content

Category: ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค

ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ดจัดโครงการปฐมนิเทศอาจารย์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ ในวันศุกร์ที่ ๒๘ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุม ๑๐๑ อาคารเรียนพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตโต ) อนุสรณ์ ๖๐ ปี วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 272 รวมเข้าชม

 272 รวมเข้าชม วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน”

 749 รวมเข้าชม

 749 รวมเข้าชม วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เวลา 09.00 น. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับ วิทยาลัยสงฆ์มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ,สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม, ศูนย์ป่าไม้จังหวัดมหาสารคาม, องค์การบริหารส่วนตำบลคันธารราษฎร์ และหน่วยงานราชการภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมจัดโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” นำโดย พระครูสารกิจประยุต, ดร. รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนิสิต ได้เมตตาเป็นประธานในพิธี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและกล่าวเปิดโครงการ, นางสาวเพ็ญประภา แพงไทย ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม ได้กล่าวรายงาน แจ้งวัตถุประสงค์และรายละเอียดของโครงการ สถานที่ปลูก วิทยาลัยสงฆ์มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีประเภทพันธ์ไม้ต่างๆ ได้แก่ ยางนา, ตะเคียน, พฤกษ์ และมะฮอกกานี รวมจำนวน 150 ต้น พร้อมทั้งได้บำรุงรักษาต้นรวงผึ้งบริเวณทางเข้าด้านหน้าวิทยาลัยสงฆ์มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 68 ต้น โดยได้ทำการรดน้ำและใส่ปุ่ย ดูรูปภาพเพิ่มเติม>> The post โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก “รวมใจไทย ปลูกต้นไม้ เพื่อแผ่นดิน” appeared first on วิทยาลัยสงฆ์มหาสารคาม. วิทยาลัยสงฆ์มหาสารคาม

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางความรู้ชุมชนของวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย

 890 รวมเข้าชม

 890 รวมเข้าชม ชื่อผู้วิจัย:                  พระครูใบฎีกาทวีศักดิ์  นรินฺโท                                  พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร, ผศ.                                 นายภาวิทย์ โพธิ์ตาทอง             ส่วนงาน:                  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย ปีงบประมาณ:             ๒๕๖๒ ทุนอุดหนุนการวิจัย:      มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางความรู้ชุมชนของวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อ๑) ศึกษารวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้านของชุมชนวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย  ๒) ศึกษาแนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย และ ๓) วิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนของวัดโพธิ์งาม บ้านติ้วน้อย ตำบลนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้ของชุมชนและการถ่ายทอดหรือเผยแพร่ความรู้ของชุมชนวัดโพธิ์งาม  บ้านติ้วน้อย จึงควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ การจัดการความรู้ และปฏิบัติจริงในระดับชุมชนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคน พัฒนาระบบงานของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจัดเป็นหน่วยทางสังคมที่มีความสำคัญต่อความเข้มแข็งต่อฐานรากของสังคมเป็นอย่างแท้จริง และการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของวัดโพธิ์งาม แนวปฏิบัติในการดำเนินการจัดแหล่งการเรียนรู้ในวัดที่สอดคล้องต่อปัญหาและความต้องการของคนในชุมชน  ๗ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านจุดมุ่งหมายและนโยบาย ๒) ด้านการบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ในวัด ๓) ด้านบุคลากร ๔) ด้านกิจกรรมที่วัดจัดเพื่อเสริมลร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ๕) ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ๖) ด้านการสร้างภาคีกับแหล่งการเรียนรู้ ๗) ด้านการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ คำสำคัญ : ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน, ปราชญ์ชาวบ้าน, นวัตกรรมภูมิปัญญา, การพัฒนาวัด Research  Title:                            The Development of The Temple as a                                                               Community

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประชุมขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปี ๒๕๖๓ (ระดับวิทยาลัย)

 547 รวมเข้าชม

 547 รวมเข้าชม วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

ประกาศวิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ (รอบ ๓) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔

 182 รวมเข้าชม

 182 รวมเข้าชม วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ได้ประกาศรับสมัครพระภิกษุ สามเณรและบุคคลทั่วไปเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี (รอบ ๓) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ บัดนี้ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ (รอบ ๓) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ ดังต่อไปนี้ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ-รอบที่-3มจร วิทยาเขตนครสวรรค์

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ปีการศึกษา ๒๕๖๔

 758 รวมเข้าชม

 758 รวมเข้าชม สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ The post ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ appeared first on วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี. วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ปีการศึกษา ๒๕๖๔

 570 รวมเข้าชม

 570 รวมเข้าชม สาขาวิชาพระพุทธศาสนา The post ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ appeared first on วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี. วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

ศูนย์การเรียนรู้ศิลปะแบบบายนจังหวัดบุรีรัมย์

 696 รวมเข้าชม

 696 รวมเข้าชม ผู้วิจัย:                      ดร.รุ่งสุริยา  หอมวัน,  พระมหาถนอม  อานนฺโท (ชิดรัมย์), ดร.  และ ดร.ธนันต์ชัย  พัฒนะสิงห์ ส่วนงาน:                   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ปีงบประมาณ:             ๒๕๖๒ ทุนอุดหนุนการวิจัย:       มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บทคัดย่อ              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมแบบบายน  ๒) เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมแบบบายนในจังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  ประชากรคือปราสาทขอมศิลปะแบบบายนในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน ๖ แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผลการวิจัย พบว่า              ๑. จารึกปราสาทบายน ในจารึกปราสาทบายนพบที่ปราสาทบายนมี ๔ หลัก ในจำนวนนั้นมีอยู่ ๒ หลักที่มีเนื้อความกล่าวถึงการประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถในเมืองซึ่งน่าจะหมายถึงชื่อเมืองในภาคกลางของไทย เมืองดังกล่าวยังมีชื่อปรากฏอยู่ในจารึกปราสาทพระขรรค์ด้วยคือ จารึกหลักที่ ๒๙๓ ที่โคปุระด้านตะวันออก ทิศเหนือกล่าวถึงการประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถในเมืองศรีชัยราชบุรี ซึ่งน่าจะหมายถึงเมืองราชบุรีและยังกล่าวถึงการมีพระโภษัชคุรุโวฑูรยประภา ณ เมืองนี้ ซึ่งพระโภษัชยคุรุไวฑูรยประภานี้ เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรค ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงนิยมสร้างไว้คู่กับอโรคยาศาลเพื่อให้ทรงบำบัดรักษาผู้ป่วย และจารึกหลักที่ ๒๙๓  ที่โคปุระด้านตะวันออก ทิศเหนือเนื้อความกล่าวถึงการประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถในเมืองศรีชัยวัชรปุระ ซึ่งน่าจะหมายถึงเมืองเพชรบุรีและยังกล่าวถึงการมีพระโภษัชยคุรุไวฑูรประภา ณ เมืองนี้ เช่นเดียวกัน              ส่วนศิลปะแบบบายนที่พบในจังหวัดบุรีรัมย์ มี ๖ แห่ง ประกอบด้วย                  ๑) วิหาร ๒ หลัง ที่ปราสาทพนมรุ้ง คือวิหารใต้ และวิหารเหนือ                  ๒) ปราสาทหนองปล่อง อยู่ที่ ต.หนองปล่อง อ.ชำนิ                  ๓) ปราสาทบ้านโคกปราสาท (โคกงิ้ว) อยู่ที่บ้านโคกงิ้ว ต.ปะคำ อ.ปะคำ                 

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

งานวิจัยการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน

 397 รวมเข้าชม

 397 รวมเข้าชม ผู้วิจัย:   ดร.ชยาภรณ์  สุขประเสริฐ พระครูศรีปัญญาวิกรม,ผศ.ดร. พระมหาพจน์ สุวโจ,ผศ.ดร. นายไว ชึรัมย์ ดร.สุวรรณี ฮ้อแสงชัย ส่วนงาน:   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ปีงบประมาณ:   ๒๕๖๒ ทุนอุดหนุนการวิจัย:   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย               บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่องการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ ๑) ศึกษาโบราณสถานชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์  ๒) ศึกษาจิตสำนึกสาธารณะชุมชนเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน ๓) เพื่อพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน ของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่การวิจัยเชิงคุณภาพ และการลงพื้นที่ปฏิบัติการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน ด้วยการสัมภาษณ์ เก็บแบบสอบถาม และการสร้างชุดความรู้ ประชาชกรกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ดูแลเกี่ยวข้อง  ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชน และพระภิกษุสงฆ์ จำนวนประมาณ ๔๙ รูป/คน ในอำเภอคูเมือง และอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  ผลการวิจัยพบว่า  ๑)  จากการศึกษาเอกสารและลงพื้นที่สำรวจโบราณสถานชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์ พบเสมาที่มีอายุเก่าแก่ที่ทรงคุณค่ายิ่งทางโบราณคดี การสร้างนั้นย้อนไปได้ถึงสมัยทวารวดี ลองลงมาเป็นการสร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจคือ ศิลปะขอมแบบไพรกเม็ง นับถือศาสนาพราหมณ์และใบเสมายุคสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีคติความเชื่อแนวความคิด และเหตุผลในการสราง  คือใชเปนนิมิต หรือเครื่องหมาย เพื่อกําหนดขอบเขตของพระอุโบสถ  มีการสำรวจ ๗ พื้นที่ ซึ่งเป็นชุมชนโบราณของจังหวัดบุรีรัมย์ พบโบราณสถานจำนวน ๑๒ แห่ง แต่เลือกศึกษาโบราณสถานที่อำเภอคูเมืองและอำเภอเมือง  พบเสมาโบราณบ้านปะเคียบ  วัดทรงศิรินาวาส  อำเภอคูเมือง เป็นเสมาโบราณสมัยทวารวดีพบจำนวนมากกว่า ๕๐ ชิ้น บางชิ้นมีลวดลายที่ชัดเจนสมบูรณ์ และเริ่มที่จะเลื่อมสภาพลงและบางชิ้นถูกทำลายด้วยน้ำมือของมนุษย์เพราะ ความรู้เท่าไม่ถึง การณ์นั้น คือสาเหตุที่ต้องเร่งดำเนินการอนุรักษ์และสร้างจิต สำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน     ๒)จิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน  พบว่า คนในชุมชนมีการตระหนักรู้ในความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโบราณสถาน เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนของตนเอง ซึ่งโบราณสถานยังบอกความรุ่งเรืองในอดีตของชุมชน  ทุกคนควรช่วยกันดูแลเฝ้าระวังและรักษา และช่วยกันปลูกต้นไม้เพราะต้นไม้ช่วยให้สภาพอากาศดีขึ้น

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของ ผู้สูงอายุ เขตภาคเหนือตอนบน

 346 รวมเข้าชม

 346 รวมเข้าชม ผู้วิจัย                     :  รองศาสตราจารย์พูนทรัพย์ เกตุวีระพงศ์ นางสายฝน อินศรีชื่น,นายธีรวัฒน์ จันทร์จำรัส พระมหาสิมรัตน์ สิริธัมโม ดร.                              มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ปีงบประมาณ          :   2562 ทุนอุดหนุนการวิจัย   :   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บทคัดย่อ                    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษาวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research)  โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1.เพื่อรวบรวมวิเคราะห์การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน2.เพื่อพัฒนาการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ3.เพื่อประเมินผลการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน พื้นที่ในการเก็บข้อมูล 4 จังหวัด คือ แพร่ ลำปาง พะเยาและเชียงรายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม (questionnaire)  แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview )การสนทนากลุ่ม(Focus Groups Discussion)  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 212 คน           ผลการวิจัย พบว่า           1. ผลของการศึกษารวบรวมวิเคราะห์การจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ในอดีตการจัดการความรู้ผู้คนในท้องถิ่นล้านนาตอนบนได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้มาอย่างยาวนานในเชิงประจักษ์และเรียนรู้วิธีการปรุงอาหารจากบรรพบุรุษส่งต่อรุ่นสู่รุ่น จากงานประเพณีวิถีชุมชน และการบอกต่อกันมา ในปัจจุบันการจัดการความรู้ คือ การอบรม แผ่นป้ายโปสเตอร์ คลิปวิดีโอเอกสารคู่มืออาหารพื้นบ้าน  จากคำบอกเล่า การทดลองเชิงปฏิบัติการเมนูยอดนิยม การได้รับองค์ความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ ผ่านสื่อ ในท้องถิ่น  ผ่านสื่อออนไลน์ทางสังคมยุคใหม่    2. ผลการศึกษาการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุ ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า จากการเพิ่มความรู้ ผู้สูงอายุ มีประสบการณ์ และมีพื้นฐานกิจกรรมอาหารพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทำให้รู้จักเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านมีกี่ชนิดชนิด เป็นเมนูประจำพื้นบ้านมีประโยชน์และหาได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ทำให้รู้เรื่องว่าอาหารพื้นบ้านมีความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุและคนวัยอื่นๆ เกิดความตระหนักเข้าใจตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารพื้นบ้าน ทำให้เกิดการเรียนรู้ข้อมูลอาหารพื้นบ้านที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น และทำให้รู้จักคิด บอกต่อถึงสรรพคุณ และทำอย่างต่อเนื่อง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความรอบรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้านยอดนิยมที่ส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุก่อนได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและหลังการได้รับกิจกรรมความรู้ พบว่า หลังได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีความรอบรู้ ดีกว่าก่อนการได้รับกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนภูมิภาค
Avatar

การพัฒนาอาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน

 152 รวมเข้าชม

 152 รวมเข้าชม ผู้วิจัย:                       นางสาวปิยฉัตร ดีสุวรรณ       โรงพยาบาลแพร่                                  นางสาวน้ำทิพย์ จองศิริ        โรงพยาบาลแพร่                                  ดร.สุรางค์รัตน์ พ้องพาน       มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง                                  ดร.พัชรินทร์ คำนวล            โรงพยาบาลพะเยา                                         ดร.ภมรศรี ศรีวงศ์พันธ์         มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย                                  ผศ.นวัชโรจน์ อินเต็ม           มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย               วิทยาเขตแพร่ บทคัดย่อ     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเมนูอาหารพื้นบ้านยอดนิยมให้มีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และประเมินประสิทธิผลของเมนูอาหาร ต่อสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รูปแบบ การวิจัยเป็นเชิงคุณภาพและการทดลองในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการเชิงคุณภาพ ได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 16 ท่าน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับอาสาสมัครผู้สูงอายุ ในพื้นที่จังหวัดแพร่ จำนวน 10 ท่าน ที่มาร่วมประกอบอาหาร เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านรสชาติ และความยากง่ายในการประกอบอาหาร ผลของการพัฒนา ได้คู่มือเมนูอาหารพื้นบ้าน “10 อย่างอาหารเหนือ เพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ” ส่วนการทดลองในชุมชน ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดแพร่, จังหวัดพะเยา, จังหวัดลำปาง และจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหรืออ้วน ข้อใดข้อหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งข้อ จำนวนทั้งหมด 319 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 163 คน และกลุ่มควบคุม 156 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับสุขศึกษาเรื่อง การดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และหลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา) แต่กลุ่มทดลองจะได้รับคู่มือเมนูอาหารนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน  หลังเข้ากิจกรรมเป็นเวลา 1

อ่านต่อ »