Skip to content

Category: ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง

ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

คณะสังคม​ฯ​ มอบบัตรอำนวยพร​อายุ​วัฒ​น์​แก่บุคลากร

 98 รวมเข้าชม

 98 รวมเข้าชม ] วันศุกร์ที่ ๒๔ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. พระอุดมสิทธินายก, รศ.ดร. คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มอบบัตรอำนวยพรอายุวัฒน์แก่บุคลากรคณะสังคมศาสตร์ที่เกิดในเดือนกุมภาพันธ์ ประกอบด้วย ๑. พระสุธีวีรบัณฑิต, รศ.ดร. อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ ๒. ผศ.ดร.นพดล ดีไทยสงค์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ ๓. ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ ๔. อาจารย์ ดร.วรพจน์ ถนอมกุล อาจารย์ประจำภาควิชานิติศาสตร์ ๕. พระครูปลัดอุดมวัฒน์, ดร. อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ๖. พระครูปุริมานุรักษ์, รศ.ดร. อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ๗. รศ.ดร.สมาน งามสนิท อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ ๘. รศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ ๙. พระครูสุธีกิตติบัณฑิต, ผศ.ดร. อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ ๑๐. พระมหาปฏิภาณ สุปฏิภาณเมธี สำนักงานคณบดีคณะสังคมศาสตร์ เพื่อส่งเสริมกำลังใจเป็นสวัสดิการการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะสังคมศาสตร์ และส่งเสริมวินัยการออมผ่านรูปแบบการออมในฉลากออมสิน ณ ห้อง ๔๐๕ พระราชมงคลวัชราจารย์ (พัฒน์ ปุญฺญกาโม) ชั้น ๔ อาคารพระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี, Ph.D.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพ : นเรศ ฤทธิเดช ข่าว : เรวดี จรรยา . คณะสังคมศาสตร์

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

คณะสังคมฯ ประชุมบุคลากรคณะ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖

 141 รวมเข้าชม

 141 รวมเข้าชม ] วันศุกร์ที่ ๒๔ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. พระอุดมสิทธินายก, รศ.ดร. คณบดีคณะสังคมศาสตร์ เป็นประธานประชุมบุคลากรคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ เพื่อพิจารณาเรื่องการบริหารส่วนงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะสังคมศาสตร์ การสอบวัดผลการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ภาคการศึกษาที่ ๒ การจัดทำแผนพัฒนาองค์กรของคณะสังคมศาสตร์ การทำบันทึกข้อตกลงของคณะสังคมศาสตร์ และการร่วมเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารในนามคณะสังคมศาสตร์ โดยมี พระครูวิมลสุวรรณกร, ดร. ที่ปรึกษาคณบดีคณะสังคมศาสตร์ พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, ผศ.ดร. รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป รศ.ดร.ภัทรพล ใจเย็น รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.รัฐพล เย็นใจมา หัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์ ผศ.ดร.เดช ชูจันอัด ผู้รักษาการแทนหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และ พระปลัดวีระศักดิ์ ธีรงฺกุโร, ดร. เลขานุการสำนักงานคณบดีคณะสังคมศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่คณะสังคมศาสตร์ เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ณ ห้อง ๔๐๕ พระราชมงคลวัชราจารย์ (พัฒน์ ปุญฺญกาโม) ชั้น ๔ อาคารพระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี, Ph.D.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาพ​ : นเรศ​ ฤ​ทธิ​เดช​ ข่าว​ : เรวดี​ จรรยา​ . คณะสังคมศาสตร์

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ASC-IBSC ประชุมเตรียมความพร้อมการประชุมพหุภาคีร่วมกับ UNDP

 191 รวมเข้าชม

 191 รวมเข้าชม ] ASC-IBSC ประชุมเตรียมความพร้อมการประชุมพหุภาคีร่วมกับ UNDP พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร.,ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา ประชุมร่วมกับผู้บริหารวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ โดยมี รศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, รองผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและพระบารมี นนฺทธมฺโก , รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ร่วมประชุม เพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน กำหนดรายละเอียดและแนวทางการพัฒนาร่วมกับ UNDP ซึ่งกำหนดจัดการประชุม Cooperate Sustainability Meeting ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 ณ ห้อง 401 สำนักงานอธิการบดี ในการนี้ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร. ได้ประสานงานไปยังหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยตามคำสั่งมอบหมายของอธิการบดี เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าส่วนงานเข้าร่วมประชุมในโอกาสครั้งนี้ด้วย Connect us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ___ Website: http://asc.mcu.ac.th Facebook : Mcu Asean Twitter : ascmcu IG: ascmcu ASEAN Studies Centre

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

VIP TALK II กับอาจารย์ปริญญาถึงอำนาจ โครงสร้างรัฐ ความเหลื่อมล้ำของคน -เมือง – ป่า และการเคลื่อนไหวของกลุ่มสตรีเพื่อพิทักษ์ป่าและชีวิต

 141 รวมเข้าชม

 141 รวมเข้าชม ] “อำนาจกับความรู้” ถ้ามีความรู้ก็นำไปสู่การควบคุม หากมีการควบคุมก็ต้องอาศัยความรู้แม้อำนาจกับความรู้จะเป็นอิสระต่อกัน แต่ต้องไปด้วยกันเสมอ (Power/Knowledge)อำนาจทำให้เรากลายเป็นวัตถุเพื่อการควบคุมตรวจตาและจ้องมองของอำนาจ แต่อีกด้านอำนาจทำให้เรากลายเป็นอัตตบุคคล ที่ต้องควบคุมตรวจสอบตัวเอง ไม่ให้ล้ำเกินไปจากเส้นแบ่งและเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่กำหนด “ความเป็นปกติ” ของคนในสังคม Michel Foucault, 1984 1979 (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร,2560) เป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับสัปดาห์นี้ ที่ทางกองบรรณาธิการได้ร่วมพูดคุยกับอาจารย์ ปริญญา นิกรกุล อาจารย์ประจําภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถึงปัญหาที่เป็นปัญหาของรัฐไทยมาโดยตลอดและดูเหมือนว่าถึงจะผ่านเวลาไปนานเท่าใด ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่ถูกสะสางเสียที สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นปัญหาจุดนี้คือความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งเราอาจจะพูดได้ว่าเป็นความรุนแรงที่เกิดจากรัฐ บางพื้นที่ลุกลามจนก่อเกิดเเป็นอาชญากรรมที่เกิดจากผู้มีอำนาจในรัฐเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน ปัญหานี้ยิ่งตอกย้ำความบอบช้ำที่มีอยู่ให้หนักขึ้นไปกว่าเดิม บทความต้องการชี้ให้เห็นประเด็นที่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง ของคนกับป่า ตัวเร้าปัญหาหนึ่งที่เด่นชัดคือระบบราชการ และความไม่ยุติธรรมทางโครงสร้าง จึงทำให้คนอยากที่จะเข้าถึงทรัพยพากรได้ โดยเฉราะคนชายขอบ เพราะพวกเขาโดนกระทำจากโครงสร้างที่อยุติธรรม ปัญหาระหว่างรัฐ คน ป่า อยู่ตรงไหนบ้างครับ เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นผมขอย้อนเวลาเพื่อสืบเสาะปฏิบัติการของรัฐสักเล็กน้อย ในเรื่องภาษีอากร สัมปทานป่าไม้ เครื่องมือรวมศูนย์อํานาจในล้านนา สู่กรุงเทพฯ (เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว 2564) เพื่อให้เราได้เห็น ภาพที่ชัดมากขึ้น เดิมทีล้านนามีระบบการจัดเก็บภาษีอากรของตนเองโดยที่สยามไม่เคยเข้าไปควบคุม แต่เมื่อ กรุงเทพฯ ส่งข้าหลวงขึ้นไปกํากับราชการที่เมืองเชียงใหม่จําเป็นต้องใช้เงินในการทํางานต่าง ๆ ระยะแรกข้าหลวง เจรจากับเจ้าเมืองขอรายได้ 1 ใน 3 จากการเก็บภาษีอากรเมืองเชียงใหม่ เมืองลําปาง และเมืองลําพูน ส่วนที่เหลือ เป็นของเจ้าเมืองนั้น ๆ แต่เมื่อสยามเริ่มวางระบบราชการอย่างจริงจังทําให้เงิน 1 ส่วน ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ในเวลานั้นรัชกาลที่ 5 มีพระราชดําริจัดตั้งภาษี 100 ชัก 3 ทั่วพระราชอาณาเขตเพื่อเพิ่มฐานะการคลัง ด้านรายได้จากการป่าไม้ซึ่งเป็นรายได้หลักของบรรดาเจ้านาย ก่อนหน้าการจัดตั้งกรมป่าไม้ กรุงเทพฯ มี รายได้จากการทําไม้ไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เจ้านายล้านนามีรายได้ ทั้งค่าเปิดป่า ค่าให้สัมปทานป่า และค่าตอไม้ รายงาน รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นถึงรายได้ ดังกล่าวจึงมีพระราชประสงค์ดึงรายได้จากการทําไม้เข้าสู่ส่วนกลาง ใน พ.ศ. 2439 กรุงเทพฯ เชิญบริษัททําไม้ของอังกฤษมาวางแผนจัดตั้งกรมป่าไม้และขอยืมตัว

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

บัณฑิตวิทยาลัย รับสมัครนิสิตใหม่ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตและพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต  ปีการศึกษา ๒๕๖๖ 

 116 รวมเข้าชม

 116 รวมเข้าชม ] บัณฑิตวิทยาลัย รับสมัครนิสิตใหม่  หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต  ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖  ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖ มีรายละเอียดดังนี้ <<<ดาวน์โหลดประกาศ>>> <<<ดาวน์โหลดใบสมัคร>>> กรอกแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์สมัครออนไลน์ ผ่าน google form -หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ภาคปกติ (พระพุทธศาสนา) -หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ภาคเสาร์-อาทิตย์ (พระพุทธศาสนา) -หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาคปกติ เรียนวันราชการ (พระพุทธศาสนา) -หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต-ดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาปรัชญา) ภาคปกติและภาคเสาร์อาทิตย์ -หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต-ดุษฎีบัณฑิต(สาขาวิชาพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร)ภาคเสาร์ อาทิตย์ บัณฑิตวิทยาลัย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากร และเพื่อแต่งตั้งเป็นลูกจ้าง มหาวิทยาลัย

 128 รวมเข้าชม

 128 รวมเข้าชม ] ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน เพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากร และเพื่อแต่งตั้งเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัย **********************             ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย ประเภทคณาจารย์ประจำและเจ้าหน้าที่ประจำ  และเพื่อแต่งตั้งเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัย ประเภทคณาจารย์ลูกจ้างและเจ้าหน้าที่ลูกจ้าง  โดยกลุ่มงานบริหารงานบุคคลได้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครเรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศเลขที่ใบสมัครสอบและรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน ดังนี้ ประเภทคณาจารย์ประจำ เลขที่ใบสมัคร ชื่อ /ฉายา /นามสกุล ๒๐๒๓๐๒๐๐๔ พระครูใบฎีกาแสงเฮือง นรินฺโท/ปัญญา ๒๐๒๓๐๒๐๑๗ แม่ชีนฤมล จิวัฒนาสุข ๒๐๒๓๐๒๐๔๕ พระมหาวริทริ์ชาการ วชิรสิทฺธิเมธี/บุญกิจ ประเภทคณาจารย์ลูกจ้าง เลขที่ใบสมัครสอบ ชื่อ /ฉายา /นามสกุล ๒๐๒๓๐๒๐๐๑ นางสาวศิริประภา แก้วบุญใสย ๒๐๒๓๐๒๐๓๑ พระมหานัทวุธ ณฏฺฐิโก/สำเภา ๒๐๒๓๐๒๐๓๘ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรณิช วสุรัตน์ ๒๐๒๓๐๒๐๔๓ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อุทัย สติมั่น ๒๐๒๓๐๒๐๔๔ พระมหาสมชาย มะลิซ้อน ๒๐๒๓๐๒๐๔๙ Mrs.Mithila Chowdhury                      ขอให้ผู้มีรายชื่อตามประกาศข้างต้น เข้ารับการสอบข้อเขียน ในวันศุกร์ที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้อง C๑๑๕ อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่เวลา ๙.๐๐ น. เป็นต้นไป ประเภทเจ้าหน้าที่ประจำ เลขที่ใบสมัครสอบ ชื่อ /ฉายา /นามสกุล ๒๐๒๓๐๒๐๐๓ นางสาวกาญจนา บุญเรือง ๒๐๒๓๐๒๐๐๖ นางสาวภัคนิจ พิมพา ๒๐๒๓๐๒๐๐๘ พระมหาวิจัก กิตฺติวณฺโณ/ชนะพจน์ ๒๐๒๓๐๒๐๑๒ นายอดินันท์ สุวรรณรัตน์ ๒๐๒๓๐๒๐๑๔ พระธัชฑล รกฺขิโต/อัตรัง ๒๐๒๓๐๒๐๑๖ พระครูใบฎีการัชพล ปภสฺสโร/เหลืองทองเปลว ๒๐๒๓๐๒๐๑๘ พระวรราช วรญฺญู/พูนผล ๒๐๒๓๐๒๐๒๐ นายวิศรุต

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

คติอรัญวาสี: จากลังกาสู่อาเซียนยุคเริ่มต้น

 368 รวมเข้าชม

 368 รวมเข้าชม ] คติอรัญวาสี: จากลังกาสู่อาเซียนยุคเริ่มต้น อรัญวาสี (อะ-รัน-ยะ-วา-สี) แปลว่า ผู้อยู่ในป่า ผู้อยู่ประจำป่า อรัญวาสี ใช้เรียกกลุ่ม/คณะสงฆ์โบราณคณะหนึ่งประจำการ/ตั้งอยู่ในป่าห่างชุมชนเมืองบางครั้งอยู่รอบๆ เมืองที่เป็นพระนครหรือกำแพงเมืองเน้นคันถะธุระการศึกษาเล่าเรียน เรียกว่า คณะอรัญวาสี คณะตรงกันข้ามเรียกว่าคามวาสี ประจำการ/ตั้งวัด/สังฆารามอยู่ในเขตชุมชนบ้าน หรือเมือง อรัญวาสี ปัจจุบันหมายถึงภิกษุผู้อยู่ในป่า มักเรียกทั่วไปว่า พระป่า ประเทศไทยมีกิจวัตรประจำวันเน้นหนักไปในทางวิปัสสนาธุระพัฒนาจิตเจริญปัญญา นุ่งห่มด้วยผ้าสีปอน ไม่ฉูดฉาดหรือสีกรัก มุ่งการปฏิบัติธรรมและการเผยแผ่เป็นหลัก ไม่เน้นงานด้านการบริหารปกครอง การศึกษาพระปริยัติธรรม และสาธารณูปการหรือการก่อสร้างพัฒนาวัด บางครั้ง อรัญวาสี มักถูกนำมาใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ระดับพระราชาคณะขึ้นไปเพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นพระป่า เช่น พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร อรัญวาสีภิกขุ หากแต่ท่านก็ยังเกี่ยวข้องกับสังคมชุมชนอยู่มากเช่นกัน พัฒนาการอรัญวาสีในลังกา แนวทางอรัญวาสีเริ่มปรากฏชัดเจนเริ่มแรกของพุทธศาสนาในลังการาว พ.ศต.ที่ 3 ก่อนมีการเรียกมหาวิหาร แห่งแรกที่เมืองอนุราธปุระเมืองหลวงแห่งแรกของศรีลังกา/สิงหล พฤติกรรมของคณะสงฆ์โดยธรรมชาติมักมีการดำรงชีวิตที่อาศัยชุมชนบ้าน เมือง อยู่แล้ว และอีกกลุ่มมากอยู่อาศัยถ้ำหรือเชิงผา ภูเขาเป็นที่พำนักมาก่อน เช่น มิหินตาเล หรือ มิสสกบรรพต ที่พำนักพระมหินทร์เถระ ต่อมามิหินตาเลเป็นที่รู้จักเนื่องจริยวัตรปฏิบัติเคร่งครัดกว่าพวกอยู่ในเขตชุมชน บ้าน เมือง ถึงกล่าวว่าเป็นที่พำนักของพระอรหันต์โดยพุทธโฆสาจารย์ มิหินตาเลจึงเป็นต้นแบบของวัด สังฆารามที่สร้างขึ้นตามป่าเขาในเวลาต่อมา เช่น เวสสคีรียะ หรือ สีคีรียะ นอกจากนี้ พระกลุ่มนี้เน้นไปที่ใช้ธุดงค์ เช่น ถือผ้าบังสุกุล เป็นหลัก อยู่ป่าเป็นหลัก เรียกกลุ่มนี้ว่า ปังสุกุลิกะ (ตรงข้ามกับกลุ่มธรรมกถิกา/ธมฺมกถิกา พวกเน้นสายปริยัติและเทศนา) หากแต่กลุ่มนี้แต่ละคณะก็ยังสังกัดอยู่ตามคณะวิหารแตกต่างกัน เรียกว่า มหาวิหาร อภัยคิรีวิหาร และเชตวิหาร แม้คณะสงฆ์ลังกามักอ้างปริยัติเพื่อสืบต่อพระศาสนาก็ตามจนถึงยุคหลังอรรถกถาจึงเริ่มมีขบวนการผู้ที่อยู่ป่าปรากฏขึ้นชัดเจน เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มปังสุกุลิกะ/อรัณยกะ ต่อมาเรียกว่า อรัญวาสี/วนวาสี เพราะก่อนนี้ยุคปริยัติให้น้ำหนักที่ปริยัติแข่งขันระหว่างสำนักนิกายด้านปริยัติ พระสงฆ์สายป่านี้เริ่มมาปรากฏเป็นขบวนการพุทธใหม่สมัยนั้นชัดดังคัมภีร์มหาวงศ์กล่าวถึงกลุ่มพระป่าอรัญญกะ/อรัณยกะ ตั้งแต่ พ.ศต.ที่ 12 ในเมืองอนุราธปุระ สังกัดอยู่ในสำนกนิกายทั้งสาม ซึ่งก่อนนี้เน้นด้านปริยัติ /คันถะธุระ คติอรัญวาสีนี้เองจึงมาจากกลุ่มคณะสงฆ์ที่เหนื่อยหน่ายกับการศึกษาปริยัติที่มีมากจนเกินไป และเน้นรวมกลุ่มกันศึกษาอยู่ที่มหาวิหาร เพื่อศึกษาปริยัติ และยุคทองของวรรณกรรมปาลีของฝ่ายมหาวิหารพึ่งผ่านพ้นไป ประจวบเหมาะกับภัยสงครามหลายครั้งที่ทำให้พระสงฆต้องหนีภัยสงครามไปอยู่ตามป่าเขาในถ้ำลึก เพิง ตามรอบนอกเขตชุมชน ขบวนการปังสุลิกะ/อรัณยกะจึงเริ่มมีมากขึ้นอยู่รอบๆ เมืองอนุราธปุระ

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการอบรมพระธรรมทูต

 114 รวมเข้าชม

 114 รวมเข้าชม ] การประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการอบรมพระธรรมทูต วันเสาร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร,ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษาร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๒๙/๒๕๖๖ โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ณ พระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร   ข่าว: ศูนย์อาเซียนศึกษา มจร ASEAN Studies Centre

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

การประชุมคณะบรรณาธิการนิตยสารพุทธจักร ครั้งที่ 1/2566

 122 รวมเข้าชม

 122 รวมเข้าชม ] วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา13.00 น. พระมหาชำนาญ มหาชาโน, ดร. รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ เป็นประธานการประชุมคณะบรรณาธิการนิตยสารพุทธจักร ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมสำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดนครศรีอยุธยา และห้องประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom meeting ID : 6339227142 โดยมีวารที่สำคัญ ดังนี้ วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งเพื่อทราบ 1.1 เรื่อง ประธานแจ้งเพื่อทราบ 1.2 เรื่อง เลขานุการแจ้งเพื่อทราบ 1.2.1 เรื่อง คำสั่งมหาวิทยาสัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง “แต่งตั้งคณะบรรณาธิการนิตยสารพุทธจักร” วาระที่ 2 เรื่อง รับรองรายงานการประชุม วาระที่ 3 เรื่อง สืบเนื่อง – ไม่มี วาระที่ 4 เรื่อง เสนอพิจารณา 4.1 เรื่อง การพัฒนานิตยสารพุทธจักร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วาระที่ 5 เรื่อง อื่น ๆ (ถ้ามี) สำนักส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาคเสาร์ อาทิตย์ จัดพิธีมอบผ้าไตรแก่ผู้จะเข้าอุปสมบทที่ประเทศอินเดีย

 168 รวมเข้าชม

 168 รวมเข้าชม ] หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาคเสาร์ อาทิตย์ จัดพิธีมอบผ้าไตรแก่ผู้จะเข้าอุปสมบทที่ประเทศอินเดีย บัณฑิตวิทยาลัย

อ่านต่อ »