ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง : ลายเวียงกาหลงสู่เป้าหมายอาชีพที่ยั่งยืนของชุมชน
599 รวมเข้าชม
599 รวมเข้าชม ผู้วิจัย: พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง), ผศ.ดร., นายศุภกร ณ พิกุล, นางอมลณัฐ กันทะสัก, พระอธิการสุชาติ เครือน้อย, ผศ.ดร.สมหวัง อินทร์ไชย, พระครูสุธีสุตสุนทร (สมพงษ์ พอกพูน), ดร., ผศ.จำเริญ ฐานันดร, ผศ.ดร.ปฏิพันธ์ อุทยานุกุล, ดร.สหัทยา สิทธิวิเศษ และ นายอานุรักษ์ สาแก้ว, ส่วนงาน: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย ปีงบประมาณ: ๒๕๖๒ ทุนอุดหนุนการวิจัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อพัฒนางานศิลป์พิมพ์ลายเวียงกาหลงบนวัสดุที่หลากหลาย (๒) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลงโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีชุมชน และ (๓) เพื่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ศิลปะเวียงกาหลงด้วยนวัตกรรมใหม่นำไปสู่เป้าหมายอาชีพที่ยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จึงดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๓๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย และแบบประเมินผลก่อนและหลังการอบรม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ในภาพรวม มีศิลปะลวดลายเวียงกาหลง ๔ กลุ่มใหญ่ๆ มากกว่า ๕๐ ลาย โดยสามารถนำศิลปะลายเวียงกาหลงเหล่านั้นมาพัฒนาสร้างสรรค์ให้เป็นศิลปะร่วมสมัยอย่างน้อย ๗ แบบ ได้แก่ ศิลปะดอกบัวบาน ศิลปะปลาคู่สำราญธารา ศิลปะบัวบูชาพระพุทธองค์ ศิลปะกิเลนดงน้อมกายา ศิลปะไก่ฟ้าพญาไพร ศิลปะพญาหงส์ใหญ่รวมพลกา และศิลปะลายนานาในบัวตูม แล้วนำไปลงบนวัสดุอื่นๆ ได้อย่างหลากลายที่นอกเหนือจากเครื่องปั้นดินเผา เช่น ร่ม ย่ามพระสงฆ์ เสื้อผ้า กระดาษฉากประดับ ผ้าฉากประดับ เป็นต้น โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษากับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สำหรับการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนผ่านศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน สร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมสำหรับการอนุรักษ์ และนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ทางวัฒนธรรมเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า