Skip to content

Category: ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง

ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรม

 596 รวมเข้าชม

 596 รวมเข้าชม ] ความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรม ความร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความร่วมมือเฉพาะด้าน” คือ ความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่มิใช่ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดย มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค พัฒนาและเสริมสร้างสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น รวมถึงลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิก ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี 2546 ที่บาหลี ผู้นำประเทศอาเซียน เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1. การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร 2. แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ 3. ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง 4. ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งรับรู้ข่าวสารเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงเอกลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)   แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือในด้านต่างๆ 6 ด้าน 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) ให้ความสำคัญกับการศึกษาการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเชิงประยุกต์เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ ความร่วมมือในด้านนี้ 2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) ได้แก่ การขจัดความยากจน เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอา เซียนและโลกาภิวัฒน์ ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น 3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) ได้แก่ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ 4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ได้แก่ การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของ

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ความร่วมมือประชาคมอาเซียนด้านเศรษฐกิจ

 764 รวมเข้าชม,  2 เข้าชมวันนี้

 764 รวมเข้าชม,  2 เข้าชมวันนี้ ] ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องต้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community – ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) และเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2558 ความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2535 โดยได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น และนับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้าสินค้าและบริการการลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงินการคลัง เป็นต้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่สำคัญ มีดังนี้   1. เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอา เซียน หรือ AFTA เป็นข้อตกลงทางการค้าสำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ในฐานะที่เป็นการผลิตที่สำคัญในการป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้า การลดภาษี และยกเลิกอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี เช่น การจำกัดโควต้านำเข้า รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี โดยข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกต้องให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบ แทน หมายความว่าการที่ได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้า ชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน 2. เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม

 568 รวมเข้าชม,  1 เข้าชมวันนี้

 568 รวมเข้าชม,  1 เข้าชมวันนี้ ] ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม  อาเซียนได้ให้ความสำคัญต่อการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว โดยไม่เพียงแต่ส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเท่านั้น หากแต่ยังมีความพยายามขยายขอบเขตความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมออกไปยังประเทศต่าง ๆ นอกอาเซียนและนอกภูมิภาคเอเชียอีกด้วย โดยในปี พ.ศ. 2520 (10 ปี หลังการก่อตั้งอาเซียน) ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันริเริ่มโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Environment Programme: UNEP) ในการจัดทำโครงการอนุภูมิภาคด้านสิ่งแวดล้อม 1 (the ASEAN Sub-Regional Environment Programme: ASEP I) พร้อมกับจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม (the ASEAN Experts Group on the Environment: AEGE) ภายใต้คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (the ASEAN Committee on Science and Technology: COST) เป็นผู้ดำเนินโครงการอนุภูมิภาคด้านสิ่งแวดล้อม 1 มีระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2520 – 2524) หลังจากนั้นก็มีโครงการต่อเนื่องอีก 2 โครงการ คือ โครงการอนุภูมิภาคด้านสิ่งแวดล้อม 2 (the ASEAN Sub-Regional Environment Programme II: ASEP II) (พ.ศ. 2525 – 2530) และโครงการอนุภูมิภาคด้านสิ่งแวดล้อม 3 (the ASEAN Sub-Regional Environment Programme III: ASEP III) (พ.ศ. 2531 – 2535) ตามลำดับ ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับรูปแบบคณะผู้เชี่ยวชาญอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม โดยยกฐานะจากคณะผู้เชี่ยวชาญเป็นคณะกรรมการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งแยกออกจากคณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลายเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ความร่วมมือประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง

 308 รวมเข้าชม

 308 รวมเข้าชม ]  ความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างสถานะที่จะอำนวยต่อการสร้างประชาคมอาเซียน ให้สำเร็จภายในปี 2558 ซึ่งจะทำให้ประชาคมอาเซียนในด้านการเมืองความมั่นคงมีความแข็งแกร่งและน่า เชื่อถือ ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงของอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่ 1. สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation หรือ TAC) สนธิสัญญาไมตรีและความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย เมื่อปี 2519 เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานของความร่วมมือ และการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันของประเทศสมาชิกหลักการสำคัญของสนธิ สัญญา ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนยึดถือและยอมรับในการปฏิบัติตาม ได้แก่ 1.1 เคารพในเอกราช การมีอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน ความมั่นคงทางดินแดนและเอกลักษณ์แห่งชาติของทุกประเทศ 1.2 ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก การโค่นล้มอธิปไตย หรือการบีบบังคับจากภายนอก 1.3 การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน 1.4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี 1.5 การยกเลิกการใช้การคุกคามและกองกำลัง 1.6 การมีความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน เมื่อเดือนธันวาคม 2530 ได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อเปิดทางให้ประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้สามารถเข้าร่วมเป็นภาคีได้ ซึ่งช่วยเสริมสร้างโครงสร้างความมั่นคงและสันติภาพให้มีความเข้มแข็งยิ่ง ขึ้น ปัจจุบันประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญา TAC ได้แก่ สมาชิก อาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน และประเทศที่เข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วย การเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปได้แจ้งความจำนงอยากเข้าร่วมเป็นภาคี   2. สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear-Free Zone : SEAN-FZ) ประเทศสมาชิกอาเซียน ลงนามในการประชุมสนธิสัญญาในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15ธันวาคม 2538

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

โอกาสของไทยในอาเซียน

 882 รวมเข้าชม

 882 รวมเข้าชม ] “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community – AEC)  ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2558 จากความร่วมมือของประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย เมียนมา ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และบรูไน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ความร่วมมือดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นเพื่อสร้างเขตเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนเองเหมือนดังสหภาพยุโรป แต่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ยังแตกต่างจากสหภาพยุโรปในบางเรื่อง เช่น ประเทศอาเซียนยังใช้เงินสกุลเดิมของแต่ละประเทศอยู่ซึ่งแตกต่างจากสหภาพยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรในการทำการค้าขายกัน การใช้เงินสกุลเดียวกันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพทางการค้าสูงเพราะไม่ต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินไปมาทุกครั้งเวลาทำการซื้อขายกันเพราะทุกคนในภูมิภาคใช้เงินสกุลเดียวกันอยู่แล้วและทำให้การท่องเที่ยวหรือย้ายถิ่นฐานในเชิงแรงงานสามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ การตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีผลกระทบกับประเทศไทยโดยตรงทั้งทางบวกและทางลบ ที่เห็นได้ชัดคือการค้าขายระหว่างประเทศอาเซียนมีความเป็นเสรีมาก เพราะมีการยกเลิกภาษีนำเข้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน แต่อาจจะมีข้อยกเว้นสำหรับสินค้าบางประเภทที่เรียกกันว่าสินค้าอ่อนไหวเพื่อดูแลเกษตรกรในประเทศ อีกทั้งยังทำให้ผู้ผลิตของไทยสามารถขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีแรงงานราคาต่ำทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ และหากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการยังไม่พร้อมจะขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่น การเคลื่อนย้ายแรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นมีความเสรีทำให้ไทยไม่ขาดแคลนแรงงานอีกต่อไป ทำให้ผู้ประกอบการกล้าที่จะลงทุนในโครงการใหม่ๆ เพราะมีอุปทานทางด้านแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านสนับสนุน รวมไปถึงโอกาสด้านธุรกิจการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์อาเซียนศึกษา มจร ขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใน ในบทความวิชาการเรื่อง “ประเทศไทยในกระแส AEC: มายาคติ ความเป็นจริง โอกาส และความท้าทาย” โดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู และคณะ ซึ่งมีการนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไว้ 4 ประการคือ ประเทศไทยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงคือ ในปี 2558 พบว่า จะยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ต่อประเทศไทย เนื่องจากการเปิดเสรีการค้าสินค้าในปัจจุบันมีการลดภาษีศุลกากรให้เป็น 0% (เริ่มมาตั้งแต่ปี 2536 ตามกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน AFTA-CEPT) ไปแล้วถึง 99.5% ซึ่งถือว่าเสร็จสิ้นเกือบสมบูรณ์แล้ว เมื่อเกิด AEC ในปี 2558 จึงแทบไม่มีการเปลี่ยนปลงในเรื่องนี้ และเรื่องการเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุนยังคงไม่มีความคืบหน้ามาก เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านกฎหมายภายในประเทศของไทย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานทุกประเภทโดยเสรี  ข้อเท็จจริงคือ จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานเกี่ยวข้องเฉพาะวิชาชีพ 8 สาขา ภายใต้ข้อตกลงการยอมรับร่วมกัน

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอาเซียน

 2,339 รวมเข้าชม,  3 เข้าชมวันนี้

 2,339 รวมเข้าชม,  3 เข้าชมวันนี้ ] อาเซียน (ASEAN) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ, ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมือง ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต ระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) หรือ ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

มติสภาวิชาการ

 156 รวมเข้าชม

 156 รวมเข้าชม ] มติสภาวิชาการ wdt_ID ที่ วัน เดือน ปี ครั้งที่ วาระที่ จุด ชื่อเรื่อง รายละเอียด มติ 1 1 19 10 2549 10 1 2 ๑.๒.๑ เรื่อง การแต่งตั้งผู้ช่วยอธิการบดี พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ แจ้งว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีคำสั่งที่ ๒๙๑/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ แต่งตั้งผู้ช่วยอธิการบดี จำนวน ๒๗ รูป/คน เพื่อช่วยบริหารงานของมหาวิทยาลัยในฝ่ายต่าง ๆ ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นไป จึงแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ที่ประชุมรับทราบ 2 2 19 10 2549 10 1 2 ๑.๒.๒ เรื่อง การแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ กรรมการและเลขานุการสภาวิชาการ แจ้งว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๙ แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ รองศาสตราจารย์พิเศษ และศาสตราจารย์พิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๑ และมติสภาวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ มหาวิทยาลัย จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ พระเยื้อง โชติาโณ (ปั้นเหน่งเพชร) อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ปริญญากิตติมศักดิ์และเข็มเกียรติคุณ

 336 รวมเข้าชม

 336 รวมเข้าชม ] กิตติมศักดิ์ wdt_ID ที่ ระดับ ปี ชื่อ ที่อยู่ หลักสูตร 1 1 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2522 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธ กทม. พุทธศาสตร์ 2 2 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2522 สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ปุณฺณกมหาเถร) วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. ครุศาสตร์ 3 3 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2522 พระพิมลธรรม (อาสภมหาเถร) วัดมหาธาตุ กทม. มนุษยศาสตร์ 4 4 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2522 พระเทพวิสุทธิเมธี (อินฺทปญฺญเถร) วัดบรมธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี พุทธศาสตร์ 5 5 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2523 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (จนฺทสิริมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม กทม. พุทธศาสตร์ 6 6 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2523 พระราชนันทมุนี (ปญฺญานนฺทเถร) วัดชลประทานรังสฤษฏ์ นนทบุรี ครุศาสตร์ 7 7 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2525 พระพรหมคุณาภรณ์ (อุปเสณเถร) วัดสระเกศ กทม. พุทธศาสตร์ 8 8 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2525 พระธรรมโกศาจารย์ (อนุจารีเถร) วัดราษฎร์บำรุง ชลบุรี ครุศาสตร์ 9 9 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2526 พระธรรมญาณมุนี (กิตฺตินนฺทเถร) วัดกวิศราราม ลพบุรี ครุศาสตร์ 10 10 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2526 พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) วัดพระพิเรนทร์

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน

 402 รวมเข้าชม

 402 รวมเข้าชม ]หลักการและเหตุผล           การนำระบบและกลไกการประกันคุณภาพมาใช้ในการขับเคลื่อนกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ส่วนงานสามารถพัฒนางาน เพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามพันธกิจของส่วนงานและของมหาวิทยาลัย ดังนั้น เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ส่วนงานเล็งเห็นความสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และใช้กลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพ เพื่อก้าวสู่การปฏิบัติที่ดี จึงเห็นความสำคัญในการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพระหว่างส่วนงาน เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาคุณภาพสู่ผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป วัตถุประสงค์           ๑ เพื่อกระตุ้นให้ส่วนงานเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง           ๒ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพและเกิดแนวปฏิบัติที่ดี ๓  เพื่อส่งเสริมเครือข่ายในการติดตามตรวจเยี่ยมการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างส่วนงาน          กลุ่มเป้าหมาย           ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย ของส่วนงานจัดการศึกษาในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จำนวน ๗ แห่ง ดังนี้           ๑. ส่วนงานจัดการศึกษาในภาคกลาง ประกอบด้วย                               (๑) วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี                               (๒) วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร           ๒. ส่วนงานจัดการศึกษาในภาคตะวันออก ประกอบด้วย                               (๑) วิทยาลัยสงฆ์ชลบุรี           ๓. ส่วนงานจัดการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย                               […] สำนักงานประกันคุณภาพ

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

โครงการมหาจุฬาสร้างสุขครั้งที่ 36 “เสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรม”

 437 รวมเข้าชม

 437 รวมเข้าชม ]มหาจุฬาสร้างสุข ครั้งที่ 36 “เสียงธรรมจากมหาจุฬาอ … ส่วนธรรมนิเทศ

อ่านต่อ »