Skip to content

Category: ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง

ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

มจร จับมือวัดฝอกวงซัน (มูลนิธิพุทธรังษี) ลงนาม MOU ส่งเสริมการแปลคัมภีร์นานาชาติ

 435 รวมเข้าชม

 435 รวมเข้าชม ] วันนี้(๒๐ เมษายน ๒๕๖๖) บัณฑิตวิทยาลัย และวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้บันทึกลงนามข้อตกลง (MOU) กับมูลนิธิพุทธรังษี (วัดฝอกวงซัน) ประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาในระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ส่งเสริมการแปลคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายาน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมนานาชาติ ในการนี้มีการสัมมนาเรื่อง “พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมการแปลคัมภีร์” พระธรรมาจารย์ซินติ้ง เจ้าอาวาสวัดฝอกวงซันได้อธิบายถึงวัฒนธรรมการแปลคัมภีร์สำคัญของจีนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยยกท่านกุมารชีพกับท่านพระถังซัมจั๋ง เป็นบรมครูต้นแบบแห่งการแปลคัมภีร์สู่สังคมจีน ปัจจุบันวัดฝอกวงซัน ได้ตั้งศูนย์การแปลคัมภีร์พุทธศาสตร์ไทย-จีน มีการแปลคัมภีร์ที่สำคัญไปแล้วหลายเรื่อง เช่น วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร พระสัทธรรมปุณฑรีกสูตร คัมภีร์ ๔๒ บท ปฐมคัมภีร์พระพุทธศาสนาพากย์จีน และคัมภีร์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสยปูรวปณิธานสูตร เป็นต้น พระสุธีรัตนบัณฑิต คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย กล่าวว่า การแปลและการรจนาคัมภีร์ในสังคมไทยมีสืบเนืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์ โดยมีการแปลคัมภีร์ที่สำคัญ เช่น มังคลัตถทีปนี ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น เพื่อให้องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาสู่สากล รวมทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย พระมหาสมพงษ์ คุณากโร รองผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ กล่าวถึงโครงการแปลพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ เป็นภาษาอังกฤษว่า เป็นโครงการที่รัฐบาลไทยสนับสนุน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๑๐ ซึ่งมีพระพรหมบัณฑิต เป็นประธาน และมีนักวิชาการการทั่วโลกมาช่วยแปล รศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ กล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ว่า ได้ส่งเสริมการแปลคัมภีร์มาตั้งแต่ในอดีต จนถึงปัจจุบัน โดยมีการจัดพิมพ์คัมภีร์สำคัญหลายเล่มทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษ ไทย และอื่น ๆ มจร และมูลนิธิฯจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องบนความสัมพันธ์อันดีงามของไทย จีน และนานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๒

 289 รวมเข้าชม

 289 รวมเข้าชม ]ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๒ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาษาบาลี ที่พระพุทธโฆสาจารย์รจนา ซึ่งมีเนื้อหา ๒๓ ปริจเฉท กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ ปริจเฉท คือสีลนิเทศ และธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ ปริจเฉท ตั้งแต่ปริจเฉทที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) ฉอนุสสตินิเทศ (๘) อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (๙) พรหมวิหารนิเทศ … Continue reading » สำนักพิมพ์ มจร

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๑

 140 รวมเข้าชม

 140 รวมเข้าชม ]ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๒ เล่ม ๑ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ซึ่งเป็นคัมภีร์ภาคภาษาบาลี ที่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ได้รจนาไว้ ซึ่งมี ๒๓ นิเทศ กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ นิเทศ คือ (๑) สีลนิเทศ และ(๒) ธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) … Continue reading » สำนักพิมพ์ มจร

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๒

 269 รวมเข้าชม

 269 รวมเข้าชม ]ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๒ นี้ แปลมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ซึ่งเป็นคัมภีร์ภาคภาษาบาลี ที่ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ได้รจนาไว้ ซึ่งมี ๒๓ นิเทศ กล่าวคือ พระวินัยปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ศีล อยู่ใน ๒ นิเทศ คือ (๑) สีลนิเทศ และ(๒) ธุตังคนิเทศ พระสุตตันตปิฎก มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ โดยใจความ ได้แก่ สมาธิ อยู่ใน ๑๑ นิเทศ ตั้งแต่ นิเทศที่ ๓ ถึง ๑๓ ได้แก่ (๓) กัมมัฏฐานคหณนิเทศ (๔) ปฐวีกสิณนิเทศ (๕) เสสกสิณนิเทศ (๖) อสุภกัมมัฏฐานนิเทศ (๗) … Continue reading » สำนักพิมพ์ มจร

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

วิสุทธิมรรค ปกรณ์วิเสส ภาค ๑ เล่ม ๑

 293 รวมเข้าชม

 293 รวมเข้าชม ]ซื้อหนังสือเล่มนี้ (คลิก) คัมภีร์ “สมันตปาสาทิกา” มีทั้งภาษาบาลีและภาษาไทย ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่อธิบายความ พระวินัยปิฎก และพระวินัยปิฎก แบ่งออกเป็น ๕ คัมภีร์ คือ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค และปริวาร และมีอรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกา อันเป็นผลงานของพระเถระ ชาวชมพูทวีปชื่อว่า พุทธโฆษาจารย์ รจนาขึ้น เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี พระเถระรูปนี้เป็นนักปราชญ์ ที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันมาก ในประเทศที่นับถือศาสนาฝ่ายเถรวาท เพราะท่านได้แปลคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎกจากภาษาสิงหลมาเป็นภาษาบาลี จัดว่าเป็นงาน ที่สำคัญ เป็นมรดกตกทอดมาถึงพวกเราจนทุกวันนี้ ประเทศไทยได้ใช้คัมภีร์ที่ท่านรจนาไว้ เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค โดยเฉพาะ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาอธิบายความพระวินัยปิฎกที่ท่านรจนาขึ้น โดยยึดเค้าโครงอรรถกถาเดิม คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที เป็นหลัก “สมันตปาสาทิกา ภาค ๓ เล่ม ๓” นี้ แปลและเรียบเรียง โดย … Continue reading » สำนักพิมพ์ มจร

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

กองนิติการ ร่วมกับ กองกิจการพิเศษ จัดอบรมด้านกฎหมายสำหรับผู้บริหารระดับสูง

 277 รวมเข้าชม

 277 รวมเข้าชม ] วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เมตตามาเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมด้านกฎหมายสำหรับผู้บริหารระดับสูง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ในการนี้ รศ.ดร. ธัชชนันท์ อิศรเดช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป ถวายรายงานความเป็นมา ดังนี้           ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะส่วนงานในกำกับของรัฐได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการองค์เชิงพุทธบูรณาการ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาบูรณาการกับการบริหารจัดการสมัยใหม่ ตอบสนองกลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามเกณฑ์ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) โดยมุ่งเน้นที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลจริยธรรมของบุคลากร การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรม No Gift Policy และ หลักและวิธีการบริหารสัญญาของสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงได้กำหนดจัดโครงการอบรมด้านกฎหมายสำหรับผู้บริหารระดับสูงขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหารและบุคลากร เกี่ยวกับหลักและวิธีการบริหารสัญญาของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องแก่ผู้บริหาร และบุคลากร เสริมสร้างพัฒนากระบวนการคิด ด้านการบริหารและวัฒนธรรมการทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์องค์กร เสริมสร้างความสามารถด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การตั้งเป้าหมายการบริหารองค์กร และเพื่อเป็นการเผยแพร่หลักและวิธีการบริหารสัญญาของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ให้แก่ทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยได้รับทราบ          การจัดอบรมในวันนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย ผู้บริหารทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ระดับรองอธิการบดี จำนวน ๗ รูป ผู้ช่วยอธิการบดี จำนวน ๑๗ รูปหรือคน คณบดีทุกคณะ ผู้อำนวยการวิทยาลัย จำนวน ๒๕ รูป พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านนิติการสัญญาทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๔๕ รูปหรือคน ทั้งนี้ การอบรมในวันนี้ ภาคเช้า เป็นการบรรยายให้ความรู้ เรื่อง “ประมวลจริยธรรมของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรม “No Gift Policy” โดย ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ คณบดีและผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ภาคบ่าย ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากกรมบัญชีกลาง บรรยายพิเศษเรื่อง “หลักและวิธีการบริหารสัญญาของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ” โดย ว่าที่ร้อยเอก ภวัต ปั้นบำรุงกิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ สำนักงานคลังจังหวัดสระบุรี กรมบัญชีกลาง

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ผู้อำนวยวิทยาลัยพระธรรมทูต มจร ร่วมเวทีสมัชชาสุขภาพธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ชี้การขับเคลื่อนมุ่งสู่เป้าหมาย “พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข”

 315 รวมเข้าชม

 315 รวมเข้าชม ]วันที่ 19 เมษายน 2565 ที่โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร คณะสงฆ์ มจร มมร ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และหน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดเวทีสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการทบทวนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.2560 โดยมีพระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 ประธานคณะทำงานวิชาการทบทวนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิด และผู้เข้าร่วมเวทีประกอบด้วยพระสงฆ์และผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเข้าร่วมทั้งแบบ on-site และ online  มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1)เพื่อสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ (2) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ต่อการขับเคลื่อนฯ หลังจากที่มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งคณะสงฆ์และภาคีเครือข่ายทั้งระดับนโยบายและระดับพื้นที่ 5 เวที โดยเวทีเจ้าคณะภาคหรือผู้แทน จัดที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566  ที่ผ่านมา พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต มจร คณะทำงานวิชาการทบทวนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ กล่าวว่า  กระบวนการทบทวนและ (ร่าง) ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ. …. มีที่มาจากที่ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ […] วิทยาลัยพระธรรมทูต : Dhammaduta College

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

การรับบริจาคเครื่องกราดตรวจ (scanner)

 334 รวมเข้าชม

 334 รวมเข้าชม ] รวมเข้าชม 5 , เข้าชมวันนี้ 5  วันอังคารที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๙ น. พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (จรูญฐานธมฺโม), ดร. เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลาง ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีจิตศรัทธาบริจาคเครื่องกราดตรวจ (scanner) มูลค่า ๑๕๐,๐๐๐ (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาท) แก่ส่วนหอสมุดกลาง สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในการนี้ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมวชิราธิบดี (พีร์ สุชาโต) นายกสภามหาวิทยาลัย มจร ได้เมตตามาเป็นประธานในพิธีการรับมอบ โดยการติดต่อประสานงานของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระศรีธรรมภาณี (วัลลพ โกวิโล), ดร. ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มจร  พร้อมกันนี้ พระมหาประยุทธ์ ภูริปญฺโญ ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง นายสุรวงศ์ ศรคำรณ รองผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง และนางสาวสกุลเพ็ญ น้อยใหญ่ บรรณารักษ์ชำนาญการ ได้เป็นผู้แทนบุคลากร ส่วนหอสมุดกลาง น้อมถวายมุทิตาสักการะแด่พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (จรูญ ฐานธมฺโม), ดร. เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลาง เนื่องในโอกาสทำบุญวันอายุวัฒนมงคลด้วย ในนามของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขออนุโมทนาทานมัย บุญกิริยาวัตถุของเจ้าภาพผู้เป็นทานบดี  ขอให้เจ้าภาพ จงเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย คืออายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลนาน เทอญ.   ส่วนหอสมุดกลาง สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชิวทยาลัย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

การประชุมเตรียมการประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องพระเครื่องและเครื่องรางของขลังในประเทศไทย

 355 รวมเข้าชม

 355 รวมเข้าชม ] 1st Official Preparatory Meeting : ASEAN Studies Centre and The University of Arizona พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร. ผู้อำนวยการศูน์อาเซียนศึกษาต้อนรับอาจารย์ Thomas Richard Bruce อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ John Johnston, PhD, senior fellow of The university of Arizona เพื่อหารือและเตรียมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติร่วมกัน การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมเตรียมการประชุมวิชาการนานาชาติเรื่องพระเครื่องและเครื่องรางของขลังในประเทศไทย ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ในวันที่ 10-11 มิถุนายน 2566 นี้ ในการนี้ อาจารย์ John Johnston, the University of Arizona ได้หารือการทำความร่วมมือ (MOU) ระหว่างศูนย์อาเซียนศึกษาและเครือข่ายเอเชียศึกษาของมหาวิทยาลัย The University of Arizona โดยพระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร.,มอบหมายให้ พระปลัดอภิเชษฐ์ สุภทฺรวาที เป็นผู้ประสานงานและรายงานต่อสภามหาวิทยาลัยต่อไป Connect with us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ___ Website: http://asc.mcu.ac.th Facebook : Mcu Asean Twitter : ascmcu IG: ascmcu ASEAN Studies Centre

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

โครงการปริวรรตคัมภีร์โบราณลุ่มน้ำโขง ปีที่ 2

 284 รวมเข้าชม

 284 รวมเข้าชม ] โครงการปริวรรตคัมภีร์โบราณลุ่มน้ำโขง ปีที่ 2 การปริวรรตและรวบรวมคัมภีร์โบราณในภูมิภาคอาเซียน เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยดำเนินการมาและตั้งเป้าหมายให้เป็นโครงการต่อเนื่องซึ่งมีวัตถุประสงค์คือจัดทำฐานข้อมูลเอกสารทางพุทธศาสนาที่กำลังเผชิญภาวะวิกฤตสูญหาย ให้คงอยู่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียน ก่อนหน้านี้ ทีมปริวรรตคัมภีร์ได้ปริวรรตกัมมัฏฐาน 40 ห้องซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจะสามารถจัดส่งหนังสือแก่ผู้ลงทะเบียนสั่งจองได้หลังวันที่ 17 เมษายน เป็นต้นไป ในการนี้ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง คณะกรรมการจึงดำเนินการปริวรรตคัมภีร์กัมมัฏฐานหลวง ฉบับอักษรไทลื้อ ของเมืองหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งนี้ คณะกรรมการได้ร่วมหารือกับองค์กรและสถาบันการศึกษาที่มีพันธกิจร่วมกันเพื่อขยายเครือข่ายและสร้างความเเข็งแกร่งทางวิชาการและผลักดันให้ศูนย์อาเซียนศึกษาเป็น Hub ของเอกสารโบราณทางพุทธศาสนาของภูมิภาคโดยจัดทำฐานข้อมูลเอกสารโบราณ Digital Manuscript สำหรับการจัดทำ Digital Archive ยังอยู่ระหว่างการหารือเพื่อวางแนวทางดำเนินการให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์และแผนดำเนินงาน ด้านพระมนตรี ปภสฺสโร ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเทพนิมิตร ,ผู้ก่อตั้งโครงการศึกษากัมมัฎฐานอีสาน-ล้านนา,ผู้ก่อตั้งโครงการปริวรรตคัมภีร์โบราณลุ่มน้ำโขงและในฐานะผู้ปริวรรตคัมภีร์กัมมัฏฐานหลวง กล่าวว่า คัมภีร์เล่มนี้เขี้ยนขึ้นในปีจุลศักราช 1189 หรือพุทธศักราช 2370 ซึ่งในยุคนั้นเวียงจันทน์ค่อนข้างอ่อนแอเพราะเป็นช่วงที่นักวิชาการไทยเรียกกันว่า กบฏเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งนักวิชาการได้สันนิษฐานว่าเป็นเพราะหลวงพระบางและล้านนาเข้าพวกกับสยามเมื่อกลับไปดูการครองราชย์ของกษัตริย์ล้านนาก็จะตรงกับรัชสมัยของพระยาพุทธวงศ์ซึ่งเพิ่งครองราชย์ได้ 1 ปี ซึ่งในหลวงน้ำทาขณะนั้นไม่น่าจะเดือดร้อนเรื่องกบฏเจ้าอนุวงศ์ เช่นเดียวกับหลวงพระบางจึงได้มีการแต่งคัมภีร์เล่มนี้ขึ้น แต่รูปแบบนั้นก็มีลักษณะแนวปฏิบัติที่คล้ายคลึงกับทางล้านนา แต่ก็มีหลายส่วนที่แตกต่างกัน ในปีพุทธศักราช 1181 ในล้านนานั้นมีนิกายหลายนิกายเกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ มาก เช่น นิกายลื้อ นิกายเชียงใหม่ นิกายป่าแดง นิกายยอง และอีกหลายนิกาย ทำให้มีการสังคยานาคัมภีร์ต่าง ๆใหม่ รวมทั้งคัมภีร์กัมมัฏฐานนับประคำด้วย ทำให้คัมภีร์กัมมัฏฐานล้านนาจึงมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาก แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในกัมมัฏฐานหลวงเล่มนี้กลับมีกัมมัฏฐานส่วนที่เป็นวิปัสสนามากมาย เพิ่มเติมจากที่มีในกัมมัฏฐานนับประคำโดยทั่วไป เราจะได้เห็นการแต่งคำรำพึงภาวนาเป็นภาษาบาลีของผู้เขียน ซึ่งมีวิธีแปลที่พิเศษด้วย นอกจากความพยายามของผู้เขียนที่อยากให้คนอ่านเข้าใจความเป็นอนิจจังในคัมภีร์เล่มนี้ พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ,รศ.ดร. ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา แสดงความขอบคุณคณะกรรมการและทีมงานปริวรรตที่เสียสละทุ่มเทอย่างหนักในการทำงานมาโดยตลอด แม้ว่าการทำงานจะพบปัญหาและอุปสรรค ศูนย์อาเซียนศึกษาซาบซึ้งและขอชื่นชมทุกท่าน มา ณ ที่นี้ สำหรับคัมภีร์กัมมัฏฐานหลวงฉบับนี้ ทีมงานปริวรรตจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการปริวรรคคัมภีร์โบราณลุ่มน้ำโขงเพื่อพิจารณาและดำเนินการจัดพิมพ์ตามขั้นตอนต่อไป โดยกำหนดการตีพิมพ์นั้นอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคมปีนี้ Connect with us, Connect the world. #ASCNEXT 2023 moving to centre of the PEOPLE ___ Website:

อ่านต่อ »