ประกาศสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ อนุมัติจบรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ครั้งที่ 2/2565
262 รวมเข้าชม
262 รวมเข้าชม ประกาศสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ อนุมัติจบรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ครั้งที่ 2-2565 สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
262 รวมเข้าชม
262 รวมเข้าชม ประกาศสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ อนุมัติจบรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ครั้งที่ 2-2565 สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
274 รวมเข้าชม
274 รวมเข้าชม เรียน/แจ้งนักวิจัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่ท่านได้รับทุนวิจัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ทั้งในระดับส่วนงานและทุน สกสว จากสถาบันวิจัย บัดนี้ทางสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ จะได้มีการติดตามประเมินผล รายงานการวิจัยฉบับร่างสมบูรณ์ ในวันที่ 27-28 ตุลาคม 2565 ดังนั้น จึงขอให้ทุกท่าน ส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2565 เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้พิจารณาอนุมัติ และให้คำแก้ไขต่อไป อนึ่ง ในการส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ จะต้องส่งเอกสารประกอบการเบิกเงินงวดสุดท้าย ได้แก่ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 5 เล่ม คลิปวีดีทัศน์ รายงานวิจัย ความยาวไม่เกิน 5 นาที 1 ผลงาน บทความการวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่หรือรองรับในวารสารแล้ว ชุดความรู้ ที่สรุปจากผลงานวิจัยที่จัดอาร์ตสวยงามและพิมพ์หรือปริ้นส์สี จำนวน 10 เล่ม การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ที่เป็นรูปธรรม เช่น เอกสารจากผู้ใช้บริการ ภาพกิจกรรม อื่น ๆ เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย รวมทั้งส่งไฟล์ข้อมูล ให้กับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ รวมทั้งส่งไฟล์ข้อมูล ให้กับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ในระบบติดตามงานวิจัย | https://bri.mcu.ac.th/rms/ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
220 รวมเข้าชม
220 รวมเข้าชม สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ดำเนินการจัดทำสัญญาวิจัยประจำปี 2566 ให้กับนักวิจัยภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั่วประเทศ ที่ได้รับทุนวิจัยประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวนทั้งสิ้น 108 โครงการ ในระหว่างวันที่ 17 – 19 ตุลาคม 2565 โดยมี พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เป็นประธานดำเนินการ ณ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ อาคารห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
230 รวมเข้าชม
230 รวมเข้าชม องค์อธิการบดีชื่นชมผลงาน U2T มจร. วันที่ 17 ตุลาคม 65 เป็นตัวแทนของคณะทำงานโครงการ U2T จำนวน 84 ตำบลที่มหาจุฬาได้รับจาก สป.อว. โดยได้นำผลิตภัณฑ์ของชุมชนจากนครศรีธรรมราช นครสวรรค์ กำแพงเพชร และอื่นๆ นำมาถวายพระเดชพระคุณพระธรรมวัชรบัณฑิต องค์อธิการบดี พระเดชพระคุณได้สอบถามถึงช่องทางการตลาด การจัดทำโครงการในระยะต่อไป โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย หรือ U2T เกิดขึ้นจากนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่ต้องการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์โควิด พัฒนาสินค้าและนวัตกรรมของชุมชน ให้เกิดการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งคณาจารย์ของมหาจุฬา ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชน จนได้ผลิตภัณฑ์ที่น่าประทับใจ เป็นนวัตกรรมของชุมชนและมหาวิทยาลัย เช่น 1. ปลาซ่อนต้มโคล้ง ที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ 3 เดือน เหมาะสมกับนำไปเป็นของฝากชาวต่างชาติ 2. ชุดของเล่นปลาตะเพียน ให้เกิดจินตนาการและการสร้างสรรค์ ของเด็ก 3. กระเป๋าย่านลิเภา จากนครศรีธรรมราช ที่มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ (คนญี่ปุ่นชอบมาก) และสิ้นค้าอื่น ๆ อีกมากมาย สอบถามได้ที่สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ครับ มจร. คิดสร้างสรรค์พุทธนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
205 รวมเข้าชม
205 รวมเข้าชม ตามที่มหาวิทยาลัยได้ประกาศให้ทุนอุดหนุนการวิจัยประจำปี 2566 ในเบื้องต้น บัดนี้ องค์อธิการบดีได้ลงนามในประกาศให้ทุนอุดหนุนการวิจัยแล้ว ทางสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ จึงกำหนดทำสัญญาวิจัยประจำปี 2566 จำนวน 3 วัน ดังนี้ วันที่ 17 ตุลาคม 65 มจร ส่วนกลางและภาคตะวันออก-ตะวันตก วันที่ 18 ตุลาคม 65 มจร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 19 ตุลาคม 65 มจร ในเขตภาคเหนือและภาคใต้ จึงเรียน/แจ้งมาเพื่อเข้าทำสัญญาตามวันและเวลาดังกล่าว ณ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร วังน้อย ส่วนกลาง * นักวิจัยควรเตรียมแล็ปท็อป ปริ้นเตอร์และปลั๊กไฟมาด้วย (เบื้องต้นสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์มีรางปลั๊กไฟบริการ) ประกาศทุนวิจัย งบประมาณ สกสว ปี 2566 หมายเหตุ : ให้นักวิจัยที่มีรายชื่อได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยดังกล่าว ดำเนินการปรับงบประมาณตามที่ได้รับจัดสรร และนำไปปรับปรุงข้อเสนอโครงการวิจัยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ งบประมาณ และตัวชี้วัดการวิจัยที่กำหนด ให้ส่งร่างโครงการวิจัยจำนวน 3 ฉบับ และไฟล์ข้อมูลให้กับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ รวมทั้งเตรียมการป้อนข้อมูลลงในระบบตามที่สำนักงานกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์และวิจัย (สกสว.) กำหนด ให้สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ กำหนดวัน เวลา และสถานที่เพื่อทำสัญญาให้ทุนอุดหนุนการวิจัยภายในเดือนตุลาคม 2565 หลังจากที่ได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว เอกสารแนบท้ายประกาศ หัวหน้านักวิจัยและนักวิจัยประจำแผนงานการวิจัย/โครงการวิจัยจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้ เอกสารส่วนบุคคลและธนาคาร 1.1 บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวพนักงานของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 1.2 เอกสารแสดงตนเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เช่น เอกสารแต่งตั้งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร 1.3 บัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อตามรหัสโครงการ โดยเพิ่ม MCU เข้าไป เช่น MCU4367862 โดยมีการลงนามพร้อมกัน 3 คน ซึ่งนักวิจัยสามารถใช้หนังสือนำจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ไปเปิดธนาคารได้ เอกสารประกอบแผนงานและโครงการวิจัย 2.1 โครงการแผนงานวิจัย/โครงการวิจัย จำนวน ๓ ชุด พร้อมไฟล์ข้อมูล ๑ ชุด 2.2 แผนปฏิบัติการวิจัย 2.3 แผนการใช้จ่ายงบประมาณการวิจัย
185 รวมเข้าชม
185 รวมเข้าชม สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
211 รวมเข้าชม
211 รวมเข้าชม ให้ผู้ที่มีรายชื่อเข้ารับการอบรมดังกล่าว รายงานตัวเพื่อยืนยันการเข้าอบรมภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 และเข้าร่วมรับการอบรมระหว่าง วันที่ 3-5 ตุลาคม 2565 ณ วัดสุทธิวราราม ถนนเจริญกรุง เขตสาทร กรุงเทพมหานคร และ Knowledge Exchange Center มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี | คลิกที่ลิงก์เพื่อยืนยันการเข้ารับการอบรม -> https://forms.gle/jNwHURaxsBCAqcag6 รายชื่อผู้สมัครเข้าอบรม Knowledge Exchange for Innovation สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
233 รวมเข้าชม
233 รวมเข้าชม แจ้งการตรวจวิจารณ์ข้อโครงการวิจัยปี 2567 ของส่วนงาน ดังนี้ ภาคเหนือ วันที่ 13 กันยายน 65 เวลา 18.30 เป็นต้นไป ภาคตะวันออก-ตก 14 กันยายน เวลา 18.30 เป็นต้นไป ภาคกลาง คณะ และภาคใต้ วันที่ 19 กันยายน เวลา 09.00 เป็นต้นไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 20 เวลา 09.00 เป็นต้นไป ผ่านระบบออนไลน์ Zoom ID: 382 995 1669 -> https://zoom.us/j/3829951669 เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ครั้งสุดท้ายก่อนส่งเข้าระบบ NRIIS ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 นักวิจัยที่ส่งโครงการวิจัยรับฟังข้อเสนอแนะได้ พระสุธีรัตนบัณฑิต สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
185 รวมเข้าชม
185 รวมเข้าชม เรียน/แจ้งนักวิจัยปี 65 ตามที่ท่านได้รับทุนวิจัยปี 65 ทั้งในระดับส่วนงานและทุน สกสว จากสถาบันวิจัย บัดนี้ทางสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ จะได้มีการติดตามประเมินผล รายงานการวิจัยฉบับร่างสมบูรณ์ ในวันที่ 13-14 กันยายน 65 ดังนั้น จึงขอให้ทุกท่าน ส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ภายในวันที่ 9 กันยายน 65 เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้พิจารณาอนุมัติ และให้คำแก้ไข สืบต่อไป อนึ่ง ในการส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ จะต้องส่งเอกสารประกอบการเบิกเงินงวดสุดท้าย ได้แก่ 1. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ 5 เล่ม 2. คลิปวีดีทัศน์ รางงานวิจัย ความยาวไม่เกิน 5 นาที 1 ผลงาน 3. บทความการวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่หรือรองรับในวารสารแล้ว 4. ชุดความรู้ ที่สรุปจากผลงานวิจัยที่จัดอาร์ตสวยงามและพิมพ์หรือปริ้นส์สี จำนวน 10 เล่ม (อย่าทำแบบเอารอดไปที เคยมีนักวิจัยได้ทุนมาก แต่ไม่จัดการพิมพ์ให้ ทำให้ผลงานไม่ดีงาม) 5. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ที่เป็นรูปธรรม เช่น เอกสารจากผู้ใช้บริการ ภาพกิจกรรม อื่น ๆ 6. อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย รวมทั้งส่งไฟล์ข้อมูล ให้สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ทุนปี 65 จะต้องปิดเล่ม ภายในเดือนพฤศจิกายน 65 เพื่อให้สถาบันวิจัยสรุปและปิดภายในเดือนธันวาคม 65 สำหรับท่านที่ขอขยายเวลา ส่วนท่านที่ไม่ขอขยายเวลาในระบบ ท่านจะต้องปิดโครงการวิจัยภายในเดือนกันยายน นี้ มิฉะนั้น ท่านจะถูกปรับ และต้องคืนเงินในเดือนตุลาคม 65 สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์
405 รวมเข้าชม
405 รวมเข้าชม การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๑ และระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๑๒ เรื่อง “การส่งเสริม คุ้มครองและการอนุรักษ์วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาในโลกไร้พรมแดน”The 1national and the 12 internationl conference year 2022 promption, protection and presesrvation of buddhist culture in Global perspective จัดโดย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์,วิทยาลัยเชียงราย,วิทยาเขตพะเยา,และวิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรนราชวิทยาลัย ร่วมกับ พุทธสมาคมจีน นครฉงซิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน 27 สิงหาคม 2565 พิธีเปิด : Opening ceremony : Time 08.30 – 11.00 and Time 15.45 – 16.00 | https://zoom.us/j/6339227142 ห้องนำเสนอบทความภาษาไทย : Thai language presentation room : Time 13.00 – 15.30 | https://zoom.us/j/3829951669 ห้องนำเสนอบทความภาษาอังกฤษ : English language presentation room : Time 13.00 – 15.30 | https://zoom.us/j/9875995789 ห้องเสวนาโต๊ะกลมภาษาจีน : Chinese round table discussion room : Time 13.00 – 15.30 | https://zoom.us/j/3135643405 ห้องสนทนากลุ่มภาษาอังกฤษ : English group chat room
195 รวมเข้าชม
195 รวมเข้าชม BCG : การขับเคลื่อนและการพัฒนานวัตกรรมสังคมวิถีใหม่ ? การให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาและการ สร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมโดยผ่านมุมมอง “BCG Model” เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อน BCG Model กับการพัฒนาสังคมไทยไปสู่ความก้าวหน้าเช่นเดียวกับประเทศที่มีรายได้สูง ซึ่งเป็นการมองผ่าน กระบวนการพัฒนาในระดับโลกและของประเทศไทย โดยบทความมีเนื้อหาครอบคลุม ดังนี้ 1) การเปลี่ยนผ่านโลก 3 ยุค/คลื่น (ความท้าทายของการพัฒนาของยุคสมัย 2) การพัฒนาในยุค Modernization และเข้าสู่ทศวรรษแห่งการพัฒนาของ UN 3)การพัฒนานวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของประเทศต้นแบบในเอเชีย (ญี่ปุ่น เกาหลี จีน) 4) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 5) BCG Model : นวัตกรรมการพัฒนา ? โดย BCG จะตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของ สหประชาชาติอย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งยังสอดรับปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรม (วทน.) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์