ASC ร่วมงานเสวนาวิชาการ “รัฐ ศาสนา และการเมือง” หัวข้อ “ครูบาศรีวิชัยกับการเมืองสมัยใหม่ในล้านนา”
306 รวมเข้าชม
306 รวมเข้าชม ] เสวนาวิชาการ “รัฐ ศาสนา และการเมือง” หัวข้อ “ครูบาศรีวิชัยกับการเมืองสมัยใหม่ในล้านนา” Just in: วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2565 บุคลากรศูนย์อาเซียนศึกษา เข้าร่วมโครงการเสวนาวิชาการ “รัฐ ศาสนา และการเมือง” หัวข้อ “ครูบาศรีวิชัยกับการเมืองสมัยใหม่ในล้านนา” โดย Professor Katherine Bowie (Department of Anthropology, University of Wisconsin-Madision) ดำเนินรายการโดย ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้อเสนอของอาจารย์ Katherine Bowie เสนอประเด็นเรื่องครูบาศรีวิชัยที่แตกต่างออกไปจากมุมองและความเข้าใจโดยทั่วไปที่มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะการไม่เข้าใจกฏหมายบ้านเมือง หรือครูบาไม่รู้หนังสือเป็นข้อเสนอที่ค่อนข้างไม่มีน้ำหนัก อาจารย์ Katherine อธิบายว่าปรากฏการณ์ของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นจากบริบทสังคมไทยและสังคมโลกที่ผกผันอย่างหนัก ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจของรัฐที่มีต่อคนล้านนา ดังนั้น กรณีครูบาศรีวิชัยจึงเป็นผลสะท้อนบทบาทของรัฐ ศาสนาและการเมืองในห้วงเวลานั้น ข้อถกเถียงที่มีนัยยะสำคัญคือ เหตุใดคณะราษฎรถึงกังวลต่อครูบาศรีวิชัย ประเด็นนี้ Katherine Bowie ได้เสนอว่านี่เองคือปัญหาที่แท้จริง การสร้างชาติและความเป็นไทยที่ฝ่ายรัฐซึ่งเป็นผู้มีอำนาจไม่ต้องการให้เกิดความเป็นอื่นเกิดขึ้น ฝ่ายรัฐบาลจึงต้องการดำเนินการเรืองนี้โดยผ่านนโยบายการศึกษาแห่งชาติ จุดที่สำคัญที่สุดคือการลงนามยอมรับของครูบาศรีวิชัยหลังการถูกสอบสวนและกักขังที่วัดเบญจมบพิตรนั่นเองคือจุดตัดทางประวัติศาสตร์ไทยที่ Katherine Bowie เสนอว่า ชาติไทย (Thai Nation) ได้เกิดชึ้นอย่างสมบูรณ์ จากการวิจัยภาพรวมของครูบาศรีวิชัยต่อคนล้านนานั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การถูกเชิดชูในฐานะคนล้านนา สัญญะการต่อสู้ ภาพแทนของคณะสงฆ์ชายขอบ และในปัจจุบันอาจารย์ได้ตั้งคำถามต่อทัศนะและความเข้าใจที่ผู้คนมีต่อครูบาศรีวิชัยซึ่งถูกวางไว้ในฐานะเกจิที่บันดาลความร่ำรวย เป็นผู้ใหโชคลาภจะเป็นการด้อยค่าหรือเป็นสาเหตุให้ประวัติศาสตร์ สังคม และล้านนาถูกกดทับและถูกลบลืมไปหรือไม่ ข่าว :ศูนย์อาเซียนศึกษา มจร ASEAN Studies Centre