Skip to content

Category: ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง

ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

โครงการอบรมด้านกฎหมาย สำหรับผู้บริหารระดับสูง

 108 รวมเข้าชม

 108 รวมเข้าชม ]วันพฤหัสบดี ที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ นำผู้บริหารวิทยาลัยพระธรรมทูต และกองวิเทศสัมพันธ์ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุญมี พรรษา พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต และ พระมหาโกศล ธีรปญโญ ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ เข้าร่วมโครงการอบรมด้านกฎหมายสำหรับผู้บริหารระดับสูง ณ ห้องประชุม ๑๐๒ พระมงคลสิทธาจารย์ (รวย ปาสาทิโก) ชั้น ๑ อาคารพระราชรัตนโมลี มจร พระนครศรีอยุธยา ขออนุโมทนาขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป กองนิติการ และกองกิจการพิเศษ มจร ที่จัดโครงการอบรมด้านกฎหมาย สำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้ ซึ่งนับว่ามีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานมหาวิทยาลัยของเราอย่างยิ่งฯ วิทยาลัยพระธรรมทูต : Dhammaduta College

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ความเมตตาของพระเดชพระคุณพระเมธีสุตาภรณ์

 114 รวมเข้าชม

 114 รวมเข้าชม ]วันพุธที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๓๐ น. พระเดชพระคุณพระเมธีสุตาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอปากช่อง เจ้าอาวาสวัดคีรีวันต์ จังหวัดนครราชสีมา เมตตารับอาราธนามาเป็นบุญเขตและบรรยายพิเศษเรื่อง “ ๗ สุ คุณสมบัติสำคัญของพระธรรมทูต” แก่พระสงฆ์ผู้เข้ารับการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๒๙ ณ บริเวณลานธรรม ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม จังหวัดนครราชสีมา การนี้ มี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ และพระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่วิทยาลัยพระธรรมทูตและกองวิเทศสัมพันธ์ถวายการปฏิสันถาร ขอกราบขอบพระคุณพระเดชพระคุณพระเมธีสุตาภรณ์ ด้วยความเคารพมา ณ โอกาสนี้ ฯ ข่าว : วิทยาลัยพระธรรมทูต รายงาน :  นายลิขิต บุญละคร ภาพ : นายลิขิต บุญละคร วิทยาลัยพระธรรมทูต : Dhammaduta College

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

“หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มจร ร่วมเป็นเจ้าภาพ ปลูกต้นไทรชมพู่ออสเตรเลีย จำนวน ๑๐๐ ต้น”

 142 รวมเข้าชม

 142 รวมเข้าชม ] วันพุธที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. พระเดชพระคุณ พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มจร และนำปลูกต้นไทร ชมพู่ออสเตเลีย โดยมี พระครูโอภาสนนทกิตต์, ผศ.ดร. รก.คณบดีคณะครุศาสตร์, รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ รองคณบดีคณะครุศาสตร์ , ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการทรัพย์สิน , ผศ.ดร.บุญมี พรรษา รก.หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรและการสอน , ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ นำผู้บริหารคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ร่วมเป็นเจ้าภาพปลูกต้นไทรชมพู่ออสเตเลีย บริเวณสวนป่าธรรมวิจัย ตามนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (MCU Green University) จำนวน ๑๐๐ ต้น เพื่อพัฒนาสถานที่ปฏิบัติธรรมของนิสิตและประชาชนทั่วไปภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดเตรียมโดย กองอาคารสถานที่และยานพหานะ                                      กองอาคารสถานที่และยานพาหนะ

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ นำลูกศิษย์พระธรรมทูต บำเพ็ญบุญกิริยาบูรณะกุฏิกรรมฐาน

 167 รวมเข้าชม

 167 รวมเข้าชม ]วันอังคารที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ นำผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ วิทยาลัยพระธรรมทูต และกองวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วยลูกศิษย์ผู้เข้ารับการฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๒๙ บำเพ็ญบุญกิริยาบูรณะกุฏิกรรมฐาน จำนวน ๑๓ หลัง ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ฯ ข่าว : วิทยาลัยพระธรรมทูต รายงาน :  นายลิขิต บุญละคร ภาพ : นายลิขิต บุญละคร วิทยาลัยพระธรรมทูต : Dhammaduta College

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ประชุมคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (งานแม่บ้าน) ครั้งที่ ๕ / ๒๕๖๖

 87 รวมเข้าชม

 87 รวมเข้าชม ]   ในวันศุกร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ พระมหาชำนาญ มหาชาโน, ดร. ประธานกรรมการตรวจรับพัสดุ งานจ้างเหมาบริการรักษาความสะอาดอาคารฯ (แม่บ้าน) แจ้งคำสั่งและนัดประชุมคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ งวดที่ ๕ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุม กองอาคารสถานที่และยานพาหนะ อาคารสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น G มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กองอาคารสถานที่และยานพาหนะ

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ขอเชิญอบรมหลักสูตร การพัฒนาเว็บไซต์ตามมาตราฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)

 114 รวมเข้าชม

 114 รวมเข้าชม ] ลิงค์ลงทะเบียน https://forms.gle/PrNWFZaHzbo1KBjs8 The post ขอเชิญอบรมหลักสูตร การพัฒนาเว็บไซต์ตามมาตราฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard) first appeared on ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

บัณฑิตวิทยาลัย กำหนดจัดสัมมนาทางวิชาการเชิงปฏิบัติการ PLOs

 202 รวมเข้าชม

 202 รวมเข้าชม ] บัณฑิตวิทยาลัย กำหนดจัดสัมมนาทางวิชาการเชิงปฏิบัติการ PLOs บัณฑิตวิทยาลัย

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

คณะสังคมศาสตร์ส่งเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษแก่นิสิต เตรียมความพร้อมการประเมินแบบทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ

 138 รวมเข้าชม

 138 รวมเข้าชม ] วันจันทร์ที่ ๒๐ เดือน​มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖​ เวลา ๐๙.๓๐ น. พระ​อุดม​สิทธิ​นายก, รศ.ดร.​ คณบดี​คณะ​สังคม​ศาสตร์​ เป็น​ประธาน​เปิดโครงการ​ส่งเสริม​ทักษะ​ด้านภาษาอังกฤษ​แก่​นิสิต​ และ​โครงการ​ปัจฉิม​นิเทศ​ คณะสังคม​ศาสตร์​ มหา​วิทยาลัย​มหา​จุฬา​ลง​ก​รณ​ราช​วิทยาลัย​ ซึ่งจัด​ขึ้น​ใน​ระหว่าง​วันที่​ ๒๐ -​ ๒๕ เดือน​มีนาคม​ พ.ศ.๒๕​๖​๖​ โดยมี​ พระปลัด​ระพิน​ พุท​ฺ​ธิ​สาโร, ผศ.ดร.​ รองคณบดี​คณะ​สังคม​ศาสตร์​ ฝ่าย​วิชาการ​ กล่าว​ถวายรายงาน​ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ได้ฝึกฝนทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง และเพื่อนำผลการประเมินโครงการไปบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนานิสิตและการบริการวิชาการแก่สังคม ภายในโครงการ​ มีการอบรม​ทักษะ​ภาษาอังกฤษ​ด้านการฟัง การพูด การอ่าน​ และการเขียน​ วิทยากรโดย​ รศ.ดร.ธัชชนันท์​ อิศร​เดช​ ผู้ช่วย​อธิการบดี​ฝ่าย​กิจการ​ทั่วไป​ และ​ รศ.ดร.ภัทร​พล​ ใจเย็น​ รองคณบดี​คณะ​สังคม​ศาสตร์​ ฝ่าย​บริหาร​ ซึ่งจะมีการประเมินแบบทดสอบทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง การพูด การอ่าน​ และการเขียน ในวันศุกร์ที่ ๒๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ทั้งนี้​ มี​ผู้บริหาร​ คณาจารย์​ เจ้า​หน้าที่​ นิสิต​คณะ​สังคม​ศาสตร์​ ชั้นปี​ที่​ ๔​ ทุก​หลักสูตร​ และนิสิตหลักสูตร​พุทธ​ศาส​ตร​บัณฑิต​ สาขา​วิชาการ​จัดการ​เชิง​พุทธ​ ชั้นปี​ที่​ ๓​ อาทิ ผศ.ดร.รัฐพล เย็นใจมา หัวหน้าภาควิชารัฐศาสตร์ เข้าร่วม​โครงการ​โดย​พร้อม​เพรียง​กัน​ ผ่าน​ระบบ​ห้องประชุม​ออนไลน์​โดย​ใช้​โปรแกรม​ Zoom​ Meeting​ Video​ Conferencing​   ภาพ/ข่าว : เรวดี จรรยา     . คณะสังคมศาสตร์

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

“บรรยายเชิงปฏิบัติการในการจัดทำเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างก่อสร้าง”

 106 รวมเข้าชม

 106 รวมเข้าชม ] ในวันที่ 10 มีนาคม 2566 เวลา 13.00  นายประเสริฐ คำนวล รองผู้อำนวยการกองคลังและทรัพย์สิน บรรยายเชิงปฏิบัติการในการจัดทำเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างก่อสร้าง “กรณีการคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรน่า 2019 ให้กับผู้บริหาร บุคลากรที่ทำงานด้านพัสดุของวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ กองคลังและทรัพย์สิน

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ร่องรอยและอิทธิพุทธศาสนาสายธรรมตันตริกเถรวาทในอาเซียนราวพุทธศตวรรษที่ 18 (สุโขทัย) จนถึงปัจจุบัน: อิทธิพลและคุณูปการ

 140 รวมเข้าชม

 140 รวมเข้าชม ] หากพูดถึงตันตริกเถรวาทกับคนไทยคงจะต้องถูกถามว่าคืออะไร เพราะดูเหมือนเป็นคำที่ผลิตขึ้นใหม่ หากแต่ความจริงคำนี้ใกล้เคียงกับคำที่พระถั๋งซำจัง (เสวี้ยนจาง) เคยใช้เมื่อบันทึกถึงสภาพการณ์ พฤติกรรม การปฏิบัติของพระสงฆ์ พุทธศาสนาสมัยพระเจ้าหรรษวัฒนะ ช่วงท่านเดินทางไปยังอินเดี ว่า มหายาน-สถวีระ และ หีนยาน-สถวีระ ซึ่งหมายถึงพระสงฆ์ที่แม้จะอยู่อารามเดียวกันแต่ก็มุ่งเน้นปฏิบัติและเป้าหมายต่างกัน พร้อมกล่าวถึงพระสงฆ์ที่มหาวิหารและอภัยคีรีวิหารที่ศรีลังกา คำดังกล่าวยังปรากฎจารึกที่ลพบุรีสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ที่เกี่ยวถึงพระสงฆ์นักบวช โดยเฉพาะอรัณยกะ อิทธิพลจากอภัยคีรีวิหารกับมหาวิหารที่อยู่กันรอบเมือง มีอาวาส/อาราม เรียกว่า ตโปวนาวาสหรือตโปวนาราม ในจารึกกล่าวถึง พระมหายาน-สถวีระ แต่หมายถึงพระสงฆ์ที่สังกัดทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท ทำให้เกิดการผสมตันตรยานหรือวัชรยานกับเถรวาท เกิดเป็น ตันตริกเถรวาท หรือ วัชรเถรวาท คำนี้บ่งบอกถึงอิทธิพลตันตรยานที่มีต่อพระสงฆ์เถรวาทอุษาคเนย์ที่ยังคงปฏิบัติแนวปกปิด เป็นคุยหยาน มีคัมภีร์ปฏิบัติธรรมเป็นของตนเอง คือโบราณกัมมัฏฐาน เป็นคำที่ใช้อ้างถึงแนวทางปฏิบัติที่ลึกลับในพุทธศาสนาเถรวาทอุษาคเนย์เป็นการเฉพาะ นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับเวทมนต์ คาถา พิธีกรรม บางครั้งเรียกว่า โยคาวจร เป็นพระพุทธศาสนาสายกระแสนิยมหลักก่อนเข้าสู่ยุคใหม่ ในลาว กัมพูชา ไทย พม่า ทางใต้เวียดนาม ผืนแผ่นดินใหญ่อาเซียน พุทธศาสนานิกายหรือกระแสธรรมที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดตันตริกเถรวาท คือ สำนักนิกายอภัยคีรีวิหารในลังกาสำนักนี้ได้เคยเปิดรับมหายาน ตันตรยานหรือวัชรยานและมีอิทธิพลต่ออุษาคเนย์พร้อมการเผยแพร่ไปที่ชวา ทวารวดี ศรีเทพ ศรีจนาศะ ภาคอีสาณีตอนเหนือแถบแม่น้ำโขงและเขมรก่อนและสมัยพระนคร นอกจากนี้ยังมีพุทธศาสนานิกายอารี แม้ในพม่ารับอิทธิพลพุทธศาสนาเถรวาทจากมอญ ซึ่งมอญรับจากอินเดียใต้ ขณะพม่าที่รับอิทธิพลตันตรยานจากอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมทางใต้ของจีน รวมทั้งการบูชาศาสนาพื้นถิ่น การบูชานัตและบูชานาค อีกปัจจัยที่ก่อเกิดตันตริกเถรวาทในอุษาคเนย์เกิดจากฮินดู มหายานตันตรยานสมัยเขมรโบราณยุคพระนครด้วย จะเห็นได้ว่า ในล้านนา อิทธิพลตันตริกเถรวาทเข้มข้น เช่น หลาบเงิน (แผ่นจารึกทำด้วยเงิน) มีอักษรจารึกธรรมมณีมนต์ (ธารณีมนต์) ที่อำเภอเชียงแสน จ. เชียงราย มันต์ดังกล่าวน่าจะเป็นของมหายานมันตรยาน มีบันทึกว่า ในสมัยพญากือนากษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย มีเถระนามว่า จันทเถระได้ขึ้นไปประกอบพิธีสาธยายมนต์ชื่อ มหาโยคีมันรปะราทะ บนดอยสุเทพเพื่อเพิ่มพูนปัญญาของตน และยังพบตุงกระด้างอยู่ทั่วไปในล้านนา อิงความเชื่อเรื่องไสยต่างๆ เช่น การสะเดาะเคราะห์ การไล่ผีสิงตัวผู้ป่วย (สูตรก๋วม/สวดครอบ และการสืบชะตาเมือง เมื่อบ้านเมืองเกิดภัยพิบัติหรือข้าวยากหมากแพงเป็นต้น ยุคเบ่งบาน จารึกตันตริกเถรวาทย้อนไปถึงสุโขทัย คศ.ต.ที่ 16 จึงสามารถกล่าวได้ว่ามีเป็นการปฏิบัติที่เก่ากว่ารูปแบบการปฏิบัติกรรมฐานในโลกพุทธศาสนาเถรวาทปัจจุบัน คัมภีร์สำคัญ

อ่านต่อ »
ข่าวกิจกรรมส่วนกลาง
Avatar

ฮดสรง จารีตที่ถูกห้ามเมื่อคณะสงฆ์ส่วนกลางพยายามเปลี่ยนอีสานให้เป็นไทย

 273 รวมเข้าชม

 273 รวมเข้าชม ] ฮดสรง จารีตที่ถูกห้ามเมื่อคณะสงฆ์ส่วนกลางพยายามเปลี่ยนอีสานให้เป็นไทย ฮดสรง มองอย่างทั่ว ๆ ไป พิธีกรรมหลักก็คือ “น้ำ” เป็นหัวใจสำคัญของการประกอบพิธีกรรม น้ำกับคนอาคเนย์สัมพันธ์กันอย่างมิอาจแยกขาด ตำนานอาหารการกินของคนลุ่มน้ำโขงก็คือน้ำ เช่น ตำนานยักษ์สะลึคึที่มีอวัยวะเพศอันมหึมาเป็นเอกลักษณ์ก่อการเป็นผู้คนของลุ่มน้ำสายนี้ ในด้านการเมืองน้ำยังเข้าไปเป็นส่วนทำให้สถานะของมนุษย์เปลี่ยนไปสู่ภาวะตัวแทนเทพ เช่น พิธีราชาภิเษก รวมทั้งประเพณีอื่น ๆ ที่เนื่องด้วยน้ำ ลอยกระทง สงกรานต์ เป็นต้น พิธีกรรมฮดสรงนั้น แม้ไม่สามารถระบุว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตอนไหน แต่เรามีต้นเค้าและหลักฐานที่อธิบายได้ถึงพลวัตประเพณีอดสรงว่าอยู่กับวัฒนธรรมลาว อีสาน มานานนับร้อยปี และยังเป็นจารีตร่วมเดียวกันกับที่ปรากฏในล้านาและเชียงตุงด้วย อิทธิพลที่ส่งผลต่อประเพณีฮดสรงหากมองตามรูปแบบพิธีกรรมจะพบถึงผสมทั้งพุทธ พราหมณ์และผี หลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงตันตริกและร่องรอยวัชรยานในอุษาคเนย์ในพิธีกรรมนี้คือ “หมวกกาบ” อันเป็นสิ่งหลงเหลืออยู่ของแนวปฏิบัติดังกล่าวคือความเชื่อเรื่อง “อาทิพระพุทธเจ้า” แต่ตรงนี้รายละเอียดของพิธีกรรมจะแปลกแยกไปตามท้องถิ่น ซึ่งหากมองผ่านประวัติศาสตร์สิ่งนี้ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมปาละ และก็ยังปรากฏร่องรอยนี้ในเชียงใหม่ด้วยที่พบพระพุทธรูปใส่มงกุฏลักษณะหมวกกาบ เมื่อการฮดสรงประกอบขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของรัฐจารีตในอดีต เช่น ล้านนา ล้านช้าง หมายความว่า การประกอบพิธีกรรมเกิดขึ้นจากรัฐเป็นส่วนหนึ่งและประชาชนร่วมด้วย ดังจะพบว่าลำดับขึ้นของพระสงฆ์ที่มีชื่อเรียกและหน้าที่ต่างกันไปตามคุณสมบัติด้วย บางตำแหน่งระบุหน้าที่ไว้เป็นเฉพาะว่าเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ ในอีกด้านหนึ่งอาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ให้ความเห็นว่าในตัวพิธีกรรมสำคัญมากเพราะชาวเป็นคนทำเองไม่ใช่รัฐ กล่าวคือชาวบ้านเป็นคนยกย่องพระสงฆ์รูปนั้น ๆ ที่พวกเขาเคารพขึ้นสู่พิธีเถราภิเษก เหตุใดฮดสรงจึงถูกห้ามในอีสาน ? แน่นอนว่าเพราะเป็นสิ่งรัฐไม่ต้องการ ถ้าเราย้อนเวลากลับไปช่วงการเปลี่ยนดินแดนอีสาน ล้านนาให้เป็นไทย จะพบว่าอิทธิพลของสยามพยายามลดและตัดสิ่งที่ไม่ใช่ไทยออกไป แน่นอนเช่นกันว่า ฮดสรงก็เป็นหนึ่งสิ่งที่ไม่ใช่ไทยจึงถูกทำให้หมดไปในช่วงเวลานั้น เพราะรัฐไทยต้องการการรวมศูนย์การปกครอง ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เรื่อยมาจนถึงยุคเปลี่ยนการปกครอง นั่นหมายความว่า อำนาจของการเลือกพระเถระของประชาชนถูกเอากลับไปสู่อำนาจรัฐ โดยมีรูปแบบปกครองใหม่ ธรรมเนียมใหม่ จารีตใหม่ที่ได้รับรองจากรัฐแล้ว คือรัฐเป็นควบคุมหรือบอกว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี อันนี้ควรถอดหรือยกเลิก ประชาชนมีหน้าที่ปฏิบัติตาม หลักฐานสำคัญที่ชี้เห็นว่ารัฐส่วนกลางพยายามลดทอนจารีตนี้ลงคือมติการประชุมร่วมระหว่างฝ่ายบ้านเมืองมีพระยาวิเศษสิงหนาท สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบลราชธานี กับ ฝ่ายสงฆ์มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เมื่อยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชมุนี มหาสังฆปาโมกข์ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ในวันที่ 9 เมษายน 2456 จากผลการประชุมดังกล่าวนำไปสู่การประกาศเลิกสมณยศอย่างโบราณ ใจความสำคัญของการยกเลิกยศแบบอีสานโบราณนั้นเพราะมีความเห็นว่าเป็นของลาวและเจ้าลาว อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับ พรบ การปกครององค์กรสงฆ์ที่ใช้อยู่ด้วย ในประเด็นผู้เขียนอยากชวนผ่านตัวตนของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ว่าแม้ท่านจะเป็นอุบลราชธานี แต่ท่านได้รับการศึกษาตามแบบคณะสงฆ์สมัยใหม่แล้ว และได้รับหน้าที่อำนาจการปกครองคณะสงฆ์

อ่านต่อ »