917 รวมเข้าชม,  1 เข้าชมวันนี้

สุภาษิต
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
แปลว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ปรัชญา
จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา
บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่
พัฒนาจิตใจและสังคม

ปณิธาน
เป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ 

วิสัยทัศน์

มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับโลก”

World University of Buddhism, WUoB

พันธกิจ

ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ

ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(TQF:HEd) โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาบูรณาการในกระบวนการจัดการเรียนสอน เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติที่ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือกลไกในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเป็นพลเมือง (มีองค์ประกอบ ๔ ด้าน คือ มีคุณลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มีองค์ความรู้ที่สำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ และมีทักษะการดำ รงชีวิต) และมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามนวลักษณ์ของบัณฑิต ๙ ประการ คือ

๑) มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส                                  M = Morality

๒) รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม                   A = Awareness

๓) มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา                   H = Helpfulness

๔) มีความสามารถและทักษะด้านภาษา                   A = Ability

๕) ใฝ่รู้ใฝ่คิด                                                        C = Curiosity

๖) รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม                           H = Hospitality

๗) มีโลกทัศน์กว้างไกล                                   U = Universality

๘) เป็นผู้นำ ด้านจิตใจและปัญญา                           L = Leadership

๙) มีศักยภาพพร้อมที่จะใช้และพัฒนานวัตกรรม  A = Aspiration

วิจัยและพัฒนา

วิจัยและพัฒนา หมายถึง  การวิจัยและค้นคว้า เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ในพระไตรปิฎก โดยวิธีสหวิทยาการแล้วนำองค์ความรู้ที่ค้นพบมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ศีลธรรม และจริยธรรมของสังคม รวมทั้งพัฒนาคุณภาพงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาโดยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพนักวิจัยและงานวิจัยให้มีคุณภาพและความเป็นสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม

ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม หมายถึง การส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม ตามปณิธานการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ด้วยการปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ ให้ประสานสอดคล้อง เอื้อต่อการส่งเสริม สนับสนุนกิจการคณะสงฆ์สร้างความรู้ความเข้าใจหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาสร้างจิตสำ นึกด้านคุณธรรม จริยธรรมแก่ประชาชน โดยการจัดประชุม สัมมนาและฝึกอบรม เพื่อพัฒนาพระสงฆ์และบุคลากรทางศาสนา ให้มีศักยภาพในการธำ รงรักษา เผยแผ่หลักคำสอน และเป็นแกนหลักในการพัฒนาจิตใจในวงกว้าง

ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม หมายถึง การเสริมสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ด้านการทะนุบำ รุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้เอื้อต่อการศึกษาโดยใช้พระพุทธศาสนาเป็นกลไกเพื่อสร้างจิตสำ นึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้มีการนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน